Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10760
Title: การนำตู้คอนเทนเนอร์มาใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษาโครงการทวีทรัพย์ อพาร์ทเมนต์
Other Titles: Conversion of cargo containers to living shelter : a case study of Taweesap Apartment
Authors: กฤษณุพนธ์ บุษปฤกษ์
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
ชวลิต นิตยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: โครงการทวีทรัพย์ อพาร์ทเมนต์
ที่อยู่อาศัย
ตู้สินค้า
ตู้สินค้า -- การนำกลับมาใช้ใหม่
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมีการนำตู้คอนเทนเนอร์เก่าที่หมดสภาพ ไม่สามารถนำไปใช้สำหรับงานขนส่งได้ จึงมีผู้ที่นำตู้คอนเทนเนอร์มาใช้ประโยชน์โดยการนำมาดัดแปลงเพื่อใช้เป็นที่ อยู่อาศัย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างขึ้นในยุคสมัยที่ประเทศไทย ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. 2540 เพื่อให้ผู้ที่มีรายได้ลดลงได้สามารถมีทางเลือกในการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น การวิจัยนี้ใช้การสัมภาษณ์เจ้าของโครงการและผู้อยู่อาศัยในโครงการ จำนวน 23 ห้องโดยมีวัตถุประสงค์ในศึกษาคือ การศึกษาวิธีการดัดแปลงตู้คอนเทนเนอร์เพื่อใช้ในการอยู่อาศัย สภาพการอยู่อาศัย ซึ่งเกือบทั้งหมดในแต่ละห้องมีการอยู่อาศัยเพียงคนเดียว มีการใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักเบาสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดวางได้ ง่าย และการศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจของผู้ที่อาศัยอยู่ในโครงการ ซึ่งส่วนมากจะเป็นพนักงานทำงานในบริษัทเอกชน มีการเดินทางโดยรถส่วนตัว และอาศัยรถเพื่อนที่ผ่านทาง หรือทำงานที่เดียวกัน และนอกจากนี้ยังใช้ การสังเกต การพูดคุย การจดบันทึก และการถ่ายภาพในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยมีสาระสำคัญดังนี้คือ การนำตู้คอนเทนเนอร์มาใช้ดัดแปลงเป็นที่อยู่อาศัยนั้น ต้องมีการคำนึงถึงปัจจัยหลายด้านตั้งแต่การขนส่ง และมีการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรขนาดใหญ่ และต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน โดยมีการวางแผนการทำงานอย่างดี เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีความต่อเนื่อง เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนในการทำงาน อีกทั้งด้านกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากตัวตู้คอนเทนเนอร์เก่ามาดัดแปลง ได้แก่ ปัญหาที่เกิดจากความร้อน ปัญหาจากความคับแคบ และปัญหาจากการรั่วซึม โดยมีแนวทางเสนอแนะในการแก้ปัญหาโดยการใส่ฉนวนกันความร้อน การทำหลังคาทรงสูง หรือการเพิ่มชายคาให้ยาวขึ้น รวมถึงการปรับผังให้มีความเหมาะสมในทิศทางของธรรมชาติ ส่วนในลักษณะความเป็นอยู่ของผู้ที่อยู่อาศัยในตู้คอนเทนเนอร์ที่อยู่ใน ปัจจุบัน จะต้องมีการปรับตัวให้สามารถอยู่อาศัยในพื้นที่ที่จำกัด การนำตู้คอนเทนเนอร์มาใช้เป็นที่อยู่อาศัย สามารถดัดแปลงเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการอยู่อาศัย ให้เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยแบบชั่วคราว ซึ่งรัฐสามารถนำมาใช้เป็นที่อยู่ฉุกเฉินได้ เพราะมีความสามารถในการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งได้ตามถนน หรือนำไปใช้เป็นที่อยู่ชั่วคราวของคนงานต่างๆ ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆ ตามสถานที่ก่อสร้าง แต่มีข้อจำกัดในการนำไปใช้บางประการที่ต้องพิจารณาก่อนการนำไปใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
Other Abstract: Currently, old and out-of-use cargo containers are used as living shelters. This was an innovation during the 1997 economic crisis to help low-income earners have a place to live in. This study is based on interviews with the project owner and the residents in 23 shelters in the project. The main purpose of this study is to research the conversion of cargo containers into living shelters including the living conditions. One person resided in most each of the shelters. Lightweight furniture which could be easily arranged was used. An other point worth studying was the residents' socio-economic background. Most of them were private company employees. They commuted either by their own cars or in their friends' cars. The friends were those who passed by their offices or worked in the same office. Observation, informal conversation, recording and photography were also used as research tools. It was found that to convert cargo containers into living shelters, many factors should be taken into account. These were transport of, the use of large equipment, experts operating such equipment, good planning to shorten the construction period, laws which have not yet legalized this kind of housing and problems arising from modified containers. Such problems included factors such as cooling on a heating, the limited space and leaks. To solve the heating problem, insulation should be installed and a high roof should be built. Besides, the eaves should be lengthened and the floor plan should be drafted according to the directions of the wind and sunlight. Those who have to live in the containers have to adjust themselves to the small space. The cargo containers can be modified into temporary shelters. The government can use them in case of emergency. They can also be used as temporary housing for workers since they are easy to transport. However, they pose some limitations to be considered before their being used as housing.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10760
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.352
ISBN: 9741720637
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.352
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Gridsnuphon.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.