Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1036
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับเด็กในไทยรัฐ และการสำรวจการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็กของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The Analysis of contents related to child in Thairat and survey of Bangkok adults' perception on child's right
Authors: อมรรัตน์ ชาญวิเศษ, 2518-
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: หนังสือพิมพ์
การวิเคราะห์เนื้อหา
การเปิดรับข่าวสาร
สิทธิเด็ก
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเด็กจากการนำเสนอของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และศึกษาการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิเด็กของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ในการวิจัยเชิงสำรวจยังได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิเด็ก การวิเคราะห์เนื้อหาข่าวเกี่ยวกับเด็กในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เลือกหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2545-31 กรกฎาคม 2546 รวมจำนวน 365 ฉบับ และการวิจัยเชิงสำรวจประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และคำนวณโดยใช้ค่าสถิติคือ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวพบว่า หนังสือพิมพ์ไทยรัฐมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเด็ก ในประเด็นเด็กกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ มากที่สุด รองลงมาคือข่าวการศึกษาของเด็ก และข่าวเด็กถูกข่มขืน ข่าวที่นำเสนอส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของข่าวทั้งข่าวใหญ่ในหน้าหนึ่ง และข่าวธรรมดาในหน้าต่างๆ โดยเป็นข่าวที่มีทิศทางลบมากที่สุด และมีแหล่งข่าวจากบุคคลในองค์กรภาครัฐมากที่สุด รองลงมาคือแหล่งข่าวจากตำรวจ และสถานศึกษา ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า 1. ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิเด็กไม่แตกต่างกัน 2. ประชาชนที่มีอายุต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กแตกต่างกัน แต่มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิเด็กไม่แตกต่างกัน 3. ประชาชนที่มีระดับการศึกษาและอาชีพแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับ สิทธิเด็กแตกต่างกัน 4. ประชาชนที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก จากสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจ และมีทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิเด็กไม่แตกต่างกัน แต่มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กจากสื่อบุคคล และมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็กแตกต่างกัน 5. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็ก 6. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กจากสื่อมวลชนและสื่อบุคคล มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิเด็ก แต่การ เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเด็กจากสื่อเฉพาะกิจ ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับสตรีเด็ก 7. ความรู้มีความสมพันธ์กับทัศนคติเกี่ยวกับสิทธิเด็ก
Other Abstract: To conduct the analysis of contents related to child in Thairat newspaper and to survey information exposure to child's news, knowledge and attitudes towards child's right among Bangkok adults. The correlation between demographic variables and information exposure to child's news, knowledge and attitudes towards child's right is also examined. An analysis of contents related to child's news in Thairat is conducted, over the period 1st August 2002-31st July 2003 totaled 365 editions. As for the survey, 400 selected Bangkok residents were randomly selected for the analysis. Questionnaires were used for data collection and T-test, one-way ANOVA including Pearson's Product Moment Correlation were used for data analysis. The results of the content analysis could be concluded that the most of the child's news that Thairat reported are children's participation in social activities followed by children's education and children suffering from sexual abuse. The direction of the reported news on child are more to negative direction and news sources came from government sectors the most, police and educational institution followed the second and third most respectively. Findings from the survey are 1. Difference in gender is not significantly correlated with information exposure to child's news, knowledge and attitudes towards child's right. 2. Difference in age is significantly correlated with information exposure to child's news but doesn't correlate with knowledge and attitudes towards child's right. 3. Education and occupation differences are significantly correlated with information exposure to child's news, knowledge and attitudes towards child's right. 4. People with difference in monthly income are not significantly different in information exposure to child's news from mass media and specialized media as well as attitudes towards child's right but differ in information exposure to child's news from person media and knowledge of child's right. 5. Exposure to child's news is not significantly correlated with knowledge of child's right. 6. Exposure to child's news from mass media and person media is significantly correlated with attitudes towards child's right but exposure to specialized media doesn't correlate with attitudes towards child's right. 7. Knowledge is significantly correlated with attitudes towards child's right.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1036
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.993
ISBN: 9741748655
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.993
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.