Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11053
Title: | การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจไทยในแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคเชิงพลวัต |
Other Titles: | Structural changes of the Thai economy in a dynamic macroeconomic model |
Authors: | บัณฑิต ชัยวิชญชาติ |
Advisors: | ไพฑูรย์ วิบูลชุติกุล บังอร ทับทิมทอง รังสรรค์ หทัยเสรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์ -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สร้างแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคของไทย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจในช่วงปี 2536-2544 แบบจำลองที่สร้างขึ้นนี้สามารถที่จะนำไปใช้ในการอธิบาย และคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจไทย ได้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น การศึกษาได้ประมาณการแบบจำลองตามแนวทาง General-to-specific และ Cointegration Analysis โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2536 ถึงไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 การศึกษาพบว่า ตัวแปรส่วนใหญ่ในแบบจำลองมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ภายหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและนโยบายเศรษฐกิจ เป็นต้นว่า ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินระหว่างประเทศ มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ ระบบเศรษฐกิจไทยปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพรวดเร็วขึ้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กลไกราคาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมของหน่วยเศรษฐกิจไทยมีความไหวตัวต่อ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการใช้นโยบายของรัฐ การศึกษาจึงได้นำเอาการใช้ตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) และวิธีการของ Stochastic Simulation มาใช้ในการประมาณการแบบจำลอง การศึกษาใช้ตัวแปรหุ่นเพื่อสะท้อนถึงขนาด และทิศทางของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันวิธีการ Stochastic Simulation มีประโยชน์ในการทำให้ผลการประมาณค่ามีความน่าเชื่อถือ และสามารถที่จะจัดการกับปัญหา Lucas Critique ที่เกิดขึ้นในการประยุกต์ใช้แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาคโดยทั่วไป แบบจำลองที่ศึกษานี้มีประโยชน์ในการใช้ เพื่อประมาณการผลกระทบของนโยบายมหภาคของรัฐบาล ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกต่อระบบเศรษฐกิจไทย ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง พบว่า การลดอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาคการเงิน โดยทำให้เกิดการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศและอัตราแลกเปลี่ยน แต่อย่างไรก็ตามขนาดของการส่งผ่านผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงิน ไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงยังมีน้อยมาก ในด้านผลกระทบของการดำเนินนโยบายการคลัง การเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลส่งผลให้เกิดการขยายตัวในทุกภาคการผลิตในระยะสั้น แต่การขยายตัวดังกล่าวมีผลทำให้ระดับราคาและค่าจ้างสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระยะเวลาต่อมา ส่วนการวิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกประเทศ ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจไทย พบว่า การลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds Rate ในช่วงที่ประเทศไทยมีการดำเนินนโยบายการเงิน ตามแนวทางการกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยไม่มาก ในทางตรงกันข้าม การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (World GDP) ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างกว้างขวาง |
Other Abstract: | To construct a dynamic macroeconomic model subject to structural changes of the Thai economy using quarterly data during the years 1993-2001. The behavioral equations are estimated on the general-to-specific basis in combination with the use of cointegration analysis. The study results indicate that the behavior of all the economic variables changed as the structure of the Thai economy changed. Under the changed structures and international financial systems, price mechanism adjusted at a faster pace and in a larger scale along the equilibrium path. The estimation results also show that the behavior of economic variables was sensitive to government policy variations, leading to the "Lucas Critique". In order to overcome the problems related to the "Lucas Critique" in macroeconomic modeling, methods of using dummy variables and stochastic simulation are applied to Thailand's dynamic macroeconomic model. As a model application, the study uses the estimated model to investigate the impacts of monetary policy, fiscal policy, and external disturbances on the Thai economy. The eased monetary policy regime by reducing the benchmark of 14-day repurchase rate, significantly affects domestic interest rates and exchange rates. But the transmission mechanism process of the reduced repurchase rate does not show much impact on the output growth. An increase in government expenditures affects all sectors, both the financial and the real sector. It also leads to a higher economic growth in the short-run, but overtime both domestic prices and wages rise to partially offset the short-run benefit of the fiscal policy. Regarding changes of external factors, a reduction in the federal funds rate under Thailand's inflation targeting policy generates little impact on the Thai economy. However, an increase in world GDP has a significant positive impact on Thailand's economic growth. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11053 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1146 |
ISBN: | 9741738129 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.1146 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bundit.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.