Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11926
Title: การผลิตอาหารเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคข้อกระดูกเสื่อมจากเปลือกอาหารทะเล : รายงานการวิจัย
Other Titles: Production of amino sugar food supplement from squid pen
Authors: มงคล สุขวัฒนาสินิทธิ์
อนวัช อาชวาคม
Email: [email protected]
[email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ไคติน
ไคโตแซน
เอนไซม์
กรดไฮโดรคลอริก
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การย่อยไคตินจากแกนหมึกด้วยเอนไซม์จากรา Aspergillus fumigatus และโคลนแบคทีเรีย Serratia sp. สามารถผลิตเอ็น-แอซีทิล-ดี-กลูโคซามีน (GlcNAc) และเอ็น,เอ็น-ไดแอซทิลไคโตไบโอส [(GIcNAc)2] อย่างเฉพาะเจาะจงได้ เอนไซม์จากรา Aspergillus fumigatus (4 U/1 g of chitin) สามารถย่อยไคติน (3% w/v) ที่ pH เป็น 3 อุณหภูมิ 40 ํC ได้ผลิตภัณฑ์เป็น GIcNAc ด้วยเปอร์เซ็นต์ผลผลิต 72% ภายในเวลา 2 วัน การย่อยไคติน (3% w/v) ด้วยเอนไซม์จากโคลนแบคทีเรีย Serratia sp. (1 U/1 g of chitin) ที่ pH เท่ากับ 6 อุณหภูมิ 37 ํC ทำการบ่มเป็นเวลา 6 วันให้ผลิตภัณฑ์เป็น (GIcNAc)2 และ GIcNAc ด้วยเปอร์เซ็นต์ผลิตภัณฑ์ 43% และ 2.6% ตามลำดับ การทำให้ GlcNac และ (GlcNAc)2 บริสุทธิ์สามารถทำได้โดยการตกตะกอนด้วยเอทานอล ตามด้วยการกำจัดสีด้วยผงถ่านกัมมันต์หรือใช้คอลัมน์ที่มีผงถ่านกัมมันต์ให้ GIcNAc บริสุทธิ์ด้วยเปอร์เซ็นต์ผลผลิต 64% และ (GlcNac)2 บริสุทธิ์ด้วยเปอร์เซ็นต์ผลผลิต 40% การย่อยไคตินด้วยกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น โดยการใช้และไม่ใช้คลื่นอัลตราโซนิคเพื่อให้ได้เกลือกลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ (GIcNHCI) ซึ่งสภาวะที่ใช้ในการเตรียมเกลือ GIcNHCI คืออัตราส่วนไคตินต่อกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 1:1 (w/w) ขณะนี้การทดลองของการย่อยไคตินด้วยกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นอยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูล
Other Abstract: The degradation of squid pen by using enzymes of aspergillus fumigatus and coned bacteria serratia sp. can be accomplished to specifically N-acetyl-D-glucosamine (GIcNAc) and NN-acetylchitobiose [(GIcNAc)2]. Enzyme of aspergillus fumigatus (4 U/1 g of chitin) can degrade chitin (3% w/v) at 40 ํC, pH 3, for 2 days, to give GlcNAc in 72% yield. The degradation of chitin (3% w/v) by using enzymes from bacteria serratia sp (1 U/1 g of chitin) at 37 ํC, pH 6, for 6 days, to produce both (GIcNAc)2 and GIcNAc in 72% and 2.6% yields respectively. The purification of GIcNAc and (GIcNAc)2 could be done by recrystallization following by either the activated charcoal decolorization or the activated charcoal column chromatography to obtain pure GIcNAc in 64% yield and pure (GIcNAc)2 and 40% yield. The degradation of chitin by using conc. HCI to obtain glucosamine hydrochloride salt (GIcNHCI) can be accomplished with or without ultrasonication. The conditions is to use chitin to conc. HCI ratio 1:1 (w/w) and the degradation by using conc. HCI is under investigation.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11926
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mongkol_Pro.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.