Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10517
Title: | การพัฒนากระบวนการการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตรสำหรับคณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษา |
Other Titles: | The development of readiness preparation process of curriculum development for school curriculum committees |
Authors: | ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ |
Advisors: | ปทีป เมธาคุณวุฒิ วลัย พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การศึกษา -- หลักสูตร การวางแผนหลักสูตร การทำงานเป็นทีม |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการการเตรียมความพร้อมและศึกษาผลของกระบวนการการเตรียม ความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับคณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษา ในด้านความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความรู้ความเข้าใจในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา และความสามารถในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) พัฒนากระบวนการการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตร 2) ประเมินผลการใช้กระบวนการการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินผลกระบวนการการเตรียมความพร้อม คือ คณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 โรงเรียน จำนวน 58 คน ดำเนินการพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีม 3 วัน พัฒนาความรู้ความเข้าใจในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 3 วัน และพัฒนาความสามารถในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา 107 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลกระบวนการ คือ แบบวัดความสามารถในการทำงานเป็นทีม แบบวัดความรู้ความเข้าใจในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษา แบบประเมินหลักสูตรสถานศึกษา และแบบบันทึกผลการทดลองใช้ กระบวนการการเตรียมความพร้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ย ด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 8 ขั้นตอน 1)กระตุ้นประสบการณ์เดิม 2) ให้เหตุผลและสะท้อนความคิด 3) สรุปความคิดรวบยอดที่ได้จากการสะท้อนความคิด 4)ทดลองฝึกปฏิบัติในสถานการณ์ใหม่ 5)ให้เหตุผลและสะท้อนความคิดจากการทดลองฝึกปฏิบัติ 6)สรุปความคิดรวบยอดจากการทดลองฝึกปฏิบัติ 7)วางแผนประยุกต์ใช้ความรู้ และ 8)ประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จริง 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการการเตรียมความพร้อม 2.1 คณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษามีความสามารถในการทำงานเป็นทีมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 คณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 คณะกรรมการหลักสูตรของสถานศึกษามีความสามารถในการสร้างหลักสูตรสถานศึกษาหลังการทดลองสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to develop the readiness preparation process of curriculum development for school curriculum committee and to study the outcomes of the preparation process consisted of teamwork abilities, curriculum development knowledge and curriculum development abilities. There were 2 steps of the research procedures: 1) developing the readiness preparation process 2) evaluating implementation of readiness preparation process. Samples were 58 secondary schools teachers who worked as school curriculum development committee under the Department of the General Education. The implementing readiness preparation process consisted of 3 phases; first, developing the teamwork abilities for 3 days, second; developing the curriculum development knowledge for 3 days and developing the curriculum development abilities for 107 days. The research instruments consisted of 4 sets of evaluation forms which were teamwork abilities, curriculum development knowledge, school curriculum evaluation and record of the readiness preparation process results. Arithmetic means, standard deviation and t-test were employed in data analysis. The research findings were as follows:-1. The readiness preparation process of curriculum development consisted of 8 steps as follows: 1) encourage background knowledge 2) give reason and reflect 3) conceptualize from reflecting 4) practice experimentation in new situation 5) give reason and reflect from experimentation 6) conceptualize from experimentation 7) plan to apply knowledge and 8) apply knowledge in real-life situation 2. The post-test mean score of teamwork abilities of school curriculum committees were higher than pre-test at the .05 level of significance. 3. The post-test mean score of curriculum development knowledge of school curriculum committees were higher than pre-test at the .05 level of significance. 4. The post-test mean score of curriculum development abilities of school curriculum committees were higher than the identified criteria at the .05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10517 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.772 |
ISBN: | 9741715463 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.772 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaiwat.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.