Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11862
Title: การเติบโตของ Noctiluca scintillans และผลของความหนาแน่นเซลล์ต่ออัตราการตาย ของกุ้งกุลาดำวัยอ่อนและปลากะพงขาววัยรุ่น
Other Titles: Growth of Noctiluca scintillans and effect of cell concentrations on mortality rate of black tiger shrimp larvae and juvenile sea bass
Authors: วิบูลย์ รักเสรี
Advisors: ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ
อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
[email protected], [email protected]
Subjects: แพลงค์ตอนพืช
กุ้งกุลาดำ
ปลากะพงขาว
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เซลล์ของ Noctiluca scintillans ที่แยกได้จากน้ำทะเลธรรมชาติและนำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยอาหารแพลงก์ตอนพืช 4 ชนิด ได้แก่ Dunaliella sp., Tetraselmis sp., Isochrysis sp. และ Skeletonema sp. ที่ระดับความเข้มแสง 3,000 และ 6,000 ลักซ์ ความเค็ม 20, 30 และ 40 ส่วนในพัน ตามลำดับ พบว่า N.scintillans ที่เลี้ยงด้วยอาหารแพลงก์ตอนพืช Tetraselmis sp. ระดับความเข้มแสง 6,000 ลักซ์ ความเค็ม 20 ส่วนในพัน ให้ค่าสัมประสิทธิ์การเติบโตสูงสุด 0.397+-0.021 ต่อวัน และมีจำนวนเซลล์สูงสุด 176+-6 เซลล์/มิลลิลิตร สำหรับ N.scintillans ที่เลี้ยงด้วยอาหารแพลงก์ตอนพืช Dunaliella sp. ให้ค่าสัมประสิทธิ์การเติบโตรองลงมาส่วน Isochrysis sp. และ Skeletonema sp. ให้การเติบโตต่ำและมีความหนาแน่นเซลล์ต่ำมาก การทดลองผลของความหนาแน่นเซลล์และสารสกัดจากเซลล์ N.scintillans ตลอดจนสารละลายแอมโมเนียต่ออัตราการตายของกุ้งกุลาดำวัยอ่อนและปลากะพงขาววัยรุ่น พบว่า 72-hr LC50 ของปริมาณความหนาแน่นเซลล์ N.scintillans ที่ได้จากธรรมชาติ (8.139+-1.221 เซลล์/มิลลิลิตร) มีความเป็นพิษต่อกุ้งกุลาดำวัยอ่อนมากกว่าความหนาแน่นเซลล์ของ N.scintillans ที่ได้จากการเลี้ยง (120.739+-22.714 เซลล์/มิลลิลิตร) เช่นเดียวกับ 72-hr LC50 ของปริมาณความหนาแน่นเซลล์ N.scintillans ที่ได้จากธรรมชาติ (8.510+-0.291 เซลล์/มิลลิลิตร) มีความเป็นพิษต่อปลากะพงขาววัยรุ่นมากกว่าความหนาแน่นเซลล์ N.scintillans ที่ได้จากการเลี้ยง (278.983+-64.956 เซลล์/มิลลิลิตร) สำหรับ 72-hr LC50 ของปริมาณสารสกัดจากเซลล์ N.scintillans ที่ได้จากธรรมชาติ (111.347+-4.898 เซลล์/มิลลิลิตร) มีความเป็นพิษต่อกุ้งกุลาดำวัยอ่อนใกล้เคียงกับสารสกัดจากเซลล์ N.scintillans ที่ได้จากการเลี้ยง (142.774+-6.895 เซลล์/มิลลิลิตร) เช่นเดียวกับ 72-hr LC50 ของปริมาณสารสกัดจากเซลล์ N.scintillans จากธรรมชาติ 100.915+-9.026 เซลล์/มิลลิลิตร และจากการเลี้ยง (103.345+-8.809 เซลล์/มิลลิลิตร) มีความเป็นพิษต่อลูกปลากะพงขาวใกล้เคียงกัน จากการวิเคราะห์คุณภาพน้ำของการศึกษาดังกล่าวข้างต้นพบว่า มีการลดลงของปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำอย่างชัดเจน นอกจากนี้พบว่า กุ้งกุลาดำวัยอ่อนมีความสามารถในการทนทานต่อความเป็นพิษของแอมโมเนียได้สูงกว่าปลากะพงขาววัยรุ่นโดยมีค่า 72-hr LC50 14.322+-0.251 และ 11.512+-0.415 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ
Other Abstract: The isolated natural cell of N. scintillans was cultured in laboratory conditions which fed on four phytoplankton species: Dunaliella sp., Tetraselmis sp., Isochrysis sp. and Skeletonema sp. at light intensity of 3,000 and 6,000 lux and varying salinity of 20, 30 and 40 ppt. the results showed that N. scintillans fed on Tetraselmis sp., at the salinity of 20 ppt and light intensity of 6,000 lux, was the best specific growth rate of 0.397+-0.021 day-1 with maximum yield of 176+-16 cells/ml. Culture of N. scintillans fed on Isochrysis sp. and Skeletonema sp. had low growth rate and very low cell concentration. The effects of cell concentrations and extracted solution from N. scintillans cells as well as dissolved ammonia on mortality rate of black tiger shrimp larvae (Penaeus monodon) and juvenile sea bass (Lates calcarifer) were carried out. The result revealed that cell density of N. scintillans obtained from the natural environment was more toxic than that obtained from laboratory culture with 72-hr LC50 value of 8.139+-1.221 and 120.739+-22.714 cells/ml, respectively. The same trend was also observed in juvenile sea bass with 72-hr LC50 values of 8.510+-0.291 and 278.983+-64.956 cells/ml for natural cells and cultured cells, respectively. The study on effect of the extracted solutions from natural cells and cultured cells showed almost the same toxicity level on tiger shrimp larvae with 72-hr LC50 value of 111.347+-4.898 and 142.774+-6.895 cells/ml, respectively and on sea bass with 72-hr LC50 value of 100.915+-9.026 and 103.345+-8.809 cells/ml, respectively. The depletion of dissolved oxygen was also observed in all experiments that mentioned earlier. Furthermore, the study indicated that black tiger shrimp larvae was more higher tolerance to ammonia toxicity than juvenile sea bass with 72-hr LC50 values of 14.322+-0.251 and 11.512+-0.415 mg/l, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11862
ISBN: 9743324933
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiboon_Ru_front.pdf789.16 kBAdobe PDFView/Open
Wiboon_Ru_ch1.pdf982.75 kBAdobe PDFView/Open
Wiboon_Ru_ch2.pdf739.87 kBAdobe PDFView/Open
Wiboon_Ru_ch3.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Wiboon_Ru_ch4.pdf752.97 kBAdobe PDFView/Open
Wiboon_Ru_ch5.pdf692 kBAdobe PDFView/Open
Wiboon_Ru_back.pdf934.12 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.