Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10280
Title: | การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคสตรีที่มีต่อการแฝงสินค้าในนิตยสารสตรี |
Other Titles: | Female consumers' perception and attitude towards product placement in women magazine |
Authors: | จิตเลขา สุขเสริมส่งชัย |
Advisors: | รัตยา โตควณิชย์ วรวัฒน์ จินตกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | พฤติกรรมผู้บริโภค ผู้บริโภค การวิเคราะห์เนื้อหา วารสารสำหรับสตรี |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การวิเคราะห์รูปแบบการแฝงสินค้าในนิตยสารสตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการแฝงสินค้าในนิตยสารสตรี โดยการวิเคราะห์ชิ้นงานการแฝงสินค้าอุปโภคบริโภคในนิตยสารปี 2542 ร่วมกับการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และส่วนที่ 2 คือ การวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคสตรีที่มีต่อการแฝงสินค้าในนิตยสารสตรี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้หญิงอายุระหว่าง 18-25 ปี ซึ่งเป็นนักศึกษา และคนในวัยทำงานตอนต้น จำนวน 60 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน แล้วใช้แบบสอบถามถามกลุ่มตัวอย่างหลังจากที่ได้อ่านนิตยสารข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และ One-Way ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของการรับรู้ และทัศนคติที่มีต่อการแฝงสินค้าแต่ละรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1. การแฝงสินค้าอุปโภคบริโภคในนิตยสารสตรี ในช่วงปี 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 37 ชิ้นงานโดยแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ จากองค์ประกอบในการแฝงสินค้า คือ รูปแบบที่ 1: การแฝงสินค้าที่มีเฉพาะภาพสินค้า จำนวน 7 ชิ้นงาน รูปแบบที่ 2 การแฝงสินค้า ที่มีภาพ กับชื่อสินค้า และ/หรือ โลโก้สินค้า ปรากฎอยู่ด้วย จำนวน 14 ชิ้นงาน รูปแบบที่ 3 : การแฝงสินค้าที่มีภาพ กับชื่อสินค้า และ/หรือ โลโก้สินค้า และข้อความโฆษณา ปรากฎอยู่ด้วยจำนวนทั้งสิ้น 16 ชิ้นงาน ทั้ง 37 ชิ้นงานนี้ ส่วนใหญ่ใช้การจัดหน้าแบบ ภาพเต็มหน้า นางแบบ/นายแบบถ่ายร่วมกับสินค้า และชิ้นงานส่วนใหญ่ มักใช้นางแบบ/นายแบบเป็นผู้นำเสนอสินค้า 2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกิดการรับรู้ในตราสินค้าที่ทำการแฝงสินค้าในนิตยสาร โดยมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เกิดการรับรู้ในการแฝงสินค้ารูปแบบที่ 2 และ 3 มากกว่ารูปแบบที่ 1 เพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าใจว่าการแฝงสินค้านี้คือ การโฆษณารูปแบบหนึ่งโดยเสนอขายสินค้าควบคู่ไปกับการถ่ายแฟชั่น 4. กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในเชิงบวกต่อการแฝงสินค้ารูปแบบที่ 1 และ 3 มีทัศนคติที่เป็นกลางต่อการแฝงสินค้าในรูปแบบที่ 2 และค่าทัศนคติที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อการแฝงการสินค้าในรูปแบบที่ 2 และ 3 นั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าการแฝงสินค้าเป็นรูปแบบการโฆษณาที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี และนางแบบที่ใช้สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตราสินค้าได้ นอกจากนี้ การจัดหน้า การวางองค์ประกอบภาพ ตลอดจนการแฝงสินค้าให้กลมกลืนกับแนวคิดในการถ่ายแฟชั่น เป็นสิ่งที่มีผลต่อทัศนคติด้วยเช่นกัน |
Other Abstract: | This research is devided into 2 parts. The first one is the content analysis, which its objective is to study format of product placement in woman magazine by analysing the product placement in women magazine issued during the year 1999 and depth interviewing professionals who are responsible for this task. The second part is the experimental research, aiming to study perception and attitude of female consumers toward product placement in women magazine. The samples are 60 female college students and first jobbers, between 18 and 25 years of age. The samples were divided into three groups at 20 persons each. Questionnaires were used after each group was assigned to look at the magazines. All data were analyzed to find basic statistics values, including percentage and mean score, using One Way ANOVA for the analysis of differences between perception and attitude in 3 formats of product placement. The results are as follows: 1. In 1999, there were 37 pieces of fashion pages with product placements, which can be classified into 3 formats by their elements. The first one shows the product, the second shows the product with its brand name and/or logo and the third format shows product, its brand name and/or logo and body copy. Most of them use the similar layout i.e. full page, presenting product by model. 2. Most samples noticed the brand name in fashion pages with product placement, the second and third format slightly more than the first one. There was no statistical significance that they noticed. 3. Most samples recognized fashion pages with product placement as another form of advertising using fashion to sell product. 4. The samples had positive attitude towards the first and the third format and moderate attitude towards the second one. 5. Most of the samples thought that the fashion pages with product placement was creatively-done advertising and the presenter could help building good brand image. In addition, the good layout and composition as well as the harmony between iashion concept and product presentation iniluenced the attitude formation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การโฆษณา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10280 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.305 |
ISBN: | 9743349294 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.305 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jitlakha_Su_front.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitlakha_Su_ch1.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitlakha_Su_ch2.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitlakha_Su_ch3.pdf | 917.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitlakha_Su_ch4.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitlakha_Su_ch5.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jitlakha_Su_back.pdf | 6.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.