Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11558
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมฤทัย วัชราวิวัฒน์-
dc.contributor.advisorวิศิษฎ์ ประสิทธิ์ศิริกุล-
dc.contributor.authorสุจิตรา พุทธวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-10-26T03:01:01Z-
dc.date.available2009-10-26T03:01:01Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741713223-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11558-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาข้อมูล ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและลักษณะทางคลินิกของการเกิดความผิดปกติของ การกระจายของไขมันในร่างกายผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี ตลอดจนการใช้ยาต้านเชื้อเอชไอวีในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ข้อมูลรวบรวมได้จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวน 278 ราย ที่มารับบริการที่คลินิกยาต้านเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลบำราศนราดูร ในระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ถึง 15 เมษายน 2545 โดยผู้ป่วยที่รายงานว่าเกิดความผิดปกติของการกระจายของไขมันในร่างกายจะได้ รับการตรวจวัดทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของน้ำตาลและ ไขมัน วัดสัดส่วนของร่างกาย ส่วนประกอบของร่างกาย และเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อและการใช้ยา ต้านเชื้อเอชไอวี ความชุกของการเกิดความผิดปกติของการกระจายของไขมันในร่างกายผู้ป่วยไทยที่ ติดเชื้อเอชไอวีคิดเป็นร้อยละ 17 โดยคิดเป็นความชุกในเพศชายร้อยละ 19 และในเพศหญิงร้อยละ 12.5 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสภาวะทางคลินิกและการดำเนินไปของโรคค่อนข้างดีเมื่อ พิจารณาจากจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 และจำนวนเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด โดยผู้ป่วยทุกคนที่เกิดความผิดปกติของการกระจายของไขมันในร่างกายล้วนเคยได้ รับยาต้านเชื้อเอชไอวี พบความผิดปกติของการกระจายของไขมันในร่างกายได้ทั้งในผู้ป่วยที่เคยได้รับ และไม่เคยได้รับยาต้านเชื้อเอชไอวีในกลุ่ม protease inhibitors จากการประเมินตนเองของผู้ป่วยความผิดปกติของการกระจายของไขมันในร่างกายพบ ได้บ่อยที่สุดที่ใบหน้า รองลงมาได้แก่ ก้น ขา แขน และท้อง และเมื่อพิจารณาความรุนแรงในการเกิดความผิดปกติของการกระจายของไขมันทั่ว ทั้งร่างกาย ผู้ป่วยร้อยละ 28 ให้คะแนนอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 54 ให้คะแนนอยู่ในระดับปานกลาง และร้อยละ 15 ให้คะแนนอยู่ในระดับมาก ผู้ป่วย 2 ใน 3 ส่วนมีลักษณะของการเกิดความผิดปกติของการกระจายของไขมันในร่างกายเป็นแบบผสม คือเกิดทั้ง fat wasting และ fat accumulation ร่วมกัน และอีก 1 ใน 3 ส่วน มีลักษณะเป็น fat wasting อย่างเดียว ผู้ป่วยที่เกิดความผิดปกติของการกระจายของไขมันในร่างกายร้อยละ 93 มีความผิดปกติทางเมแทบอลิซึมของน้ำตาลหรือไขมันอย่างน้อย 1 อย่าง มีภาวะไขมันในเลือดสูงร้อยละ 88 มีความผิดปกติของความคงทนต่อกลูโคสร้อยละ 41 มีภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลินร้อยละ 30 และเป็นเบาหวานร้อยละ 21 ความชุกของการเกิดความผิดปกติของการกระจายไขมันในร่างกายผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีค่อนข้างต่ำกว่าการศึกษาอื่นๆ แต่มีลักษณะเหมือนกับที่เคยมีรายงานไว้ ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเกิดความผิดปกติทางด้านเมแทบอลิซึมของน้ำตาลและไขมันได้สูงกว่าคนปกติ ซึ่งทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this cross sectional descriptive study were to estimate the prevalence, determine the clinical characteristic of lipodystrophy in HIV-infected Thai patients and study antiretroviral therapy patterns in these patients. Two hundred and seventy eight HIV-infected patients were interviewed. They were outpatients of antiretroviral clinic at Bamrasnaradura hospital during 15 November 2001 through 15 April 2002. Laboratory data related to lipid and glucose metabolisms were obtained from patients who reported fat maldistribution. Anthropometric and body composition were also assessed. In addition, antiretroviral treatment history and HIV infection history were reviewed from the OPD cards. The prevalence of lipodystrophy was 17%. Prevalence of fat maldistribution in men was 19% and 12.5% in women. Most patients were in good clinical condition according to their CD4 count and HIV-RNA. All lipodystrophy patients had received antiretroviral agents. Some had received PIs, the others had not. From patient’s self evaluation, lipodystrophy were reported the most at face, then buttocks, legs, arms, and abdomen respectively. Twenty eight percent, 54% and 15% of patients ranked their body changes as mild, moderate and severe respectively. Two-third of the patients had mixed syndromes (fat wasting with fat accumulation). The rest had only fat wasting. Ninety-three percent of lipodystrophy patients had at least 1 abnormality in either lipid or glucose metabolism. Eighty-eight percent had hyperlipidemia, 41% had impaired glucose tolerance, 30% had insulin resistance and 21% had diabetes mellitus. The prevalence of lipodystrophy in this study was slightly lower than in other studies. Characteristics of lipodystrophy in HIV-infected Thai patients are similar to those previously reported. These patients have a high rate of lipid and glucose metabolism abnormalities which are important risk factors of coronary heart disease.en
dc.format.extent1331353 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวีen
dc.subjectไขมันen
dc.titleกลุ่มอาการผิดปกติของการกระจายของไขมันในร่างกายผู้ป่วยไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีen
dc.title.alternativeLipodystrophy syndromes in HIV infected Thai patientsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchittra.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.