Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11358
Title: การสื่อสารในภาวะความเสี่ยงของผู้รับสารในเขตที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากขยะ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Risk communication of audiences in waste power plant project selected sites, Chiangmai province
Authors: พัชรมณี เย็นมั่นคง
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: การสื่อสารในภาวะความเสี่ยง
ขบวนการสังคม
สื่อมวลชนกับสิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์กระบวนการสื่อสารในภาวะความเสี่ยง ที่ประกอบด้วยผู้รับสาร ผู้ส่งสาร และสาร (2) วิเคราะห์บทบาทการใช้ข่าวสารในการดำเนินกิจกรรมเพื่อจัดการกับความเสี่ยง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2538 ถึงเดือนธันวาคม 2539 จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้รับสาร จำนวน 120 คน ในเขตพื้นที่ที่ กฟภ. ประกาศจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากขยะ และวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้แนวคิดเรื่องการสื่อสารในภาวะความเสี่ยง ยุทธวิธีในขบวนการทางสังคมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ในเรื่องของแหล่งข้อมูล ความใกล้ชิดทางสภาพภูมิศาสตร์และความมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ทำให้สื่อบุคคลเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้รับสารเลือกเปิดรับและแสวงหาข่าวสารมากที่สุด เนื่องจากให้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการรับรู้ข่าวสารของผู้รับสาร (2) ข่าวสารไม่มีบทบาททำให้ผู้รับสารส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงการรับรู้ความเสี่ยง โดยส่วนใหญ่คัดค้านโครงการตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะได้รับข่าวสารเพิ่มขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ (3) ในทางตรงกันข้าม ผู้ส่งสารที่เป็นแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง คือ สื่อบุคคล สื่อมวลชนและกลุ่มคัดค้าน (ยกเว้นแหล่งข้อมูล กฟภ.) กลับเปลี่ยนแปลงท่าทีที่มีต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากขยะ จังหวัดเชียงใหม่ จากจุดยืนที่ประนีประนอมมาเป็นคัดค้าน (4) ผู้รับสารส่วนใหญ่มีแบบแผนการแสวงหาข่าวสารที่เป็นความรู้และข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ และได้ใช้ยุทธวิธีการชักจูงใจและการเจรจาต่อรองในการจัดการกับความเสี่ยงมากกว่าการใช้กำลัง
Other Abstract: Analyses risk communication process which consists of audience, source, and message and analyse the use of messages on risk management of audiences. Data was acquired through the exploratory research in waste power plant selected sites and the content analysis during February 1995-December 1996 undertaken within the concept framework of risk communication, social movements and the relevant research. Results demonstrate as follows : (1) The audiences have a selective exposure in conformity with their interest from key informants rather than other sources owing to geographical familiarity and mutual participation on event. (2) Most audiences disagree with waste power plant project and are unable to change their risk perception inspite of receiving information increasingly. (3) In the contrary, key informants, mass media, and the opposition(Except Provincial Electricity Authority source) haved changed their attitude on this project from compromise to adverse protestation. (3) Most audiences have a pattern in seeking knowledge and information concerning the project for their consideration and using persuasion and bargaining strategies under the social movements as preference in risk management in lieu of coercion.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11358
ISBN: 9746355287
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharamanee_Ye_front.pdf787.01 kBAdobe PDFView/Open
Patcharamanee_Ye_ch1.pdf792.71 kBAdobe PDFView/Open
Patcharamanee_Ye_ch2.pdf808.67 kBAdobe PDFView/Open
Patcharamanee_Ye_ch3.pdf851.37 kBAdobe PDFView/Open
Patcharamanee_Ye_ch4.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Patcharamanee_Ye_ch5.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Patcharamanee_Ye_ch6.pdf832.44 kBAdobe PDFView/Open
Patcharamanee_Ye_ch7.pdf842.46 kBAdobe PDFView/Open
Patcharamanee_Ye_back.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.