Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11815
Title: ผลกระทบของการก่อสร้างอุโมค์ต่อการเคลื่อนตัวของดินบริเวณสิ่งก่อสร้างข้างเคียง
Other Titles: Effect of tunnelling on soil displacements around nearby construction facilities
Authors: วิรัช พิทักษ์ทรายทอง
Advisors: วันชัย เทพรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อุโมงค์
การก่อสร้างใต้ดิน
ปฐพีกลศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงพฤติกรรมและวิธีการในการประมาณการ เคลื่อนตัวของดิน ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRTA) และอุโมงค์ผันน้ำคลองเปรมประชากร ทั้งในส่วนของการทรุดตัวที่ผิวดินและการทรุดตัวที่ระดับความลึกต่างๆ รวมทั้งศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก การขุดเจาะอุโมงค์ผันน้ำคลองเปรมประชากรลอดใต้อุโมงค์ส่งน้ำประปา และเสาเข็มสะพานข้ามคลองประปาของการประปานครหลวง เพื่อวิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์และแนวทางที่เหมาะสม ในการประมาณการค่าการทรุดตัวและผลกระทบที่เกิดขึ้น การวิเคราะห์แบ่งเป็น 2 วิธี คือ วิธี Empirical และ วิธี Finite Element (FEM) โดยวิธีแรกใช้ทฤษฎีของ Peck (1969) และ OʼReilly and New (1982) ในการวิเคราะห์การทรุดตัวที่ผิวดิน และใช้ทฤษฎีของ Mair (1993) ในการวิเคราะห์การทรุดตัวที่ระดับความลึกต่างๆ ในส่วนวิธี FEM ได้ทำการวิเคราะห์เพื่อศึกษาการทรุดตัว และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขุดเจาะอุโมงค์ผันน้ำฯ ลอดใต้อุโมงค์ส่งน้ำประปาและเสาเข็มสะพานข้ามคลองประปา ผลการวิเคราะห์ในส่วนของการทรุดตัวที่ผิวดิน พบว่าค่าพารามิเตอร์ i ตามทฤษฎีของ Peck(1969) มีค่าอยู่ระหว่าง 8 -12 ม. ในขณะที่ค่า K ตามทฤษฎีของ OʼReilly & New (1982) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.34-0.50 ในส่วนของการทรุดตัวที่ระดับความลึกต่างๆ พบว่าค่าการทรุดตัวที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยทฤษฎีของ Mair (1993) ไม่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้กับชั้นดินกรุงเทพฯ โดยจะให้ค่าการทรุดตัวที่น้อยกว่าค่าการทรุดตัวจริงที่ตรวจวัดได้ในสนาม การวิจัยนี้จึงได้เสนอวิธีการใหม่ในการประมาณค่าการทรุดตัวที่มากที่สุดที่ ระดับความลึกใดๆ ซึ่งจะขึ้นกับรัศมีของอุโมงค์ (r [subscript 0]) ความลึกจากผิวดินถึงกึ่งกลางอุโมงค์ที่ทำการขุดเจาะ (Z [subscript 0]) และความลึกจากผิวดินถึงระดับความลึก (Z) ใดๆ ในส่วนการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของดินด้วยวิธี FEM พบว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่าง Eu/Su ที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 240 และ 480 สำหรับดินเหนียวอ่อนและดินเหนียวแข็งชั้นแรก ตามลำดับ โดยค่า Eu/Su ดังกล่าวสอดคล้องกับผลการทดสอบ Self-Boring Pressuremeter Test ที่ระดับการเสียรูป (Strain) ในช่วง 0.1-1.0% ผลการวิเคราะห์การเคลื่อนตัวของดินจากการขุดเจาะอุโมงค์ผันน้ำฯ ลอดใต้อุโมงค์ส่งน้ำประปาและเสาเข็มสะพานข้ามคลองประปาด้วยวิธี FEM สอดคล้องกับค่าที่ตรวจวัดได้ในสนาม ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุโมงค์ส่งน้ำประปาและฐานรากเสาเข็มสะพาน ข้ามคลองประปา
Other Abstract: To study the settlement behavior and propose the method for predicting the ground surface and subsurface settlements due to MRTA subway tunnelling and Klong Prem Prachakorn water diversion tunnel in stiff clay layer. The appropriate parameters for prediction of Bangkok subsoils settlement due to tunnelling are also proposed. The prediction of the settlement induced by tunnel underpassing the existing main water supply tunnels and bridge pile foundation (Klong Prame Prachakorn Project) was also compared with field performance. The analyses were divided into 2 methods as empirical and Finite Element Method (FEM). The empirical method was based on theory of Peck (1969) and OʼReilly & New (1982) to determine the surface settlement parameter of i and K. The analysis of subsurface settlement was based on Mair (1993)ʼs theory. The FEM method was based on Elasto-Plastic failure criteria to predict the ground settlement from tunnel construction underpassing the existing main water supply tunnel and bridge pile foundation. The result of ground surface settlement analysis found that i-value based on Peck (1969) is in the order of 8-12 m., while the K-value based on OʼReilly& New (1982) is about 0.34-0.50. For the subsurface settlement, the method proposed by Mair (1993) was not appropriate to Bangkok subsoil by given the lower values than measurements. This research proposes a new correlation to estimate the maximum subsurface settlement which is depended on the tunnel radius (r [subscript 0]), depth of the tunnel (Z [subscript 0]) and depth below ground surface to any depth level (Z). The numerical method by means of FEM analysis found that appropriate Eu/Su-values for predicting the ground surface settlement were equal to 240 and 480 for soft clay and 1st stiff clay, respectively. These Eu/Su-values agree well with the results of Self-Boring Pressuremeter test at the strain level of 0.1-1.0 %. The soil displacement, induced by tunnel underpassing existing main water tunnel and bridge pile foundation, analysed by means of FEM agreed well with field measurement which was not induced any damage to the main water tunnel and bridge pile foundation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11815
ISBN: 9740312055
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WiratPi.pdf14.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.