Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10965
Title: | พฤติกรรมแฟนรายการพยากรณ์ชีวิตของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ |
Other Titles: | Fortune telling radio and television program's fan behavior |
Authors: | กระจ่างศรี ศรีกระจ่าง |
Advisors: | ศิริชัย ศิริกายะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | พยากรณ์ ความพอใจ คนรักบ้าน (รายการวิทยุ) ตี่ลี่ฮวงจุ้ย (รายการโทรทัศน์) |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจถึงสาเหตุของการเป็นแฟนรายการ พยากรณ์ชีวิตทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการติดตามรายการพยากรณ์ชีวิตทางวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ของแฟนรายการพยากรณ์ชีวิตและศึกษาความพึงพอใจที่ได้รับหลังจาก ติดตามรายการพยากรณ์ชีวิตผ่านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรายการพยากรณ์ชีวิตทางวิทยุกระจายเสียงที่ศึกษาคือ 'รายการคนรักบ้าน' ของสถานีวิทยุ 99 Mhz อ.ส.ม.ท. (Sport Radio) ส่วนรายการพยากรณ์ชีวิตทางวิทยุโทรทัศน์ที่ศึกษาคือ 'รายการตี่ลี่ ฮวงจุ้ย' ทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซี ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของการเป็นแฟนรายการพยากรณ์ชีวิตเนื่องจากแฟนรายการต้องการข้อมูลข่าว สารของการพยากรณ์ชีวิตเพื่อสนองตอบต่อความต้องการในการช่วยลดความไม่แน่นอน และช่วยให้สามารถควบคุมสถานการณ์ที่ประสบปัญหาอยู่ได้ รวมทั้งก่อให้เกิดความสบายใจ โดยการติดตามรายการของแฟนรายการเกิดจากการได้รับความรู้จากนักพยากรณ์ ก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อตัว นักพยากรณ์และคำพยากรณ์ นำไปสู่ความเชื่อในคำพยากรณ์ทำให้แฟนรายการติดตามรายการ และมีส่วนร่วมกับรายการโดยการเขียนจดหมายหรือโทรศัพท์เข้าไปเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่ตนต้องการ เมื่อแฟน รายการมีความพึงพอใจจะทำให้นำคำพยากรณ์ที่ได้รับไปปฏิบัติ พฤติกรรมการติดตามของแฟน รายการจะสิ้นสุดลง เมื่อแฟนรายการสามารถคลี่คลายปัญหาของตนเองได้ |
Other Abstract: | The objectives of this research are to find out the reasons why people become fans of fortune telling radio and television programs, their behaviors as the audience, and their satisfaction from the programs. The qualitative approach is used as the research methodology. “Khon Rak Ban”, the radio program at FM 99 Mhz and “Tili Huang Jui” on UBC Channel 37 are selected as the case studies. From the study, the reason for becoming the fans of fortune telling radio/television programs is to make use of the information to serve their needs to reduce their uncertainty, to handle their difficulties, and to make them happier. The useful knowledge and information as well as the positive attitude towards the fortunetellers resulted in reinforcing their original beliefs and fan behaviors. They tend to participate in the programs via letters and phone calls to get their needed information. When they are satisfied with the prediction, they applied the prediction in their real life. Their behavior ended once they solved the encountered problems. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10965 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.470 |
ISBN: | 9741720076 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.470 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krajangsri.pdf | 988.89 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.