Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1163
Title: | การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของความสูญเสียจากการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Economic valuation of traffic congestion costs in Bangkok |
Authors: | ธนิต นาชัยเวียง, 2521- |
Advisors: | สรวิศ นฤปิติ เรณู สุขารมณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | จราจรหนาแน่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ ความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัญหาการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในหลายๆ ด้าน การทราบมูลค่าความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดจากปัญหาการจราจรคับคั่งในรูปตัวเงิน ทำให้สามารถนำไปสู่การใช้มาตรการในการแก้ปัญหาการจราจรคับคั่งได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิเคราะห์หามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของความสูญเสียจากปัญหาการจราจรคับคั่งในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการประเมินมูลค่าด้วยการสอบถามประชาชนโดยตรง และใช้วิธีการตั้งคำถามแบบเสนอราคาแบบปิดสองครั้ง เพื่อใช้วัดค่าความยินดีจ่ายของประชาชนชนเพื่อการปรับปรุงสภาพการจราจรในกรุงเทพมหานคร สำหรับในการวิเคราะห์หามูลค่าความยินดีจ่าย ทำโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอย Consored Logistic Regression โยใช้รูปแบบจำลอง Life Regression Model จากข้อมูลของผู้เดินทางในกรุงเทพมหานครทั้งหมด 784 ตัวอย่าง และผู้เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะจำนวน 421 ตัวอย่าง มูลค่าความยินดีจ่าย (WTP) เพื่อการปรับปรุงสภาพการจราจรในกรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 37.64 บาทต่อเที่ยว สำหรับการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล และเท่ากับ 21.73 บาทต่อเที่ยว สำหรับการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ ปัจจัยที่กำหนดขนาดของค่าความยินดีจ่ายของผู้เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลคือ ระดับรายได้และการมีผู้ร่วมเดินทาง และปัจจัยที่กำหนดขนาดของค่าความยินดีจ่ายของผู้เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ คือ ระดับรายรายได้ โดยมีค่าประมาณการความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากปัญหาการจราจรคับคั่งในกรุงเทพฯ รวมประมาณ 165,400 ล้านบาทต่อปี (3,846 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี) ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านนโยบาย โดยเฉพาะการใช้มาตรการทางด้านราคากับผู้เดินทางเพื่อควบคุมหรือปรับเปลี่ยนความต้องการในการเดินทางของผู้เดินทาง อย่างไรก็ตาม การนำค่าเหล่านี้ไปใช้ต้องตระหนักว่าเป็นมูลค่าความยินดีจ่ายเพื่อขจัดปัญหาการจราจรคับคั่งให้หมดไปอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ เป็นสภาพการณ์ในอุดมคติ โดยมีสภาพการจราจรที่คล่องตัว โครงข่ายถนนที่ได้มาตรฐาน ระบบควบคุมการจราจรที่มีประสิทธิภาพ สภาพแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งการให้บริการของระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ สะดวก สบาย และเพียงพอกับความต้องการในการเดินทางของประชาชน |
Other Abstract: | The traffic congestion in Bangkok has effected economic productivity and social problems that carry significant costs on both health and productivity loss. Knowing these amount of impacts in term of monetrary value could help officials impose pertinent and effective measures on these traffic congestion. This research presented the economic valuation of traffic congestion costs in Bangkok using double bounded close-ended Contingent Valuation Method (CVM) to elicit people's opinion toward road user charges as a way to alleviate traffic congestion problems. The impact of traffic congestion on travelers was assessed by Willingness-To-Pay (WTP) method using Consored Logistic Regression in the Life Regression model from 784 samples: 363 auto travelers and 421 public tranport riders in Bangkok. The estimated mean WTP for improving Bangkok traffic condition was 37.64 bahts per trip for auto travelers and 21.37 bahts per trip for public transport users. Whether or not travel alone and income were statistically the most important factors affecting WTP of auto travelers and income being the facter affecting WTP of public transport users. The estimated total traffic congestion cost in Bangkok were 165,400 million bahts per year (US$3,846 million per year). The findings from this research reveal the costs of traffic congestion form travelers' perspective. The implication can be used by policy officials in financing alternatives that are more closely linked to ability to pay. However, it should be kept in mind that this value is wellingness to pay for sloving traffic congestion completely. In other words, the addressed travel environment is idealistic such as high level of service of riding, standard highway network, systematic traffic management, clean environment and high service quality of public transportation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1163 |
ISBN: | 9740310133 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.