Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10875
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบวรศักดิ์ อุวรรณโณ-
dc.contributor.authorสิทธิชัย พูนเกษม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-09-01T07:52:43Z-
dc.date.available2009-09-01T07:52:43Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745672793-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10875-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en
dc.description.abstractภายใต้บทบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1599 และ 1600 กองมรดกอันประกอบด้วยทรัพย์สิน และหนี้สินของเจ้ามรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้ามรดกตาย ผลก็คือทายาทจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกทันทีที่เจ้ามรดกตาย และต้องรับผิดชำระหนี้ของเจ้ามรดกด้วย ซึ่งในจุดนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาในทางทฤษฎีที่สำคัญ เพราะกองทรัพย์สินสองกองเป็นของทายาทแต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นปัญหาว่าสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกกับสิทธิของเจ้าหนี้ส่วนตัวของทายาทในการบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์มรดกนั้น สิทธิใดควรจะดีกว่ากัน ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะได้มุ่งวิเคราะห์ถึงปัญหาดังกล่าว ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิประการอื่นของเจ้าหนี้กองมรดก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการชำระหนี้กองมรดก การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะ ป.พ.พ. มีพื้นฐานมาจากประมวลกฎหมายของประเทศตะวันตกที่สำคัญ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส และเยอรมัน เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ปัญหานี้ซึ่งเป็นการขัดกันแห่งสิทธิของเจ้าหนี้สองประเภท จะไม่เกิดขึ้นในกฎหมายมรดกเก่าของไทย ทั้งนี้เพราะในกฎหมายนั้นถือว่า ทรัพย์มรดกของลูกหนี้เป็นของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้กองมรดกมีสิทธิบังคับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้ส่วนตัวของทายาท ดังปรากฎในคำพิพากษาฎีกาที่ 730/2476 จากการศึกษา ป.พ.พ. บรรพ 6 อย่างลึกซึ้งจึงพบว่ามีข้อบกพร่องบางประการอยู่นั่นคือ เจ้าหนี้กองมรดกและเจ้าหนี้ส่วนตัวของทายาทมีสิทธิเหนือทรัพย์มรดก ซึ่งตกเป็นของทายาทอย่างเท่าเทียมกัน อันก่อให้เกิดความเสื่อมสิทธิแก่เจ้าหนี้กองมรดกอย่างไม่เป็นธรรม หลังจากที่ได้ศึกษาเชิงเปรียบเทียบถึงทางแก้ปัญหานี้ ซึ่งได้ปรากฎในประมวลกฎหมายแพ่งของประเทศตะวันตกส่วนใหญ่แล้ว ดูเหมือนว่าระบบกฎหมายของฝรั่งเศสในเรื่องการแยกกองทรัพย์สิน เพื่อการบังคับชำระหนี้ของเจ้าหนี้สองประเภทกล่าวคือ แยกเป็นกองมรดกของผู้ตายและกองทรัพย์สินของทายาท เป็นวิถีทางที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาใช้ใน ป.พ.พ. ซึ่งอาจกระทำได้โดยการแก้ไขปรับปรุง ป.พ.พ. บรรพ 6 ในปัจจุบันนี้นั่นเองen
dc.description.abstractalternativeFocuses on the important theoretical problem under Sections 1599 and 1600 of the TCCC concerning an estate of the deceaised covering both his properties and liabilities devolving on the heir upon his death. Analyzes whether the rights of the creditor of the estate of those of personal creditor of the heir shall prevail since the two estates belong to one person -- the heir. Covers other rights of the creditor of the estate with regard to payment of the estate debts. Conducts a comparative analysis since the TCCC is based on important western's codes, principally the French and German Civil Codes. Recommends the TCCC to adopt the French system of separation of patrimony for the enforcement of debt by two sorts of creditor by amending the TCCC Book VI.en
dc.format.extent31426883 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- มรดกen
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- หนี้en
dc.subjectทายาทen
dc.subjectมรดกen
dc.subjectหนี้en
dc.subjectการชำระหนี้en
dc.subjectเจ้าหนี้en
dc.titleการชำระหนี้กองมรดกen
dc.title.alternativeThe payment of estate debtsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sittichai.pdf30.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.