Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10560
Title: | การอ้างเหตุผลสนับสนุนการมีอยู่ของพระเจ้าตามทฤษฎีสหนัยนิยม |
Other Titles: | A coherentist justification of the existence of god |
Authors: | วรเทพ ว่องสรรพการ |
Advisors: | โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การอ้างเหตุผล ทฤษฎีสหนัยนิยม พระเจ้า |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเมินการให้หลักการกับความเชื่อในเรื่อง การมีอยู่ของพระเจ้าตามทฤษฎีสหนัยนิยมว่า สามารถเป็นทฤษฎีที่มีความเหมาะสมในการให้หลักการกับความเชื่อทางศาสนาหรือไม่ ผมได้เสนอข้อโต้แย้งว่า ทฤษฎีที่ใช้ในการให้หลักการกับความเชื่อที่ยอมรับอยู่โดยทั่วไป เช่น ทฤษฎีมูลฐานนิยมต่างๆ เป็นทฤษฎีที่ไม่เหมาะสมกับการให้หลักการแก่ความเชื่อทางศาสนา ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีสหนัยนิยมจึงเป็นอีกทางเลือกที่ถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตาม การให้หลักการกับความเชื่อในรูปแบบนี้ก็มีข้อโต้แย้งว่า ไม่สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อที่ถูกหลักการกับความเชื่อที่จริงได้ ซึ่งผมก็ได้เสนอว่า ทรรศนะของปอยแมนกับอัลสตัน ที่ไม่ระบุว่าการมีหลักการจะต้องผูกพันกับความจริงโดยจำเป็น เป็นทรรศนะที่ชอบด้วยเหตุผล หลุยส์ พี. ปอยแมน อธิบายว่า ด้วยพื้นฐานแนวคิดในแบบมุมมองนิยม การรับรู้สิ่งต่างๆ ของมนุษย์เป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้กรอบของมโนทัศน์ที่มีของแต่ละบุคคลหรือชุมชน นอกจากนี้ วิลเลี่ยม พี. อัลสตัน ยังเสนอว่า การให้หลักการกับความเชื่อในเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า เป็นการให้หลักการในรูปแบบที่เรียกว่าการให้หลักการในขั้นต้น ที่เป็นการให้หลักการกับความเชื่อโดยความเชื่อ ที่อยู่ในพื้นฐานทางการปฏิบัติของแต่ละบุคคลหรือชุมชน สิ่งที่สำคัญในข้อเสนอของอัลสตันคือ การแสดงให้เห็นว่าความเชื่อที่ถูกหลักการเป็นคนละความหมายกับความเชื่อที่เป็นจริง เหตุผลที่ข้อเสนอของอัลสตันน่าเชื่อถือจึงอยู่ที่ว่า ความถูกต้องของหลักการพื้นฐานทางญาณวิทยา ไม่ได้รวมเอาการให้หลักการกับความจริงไว้ด้วยกัน ด้วยขอบเขตความหมายนี้จึงถือได้ว่า ทฤษฎีสหนัยนิยมมีความเหมาะสมในการให้หลักการ กับความเชื่อในเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า |
Other Abstract: | To evaluate the coherentist theory of justification as applied to religious beliefs, such as the one that God does exist and to see whether such a theory is indeed appropriate as a theory of justification of religious beliefs. I offer an argument that commonly accepted theories of justification, such as the foundationalist ones, are not appropriate for justifying religious beliefs, the coherentist theory is thus the viable alternative. However, such a theory needs to explain how and why justified beliefs are related to truth, and I offer an argument that's Pojman's and Alston's arguments that do not rely on the necessary tie between justification and truth should be accepted. Louis P. Pojman's perspectivist theory that seeks to contextualize human cognition under conceptual schemes belonging to individuals or communities, and William P. Alston's idea that is purported to explain how justification and beliefs grounding religious practices is a preliminary one serving the practices of individuals or communities, are intensively studied and discussed. What is important in Alston's proposal is that he separates truth from justified religious beliefs. Thus the cogency and tenability of his argument is dependent upon the acceptance, and supporting argument to the effect that truth and justification can indeed be separated. The thesis offers such an argument and concludes that the coherentist theory is indeed a more appropriate one as the theory of justification of religious beliefs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10560 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.403 |
ISBN: | 9741720122 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.403 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Warratep.pdf | 690.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.