Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12266
Title: | การกำจัดสีในน้ำเสียโดยใช้ควอเทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงค์เซลลูโลสที่เตรียมจากซังข้าวโพด เปลือกถั่วเหลือง และก้านทานตะวัน |
Other Titles: | Removal of dye in wastewater by quaternized crosslinked cellulose prepared from corn cob, soybean hull, and sunflower stalk |
Authors: | อาสยา ปราชญาพร |
Advisors: | เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | สีย้อมและการย้อมสี น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีทางชีวภาพ การแลกเปลี่ยนไอออน ของเสียทางการเกษตร |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสามารถนำมาพัฒนาให้มีความสามารถในการแลกเปลี่ยน ไอออนเพิ่มมากขึ้น เพื่อใช้ในกระบวนการกำจัดสีจากน้ำเสียได้โดยการปรับสภาพด้วยสารเคมี งานวิจัยนี้เลือกใช้ซังข้าวโพด เปลือกถั่วเหลือง และก้านทานตะวัน ในการศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดสีของสารเซลลูโลสแลกเปลี่ยนไอออน ชนิดควอเทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงค์เซลลูโลส ทดลองแบบคอลัมน์โดยใช้สีรีแอกทีฟ รีมาโซล แบล็ค บี (Remazol Black B) รีมาโซล บริลเลียนท์ เรด 3บีเอส (Remazol Brilliant Red 3BS) รีมาโซล บริลเลียนท์ บลู อาร์ (Remazol Brilliant Blue R) และสีไดเรกท์ เบสท์ ไดเรกท์ แบล็ค บี (Best Direct Black B) ไซเรียส รูไบน์ เคแซทบีแอล (Sirius Rubine KZBL) ไซเรียส บลู เคซีเอฟเอ็น (Sirius Blue KCFN) ที่มีความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีอัตราการไหลของสารละลายสี 10 มิลลิลิตรต่อนาที จากการทดลองพบว่า ควอเทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงค์เซลลูโลสมีประสิทธิภาพในการกำจัดสีรีแอกทีฟได้ดี กว่าสีไดเรกท์ โดยเมื่อพิจารณาที่ประสิทธิภาพในการกำจัดสีเท่ากับ 90% แล้วควอเทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงค์เซลลูโลสที่เตรียมจากซังข้าวโพด เปลือกถั่วเหลืองและก้านทานตะวัน มีความสามารถรองรับสีเฉลี่ย 241.39, 217.42 และ 266.02 มิลลิกรัมสีต่อกรัมวัสดุ (เฉลี่ยทุกวัสดุเท่ากับ 243.36 มิลลิกรัมสีต่อกรัมวัสดุ) สำหรับสีรีแอกทีฟ และ 63.37 153.73 และ 37.81 มิลลิกรัมสีต่อกรัมวัสดุสำหรับสีไดเรกท์ (เฉลี่ยทุกวัสดุเท่ากับ 84.95 มิลลิกรัมสีต่อกรัมวัสดุ) มีการถูกชะล้างได้หลังการกำจัดสีคิดเป็นความเข้มข้นสีเฉลี่ย 6.93, 5.90 และ 1.33 มิลลิกรัมต่อลิตร (17.59, 16.04 และ 3.83 SU) ตามลำดับ โดยค่าความสามารถรองรับสีสูงที่สุดคือ 314.57 มิลลิกรัมสีต่อกรัมวัสดุในการกำจัดสีรีมาโซล บริลเลียนท์ บลู อาร์ ด้วยควอเทอร์ไนซ์ครอสส์ลิงค์เซลลูโลสที่เตรียมจากก้านทานตะวัน |
Other Abstract: | Agricultural wastes can be chemically modified to improve their ion-exchange capacity in order to use in dye-removal from wastewater. Corn cob, soybean hull and sunflower stalk were used to study the dye-removal efficiency of quaternized crosslinked cellulose by the column method. Three reactive dyes (Remazol Black B, Remazol Brilliant Blue R, Remazol Brilliant Red 3BS) and three direct dyes (Best Direct Black B, Sirius Blue KCFN, Sirius Rubine KZBL) were used at a concentration of 100 mg/l and at a flow rate of 10 ml/min. The experiments revealed that quaternized crosslinked cellulose had better results in reactive dye-removal. At 90% dye-removal efficiency, the average volumes of dye taken up by quaternized crosslinked cellulose prepared from corn cob, soybean hull and sunflower stalk were 241.39, 217.42 and 266.02 mg dye/g (total average was 243.36 mg dye/g) for reactive dyes, and 63.37, 153.73 and 37.81 mg dye/g (total average was 84.95 mg dye/g) for direct dyes. The average leachability of quaternized crosslinked cellulose after dye removal determined as dye concentration were 6.93, 5.90 and 1.33 mg/l (17.59, 16.04 and 3.83 SU), respectively. The highest volume of dye taken up was 314.57 mg dye/g in Remazol Brilliant Blue R removal by quaternized crosslinked cellulose prepared from sunflower stalk. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12266 |
ISBN: | 9741727747 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arsaya.pdf | 7.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.