Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10497
Title: การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ ความรู้ ความตระหนักและการสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์
Other Titles: Media exposure to animal-abusing problems, knowledge, awareness and support for Non-Governmental organizations for animal-related help
Authors: พัชรา ระบบกิจการดี
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสื่อสาร
การทารุณสัตว์
ความตระหนัก
สัตว์ -- การสงเคราะห์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ ความรู้ ความตระหนัก และการสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 462 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การหาค่าสถิติแบบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบ ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์จากสื่อมวลชน ในระดับต่ำถึงปานกลาง มีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อเฉพาะกิจและสื่อบุคคลในระดับต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าประชาชนมีความตระหนักต่อปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และต่อความสำคัญขององค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ในระดับสูง ส่วนความรู้อยู่ในระดับปานกลางและมีการสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ในระดับต่ำมาก 2. ผู้ที่มีเพศและรายได้ต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์จากสื่อโดยรวม สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่มีอายุและอาชีพต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์จากสื่อเฉพาะกิจ แตกต่างกัน ผู้ที่มีการศึกษาต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์จากสื่อบุคคลแตกต่างกัน 3. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์จากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ และสื่อบุคคลมีความ สัมพันธ์เชิงลบกับความรู้เกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และบทบาทหน้าที่ขององค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ 4. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์จากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่อบุคคล ไม่มีความสัมพันธ์ กับความตระหนักต่อปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และต่อความสำคัญขององค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ 5. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์จากสื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ สื่อบุคคล มีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับการสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ 6. ความรู้เกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และบทบาทหน้าที่ขององค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความตระหนักต่อปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และต่อความสำคัญขององค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ 7.ความรู้เกี่ยวกับปัญหาทารุณกรรมสัตว์และบทบาทหน้าที่ขององค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อการสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ 8.ความตระหนักต่อปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และความสำคัญขององค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ไม่มีความสัมพันธ์กับการสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ 9.การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และบทบาทหน้าที่ขององค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์จากสื่อบุคคลมีอิทธิพลต่อการสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ช่วยเหลือและสงเคราะห์สัตว์ของประชาชนมากที่สุด
Other Abstract: The purposes of this research is to study media exposure to animal-abusing problems, the correlation among media exposure, knowledge, awareness and support for nongovernmental organizations for animalrelated help. Questionnaires were used to collect data from a total of 462 samples. Frequency, percentage, mean, t- test, One-way ANOVA and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient were used for data analysis. SPSS for windows program was used for data processing. The results of the study are as follows: 1. Most people are exposed to information on problem of animal-abusing via mass media specialized and interpersonal media at low level. Their support for non-governmental organizations for animal related help are also at low level. However their knowledge are moderate and awareness are high. 2. People different in sex and income are exposed to specialized and interpersonal media differently. Those different in age and occupation are exposed to specialized media differently. People with different in education are exposed to interpersonal media differently. 3. Media exposure to animal-abusing problems by mass, specialized and interpersonal media are negatively correlated with knowledge of animal-abusing problems and the performance of non-governmental organizations for animal- related help. 4. Media exposure to animal-abusing problems via mass, specialized and interpersonal media are not correlatedsignificantly with their awareness regarding animal-abusing problems and the non-governmental organizations for animal-related help. 5. Media exposure to animal-abusing problems on mass,specialized and interpersonal media are positively correlated with their support to non-governmental organizations for animal-related help. 6. Knowledge are positively correlated with their awareness regarding animal-abusing problems and the importance of non-governmental organizations for animal related help. 7. Knowledge are negatively correlated with their support to non-governmental organizations for animal-related help. 8. Awareness are not correlated significantly with their support to non-governmental organizations for animal-related help. 9. Media exposure to animal-abusing problems and the performance of the non-governmental organizations for animal-related help via interpersonal media is the best explain their support for non-governmental organizations for animal-related help.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10497
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.471
ISBN: 9741717695
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.471
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
patchara_2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.