Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10936
Title: การปรับปรุงวิธีการชำแหละไก่ถอดกระดูกโดยวิธีทางการยศาสตร์
Other Titles: Ergonomics work improvement for deboned poultry meat processing
Authors: บรรพต เทพฤทธิ์
Advisors: กิตติ อินทรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: เออร์โกโนมิกส์
ชีวกลศาสตร์
การทำงาน -- แง่สรีรวิทยา
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากอุตสาหกรรมไก่ถอดกระดูกเป็นอุตสาหกรรมที่เป็น สินค้ามูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ไก่สดแช่แข็งในแต่ละปีเป็นมูลค่าอย่างมาก แต่พบว่าการปฏิบัติงานของพนักงานในอุตสาหกรรมไก่ถอดกระดูกนั้น เป็นลักษณะงานซ้ำซาก พนักงานต้องใช้มือและข้อมือในการปฏิบัติงานตลอดเวลาและมีความถี่สูง ซึ่งจากการสำรวจปัญหาด้านสุขภาพของพนักงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมประเภทนี้ โดยส่วนมากจะประสบกับปัญหากล้ามเนื้อข้อมืออักเสบ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการทำงานชำแหละไก่ถอดกระดูก โดยนำเอาความรู้ด้านการยศาสตร์มาเป็นแนวทางในการศึกษาและวิจัย เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิต รวมทั้งสามารถลดการบาดเจ็บจากการทำงาน ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เพื่อประเมินความรุนแรงของปัญหา และคัดเลือกพนักงานเพื่อทดลองและเก็บข้อมูลทั้งหมด 90 คน จากผู้ถูกทดสอบเหล่านี้โดยการวัดค่ามุมของการเคลื่อนไหว (Goniometer) คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) และค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ (Grip Strength) โดยกำหนดตัวแปรในการทดลอง ได้แก่ ท่าทางในการทำงาน จำนวนผลผลิต เวลาต่อรอบการทำงาน อายุ อายุงามรวม ส่วนสูง น้ำหนัก ขนาดข้อมือ อาการป่วยที่มีอยู่เดิม จำนวนชั่วโมงนอนพักผ่อนและความเร็วจากการทำงาน จากผลการวิจัยโดยใช้ทฤษฎีฟัซซีเซตพบว่า วิธีการทำงานแบบปัจจุบันส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของ มุมการเคลื่อนไหวและค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่าปัจจัยอื่นๆ ในการทำงาน ดังนั้นจึงออกแบบปรับปรุงขั้นตอนการทำงานใหม่ โดยลดขั้นตอนการหักข้อกระดูกขาออกแล้วใช้การแล่ชำแหละกระดูกออกแทน แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงการยศาสตร์และเชิงปริมาณการผลิตรวมถึงคุณภาพการผลิต พบว่าวิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้วให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพเพิ่มขึ้น ในส่วนของมุมในการเคลื่อนไหวและค่าคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แรงบีบของกล้ามเนื้อมือรวมถึงอัตราการเกินเกณฑ์อ้างอิงนั้นให้ผลที่ลดลงอย่างเด่นชัด ดังนั้นวิธีการทำงานชำแหละไก่ถอดกระดูกที่ปรับปรุงแล้ว จึงเป็นวิธีการทำงานที่เหมาะสมกว่าวิธีการทำงานแบบปัจจุบัน
Other Abstract: The deboned chicken meat was a value-added product in frozen poultry industry. However, the process of conventioinal manual deboning was defined as a repetitive work, as excessively using hands and wrists with high frequency during working hours. The research of muscle pain problems started by conducting the questionnaire technique to survey the health problems of workers at a frozen chicken meat manufacturing. The questionnaire results showed that most workers reported similar problems with wrist muscle pain, and confirmed the necessity of improvement in the method for deboned poultry meat processing. The objective of the study was to increase productivity, reduce cost, and decrease muscle pain problems by using an ergonomic approach. The interview technique was applied to study the severity of muscle pain problems by selecting 90 workers for data record and experiment. Ranges of motion, electromyography values and strengths of hand muscles (grip strength) using in the process were measured. The significant variables which influence fatigue, were defined, i.e., working posture, output, cycle time, age, total experience, height, weight, wrist size, illness, sleep hours and working pace. By the implementation of the fuzzy set method to assess the effects of the increasing ranges of motion and electromyography values, the results indicated that the current method was significant than other factors. The improved method was designed to ellminate tha process of the chicken leg bone breaking and apply the deboning process instred. By comparing the improved method with current method, the result showed that the improved method produced both increasing output and higher product quality. Moreover, it obviously reduced ranges motion, electromyography values, strength of hand muscles required in the process, and the beyond limit of reference standard rate. Therefore, the improved method was considered to be more appropriate to employ that the current method.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10936
ISBN: 9741734441
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bunphot.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.