Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11469
Title: การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยกลวิธีการเรียนภาษา โดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The development of an instructional model of critical reading through language learning strategies using cooperative learning principles for the lower secondary school students
Authors: ศุภวรรณ์ เล็กวิไล
Advisors: ทิศนา แขมมณี
สุจริต เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
การทำงานกลุ่มในการศึกษา
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การอ่าน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยกลวิธีการเรียนภาษาโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง 3) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างรูปแบบการสอนกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) ศึกษาพฤติกรรมการร่วมมือในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง และ 5) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือและการนำกลวิธีการเรียนภาษาไปใช้ วิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนารูปแบบการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบการสอน ขั้นตอนที่สอง เป็นการทดลองใช้รูปแบบการสอน และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน ได้ผลการวิจัย ดังนี้ 1. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล รูปแบบการสอนเน้นด้านการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน มีการช่วยเหลือส่งเสริม และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งได้นำกลวิธีการเรียนภาษา ได้แก่ กลวิธีทางปัญญา กลวิธีการจำ กลวิธีเมตคอคนิตีป กลวิธีการทดแทน กลวิธีจิตพิสัย และกลวิธีทางสังคม มาประกอบในกระบวนการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ครอบคลุมในด้านการเข้าใจจุดมุ่งหมาย และความคิดของผู้เขียน การแยกข้อเท็จจริงออกจากข้อคิดเห็น การวิเคราะห์เรื่องราวที่อ่าน การพิจารณาเทคนิคการโฆษณา และการวินิจฉัยตัดสินสิ่งที่อ่าน สำหรับเอกสารประกอบรูปแบบการสอนมี 2 ฉบับ ได้แก่ เอกสารคำแนะนำการใช้รูปแบบการสอนที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับครูในการนำรูปแบบการสอนไปใช้และแผนการสอน จำนวน 8 แผน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.1 3. รูปแบบการสอนกับระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนกลุ่มทดลอง 4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการร่วมมือในการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 5. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความเห็นว่า การเรียนแบบร่วมมือให้ประโยชน์มาก และนักเรียนส่วนใหญ่ชอบ และนำกลวิธีการเรียนภาษาไปใช้มากในด้านการจับใจความ นั่งสมาธิ และการทำแผนภูมิสรุป
Other Abstract: The purposes of this research were : 1) to develop an instructional model of critical reading through language learning strategies using cooperative learning principles for the lower secondary school students, 2) to compare the critical reading achievements between the pre-test and the post-test of the experimental group, 3) to study the interactions between the instructional model and the levels of students' achievements, 4) to observe the cooperative learning behaviors of the experimental group, and 5) to study opinions of the students in experimental group concerning cooperative learning and application of language learning strategies. The research processes were to develop the model and to experiment the model with the students. The findings were as follows : 1. The instructional model consisted of 5 elements : principles, objectives, contents, instructional processes, and evaluation. The instructional processes specifically focused on cooperative learning principles by assigning the students to work together in small groups with the same goals of working, and helping each other in group interactions. Cognition, memorization, metacognition, compensation, affection, and socialization were used as language learning strategies to develop students' critical reading abilities in understanding author's purposes and ideas, identifying facts and opinions, analysing the stories, criticizing the propagandas, and judging the assigned passages. The instructional model materials were 2 handbooks for the teachers and 8 practical lesson plans. 2. The post-test achievement score of the experimental group was significantly higher than that of the pre-test at the .01 level. 3. There was no interaction between the instructional model and levels of the students' achievement toward critical reading achievement of the experimental group. 4. The post-test of the experimental group significantly performed better cooperative learning behaviors than the pre-test at the .01 level. 5. The experimental group indicated that the cooperative learning was useful to them, and had applied the acquired language learning strategies in their reading. The strategies most used were techniques in identifying main ideas, meditating, and concept mapping.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11469
ISBN: 9746355864
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphawan_La_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Suphawan_La_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Suphawan_La_ch2.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Suphawan_La_ch3.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Suphawan_La_ch4.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Suphawan_La_ch5.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Suphawan_La_back.pdf3.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.