Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11535
Title: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ในผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปาก
Other Titles: Hepatitis C virus infection in patients with oral lichen planus
Authors: ปรมาภรณ์ กลั่นฤทธิ์
Advisors: กอบกาญจน์ ทองประสม
ยง ภู่วรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ไลเคนแพลนัส
ไวรัสตับอักเสบซี
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในช่วง 20 ปีมานี้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไลเคนพลานัสกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี โดยคณะผู้ทำการศึกษาหลายคณะ ซึ่งผลการวิจัยมีความแตกต่างกัน โดยมีทั้งพบความสัมพันธ์และไม่พบความสัมพันธ์ของโรคทั้งสอง นอกจากนี้ปัจจัยทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ในแต่ละประเทศน่าจะมีผลต่อความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ในผู้ป่วยไลเคนพลานัส การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอัตราความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี โดยการหาแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบ ซี และ HCV-RNA ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปาก 60 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่เป็นไลเคนพลานัสในช่องปาก 60 คน โดยจับคู่เพศและอายุให้ใกล้เคียงกันกับกลุ่มผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 8.33) ตรวจพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี โดยตรวจพบทั้งแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบ ซี และ HCV-RNA ในซีรั่มของผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปาก 3 ราย ตรวจพบเฉพาะแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบ ซี แต่ไม่พบ HCV-RNA ในซีรั่มของผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปาก 1 ราย และตรวจพบเฉพาะ HCV-RNA โดยที่ไม่พบแอนติบอดีต่อไวรัสตับอักเสบ ซี ในซีรั่มของผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปาก 1 ราย ในขณะเดียวกันไม่พบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ในกลุ่มควบคุม ดังนั้นการศึกษานี้จึงพบความชุกของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยไลเคนพลานัสในช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.029) อย่างไรก็ตามกลไกในการอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโรคทั้งสองยังไม่ทราบแน่ชัด จึงต้องมีการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อตอบปัญหาดังกล่าว
Other Abstract: For the last two decades, several studies have been conducted focusing on an association between hepatitis C virus infection and lichen planus (LP). Not all of those studies have found an association between both kinds of disease. Differences as to the patients' geographical location could be an important factor for HCV prevalence. The present study has been designed to investigate the prevalence of HCV infection based on the presence of anti-HCV and/or HCV-RNA in 60 patients with oral lichen planus (OLP) and 60 controls without OLP, matched by age and gender. We found 5 patients (8.33%) with OLP infected with HCV : 3 patients were positive for both anti-HCV and HCV-RNA, 1 patient was positive for anti-HCV only, and 1 patient was positive for HCV-RNA only, whereas all the controls were negative for both anti-HCV and HCV-RNA. Thus, the present study suggests a small but statistically significant high prevalence of HCV infection in patients with OLP although the underlying mechanism still remains unknown. Further studies should be investigated in the mechanism of this association.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ช่องปาก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11535
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.503
ISBN: 9740305008
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.503
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poramaporn.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.