Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10532
Title: | การนำหลักคำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคลมาใช้ในประเทศไทย |
Other Titles: | Application of declaratory judgment in Thai civil proceeding |
Authors: | ธีรญา วัฒนะชีวะกุล |
Advisors: | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ จรัญ ภักดีธนากุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | วิธีพิจารณาความแพ่ง คำพิพากษาศาล คำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล คดีแพ่ง |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงแนวคำพิพากษาฎีกาที่วางหลักเกี่ยวกับ "คำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล" ผลการวิจัยพบว่าแนวคำพิพากษาฎีกาที่วางหลักเกี่ยวกับ "คำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล" มีแนวความคิดคล้ายคลึงกับหลัก "Declaratory Judgment" ในกฎหมายคอมมอนลอว์ ซึ่งมีขึ้นเพื่อประโยชน์ในเรื่องของการแสดงสิทธิของบุคคล เป็นคำพิพากษาที่ประกาศโดยศาลถึงการมีอยู่หรือไม่มีอยู่ ในเรื่องของสิทธิบุคคล และถือเป็นวิธีการทางกระบวนพิจารณาความประการหนึ่ง ที่มีประสิทธิภาพในการระงับข้อพิพาทระหว่างบุคคล เป็นวิธีการหาข้อยุติข้อพิพาทโดยไม่จำเป็นต้องมีการพิพาทอยู่จริง ซึ่งแตกต่างจากคำพิพากษาที่กำหนดแนวทางปฏิบัติโดยชัดแจ้ง (Executory Judgment) หรือคำพิพากษาเชิงบังคับ (Coercive Judgment) ซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยมุ่งเน้นถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ของประเทศอังกฤษ เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของ "หลักคำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล" (Declaratory Judgment) โดยศึกษาถึงบ่อเกิดหรือจุดเริ่มต้นของคำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล และได้ศึกษาวิวัฒนาการของศาลในระบบคอมมอนลอว์ ในการใช้ดุลพินิจของศาลในการสร้าง "หลักคำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล" และได้ศึกษาถึงประสิทธิภาพของหลักคำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล เพื่อศึกษาเปรียบเทียบถึงผลดีและผลเสียของคำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์วิจัยถึงการนำ "หลักคำพิพากษาแสดงสิทธิของบุคคล" มาปรับใช้ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย |
Other Abstract: | To study judgments of Thai supreme cort that has laid down a eriterion for some kind of "Declaratory Judgment". The study reveals that a point of view of such judgments is similar to that of "The Declaratory Judgment" in Common law with its designation in the interest of individual rights. The judgment is declared by the Court, about the existence or non-existence of rights, and deemed as an effective means in the trial process to terminate private individual disputes without necessary existence of any real dispute. It differs from "Executory Judgment" and "Coercive Judgment" that prevails in Thailand. The objective of this study focus on legal principles in the British common law which is the source of "The Declaratory Judgment" by studying its origin and evolution of court's discretion in common law system, including the effectiveness of its fundamental principles. This is to ponder over adventages as well as the adaptation of "Declaratory Judgment" to suit the judiciary process in Thailand |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10532 |
ISBN: | 9746387278 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Teeraya_Wa_front.pdf | 856.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teeraya_Wa_ch1.pdf | 812.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teeraya_Wa_ch2.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Teeraya_Wa_ch3.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Teeraya_Wa_ch4.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Teeraya_Wa_ch5.pdf | 937.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Teeraya_Wa_back.pdf | 739.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.