Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11298
Title: | ความชุกของโรคสมองเสื่อมและโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด |
Other Titles: | The prevalence of dementia and major depression in elderly in Roi-Et Province |
Authors: | อิงใจ จันทมูล |
Advisors: | รวิวรรณ นิวาตพันธุ์ เยาวดี วิบูลย์ศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ผู้สูงอายุ -- โรค ภาวะสมองเสื่อม -- ไทย ความซึมเศร้า -- ไทย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอัตราความชุกและปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคสมองเสื่อม และโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 1,707 คน ตามวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยผู้วิจัย 4 ท่าน ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการฝึกให้ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์แห่งความสอดคล้อง กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดกรองด้วยแบบทดสอบ สำหรับประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและแบบสัมภาษณ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคของ DSM-IV หลังจากนั้นจะได้รับการวินิจฉัยยืนยันโดยจิตแพทย์ผู้มีความชำนาญ ในเรื่องผู้สูงอายุตามหลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคของ DSM-IV อีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตราความชุกของโรคสมองเสื่อม มีร้อยละ 3.2 เพศหญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อายุมากขึ้น, สถานภาพสมรสที่ไม่ใช่คู่, การไม่ได้รับการศึกษา, การไม่เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน, ปัญหาการได้ยิน-การมองเห็น และความไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. อัตราความชุกของโรคซึมเศร้ามีร้อยละ 2.4 เพศหญิงและอายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การไม่ได้รับการศึกษา, ปัญหาการได้ยิน-การมองเห็น-ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ และอัมพฤกษ์/อัมพาต มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สถานภาพสมรสหย่า-หม้าย, การเกษียณอายุ, การอยู่ตามลำพัง, ปัญหาวิงเวียนศรีษะ-นอนไม่หลับ-แผลในกระเพาะอาหาร-ความดันโลหิตสูง และความไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเศร้าซึมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the prevalence rates and personal factors related to dementia and major depression in elderly in Roi-Et province. The subjects were 1,707 of those over 60 yeares of age assigned by multi stage samplings. The data collected by the researcher and 4 assistants who are nurses trained to properly administer the tools,considered by the intraclass correlation coefficient. The subjects were screened by dementia and major depression screening tests based on DSM-IV criteria,and diagnosed by an expert psychiatrist also based on DSM-IV criteria. The finding are as follows ; 1. The prevalence rate of dementia is 3.2 percent. The female subjects are significantly tended to be dementia at the level of .01. The other personal factors that significantly related to dementia at the level of.001 are aging, seperating, uneducated, unaccessing to the community activities, hearing and visual loss, and unable to do the activities of daily living. 2. The prevalence rate of major depression is 2.4 percent. The trends of sex ; which is female,and aging are significantly related to the disease at the level of .05. The factors of being uneducated, hearing and visual loss, muscle and joint painful, and paresis are significantly related to the disease at the level of .01. The other personal factors that related to the disease at the level of .001 are being divorced-widowed, retired, living alone, lacking of being looked after by family members, unaccessing to the community activities, being dizzy, having problem of insomnia, being gastritis, hypertension and unable to do the activities of daily living. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11298 |
ISBN: | 9746350994 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Engjai_Ch_front.pdf | 775.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Engjai_Ch_ch1.pdf | 750.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Engjai_Ch_ch2.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Engjai_Ch_ch3.pdf | 771.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Engjai_Ch_ch4.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Engjai_Ch_ch5.pdf | 958.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Engjai_Ch_back.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.