Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1130
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ ศรีอัษฎาพร เจริญงาม-
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ สุธรรมโกศล, 2524--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-07-26T10:53:36Z-
dc.date.available2006-07-26T10:53:36Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745315303-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1130-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือของบุคคลในวงการบันเทิงที่เข้าทำงานทางการเมือง และสำรวจทัศนคติของบุคคลทั่วไปที่มีต่อภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของบุคคลในวงการบันเทิงที่เข้าทำงานทางการเมือง โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มบุคคลในวงการบันเทิงที่สนใจเข้าทำงานทางการเมือง (จำนวน 23 คน) 2. กลุ่มบุคคลในวงการบันเทิงที่ไม่สนใจเข้าทำงานทางการเมือง (จำนวน 30 คน) 3. กลุ่มนักการเมือง (จำนวน 30 คน) 4. กลุ่มบุคคลทั่วไปในสาขาอาชีพอื่นๆ (จำนวน 100 คน) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มบุคคลในวงการบันเทิงที่สนใจเข้าทำงานการเมืองจำเป็นต้องสร้างภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ เพราะยังขาดประสบการณ์การทำงานการเมือง และควรวางแผนล่วงหน้าในการเข้าทำกิจกรรมทางการเมือง และกิจกรรมสังคมเพื่อส่วนรวม เพื่อสร้างการยอมรับ และความไว้วางใจจากประชาชน 2.บุคคลทั่วไปคิดว่าบุคคลในวงการบันเทิงที่เข้าทำงานทางการเมืองสามารถเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้เกิดความน่าเชื่อถือได้ ทั้งนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพก่อนและหลังเข้าทำงานทางการเมืองen
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this qualitative research was to investigate the process of building a credibility image of entertaining professionals who had turned to work in political occupation. In addition, the study was aimed to survey peoples attitudes toward this issue. Interview and questionnaires data were collected from 23 entertainers who were interested in political work, 30 entertainers who were not interested political work, 30 politicians, and 100 people who worked in other different occupations. The study found that lacking political work experience, entertainers who wanted to work in political career needed to build up their credibility. The study also suggests that they should plan to be actively involved in political activities and community services in order to gain future acceptance and trustworthiness from the people. However, before and after entering the political career, they need to change or adjust their personality to become more credible.en
dc.format.extent3075281 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.265-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาพลักษณ์ร่างกายen
dc.subjectนักการเมืองen
dc.subjectบทบาทที่คาดหวังen
dc.subjectความเชื่อถือได้en
dc.titleการสร้างภาพลักษณ์เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของบุคคลในวงการบันเทิงเข้าทำงานทางการเมืองen
dc.title.alternativeCredibility image building of entertaining professionals who turn to work in political occupationen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวาทวิทยาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.265-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SupapornSutham.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.