Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12272
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกัลยา ติงศภัทิย์, ม.ร.ว-
dc.contributor.authorนรินธร สมบัตินันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-03-17T04:27:19Z-
dc.date.available2010-03-17T04:27:19Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741714378-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12272-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของพยัญชนะกักตำแหน่งต้นพยางค์และระหว่างสระที่ ออกเสียง โดยผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหาร เพื่อพิสูจน์สมมติฐานว่า ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ต่างๆ ได้แก่ ค่าระยะเวลาการสั่นของเส้นเสียงจากจุดระบายลม ค่าระยะเวลาการกักกั้นลม (ในพยัญชนะกักระหว่างสระ) ค่าความเข้ม และค่าความถี่มูลฐานของพยางค์สามารถจำแนกพยัญชนะกักก้อง กักไม่ก้องไม่พ่นลม และกักไม่ก้องพ่นลมได้ และนำลักษณะทางกลสัทศาสตร์เหล่านี้มาเปรียบเทียบกับของผู้พูดปกติ พร้อมทั้งทดสอบการรับรู้ของคนปกติ ในการฟังเสียงพยัญชนะกักตำแหน่งต้นพยางค์ และระหว่างสระที่ออกเสียงโดยผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหาร เพื่อพิสูจน์สมมติฐานว่า ผู้ฟังสามารถรับรู้ความแตกต่างของเสียงพยัญชนะกักก้องและกักไม่ก้องได้ แต่ไม่สามารถรับรู้ความแตกต่างของเสียงพยัญชนะกักไม่ก้องไม่พ่นลมและกักไม่ ก้องพ่นลม ทั้งต้นพยางค์และระหว่างสระได้ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้มาจากการอ่านรายการคำของผู้พูดที่ใช้หลอดลม -หลอดอาหารจำนวน 3 คน และผู้พูดปกติจำนวน 3 คน ผู้บอกภาษาทั้ง 2 กลุ่ม เป็นเพศชาย มีอายุ การศึกษา ภูมิลำเนา และรูปร่างใกล้เคียงกัน ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ประกอบด้วยคำ 1 พยางค์ ซึ่งนำด้วยพยัญชนะกัก และคำ 2 พยางค์ ซึ่งพยางค์ที่ 2 นำด้วยพยัญชนะกัก ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้โปรแกรม Multi-Speech ในการวิเคราะห์ค่าระยะเวลาการสั่นของเส้นเสียงจากจุดระบายลม ค่าระยะเวลาการกักกั้นลม และค่าความเข้มของพยางค์ และโปรแกรม Praat ในการวิเคราะห์ค่าความถี่มูลฐานของพยางค์ ส่วนการทดสอบการรับรู้ ผู้วิจัยบันทึกคำที่ออกเสียงโดยผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหาร ใส่แผ่นบันทึกเสียงซีดี แล้วให้คนปกติจำนวน 30 คน ฟังพร้อมกันจากหูฟังในห้องโสตทัศนูปกรณ์ และเลือกคำที่ได้ยินจากตัวเลือกคำตอบ ในแบบทดสอบการฟัง งานวิจัยนี้พบว่า ในผู้พูดปกติค่าระยะเวลาการสั่นของเส้นเสียงจากจุดระบายลมจำแนกพยัญชนะกัก 3 ประเภท ทั้งตำแหน่ง ต้นพยางค์และระหว่างสระ แต่ในผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหาร ค่าระยะเวลาการสั่นของเส้นเสียงจากจุดระบายลมจำแนกพยัญชนะกัก ทั้ง 3 ประเภท เฉพาะในกรณีที่พยัญชนะกักอยู่ระหว่างสระเท่านั้น ส่วนในพยัญชนะกักต้นพยางค์ ค่าระยะเวลาการสั่นของเส้นเสียง จากจุดระบายลมจำแนกเพียงพยัญชนะกักก้องกับกักไม่ก้อง แต่ไม่จำแนกพยัญชนะกักไม่ก้องไม่พ่นลมกับกักไม่ก้องพ่นลม ผู้วิจัยพบว่า ค่าระยะเวลาการกักกั้นลมซึ่งวิเคราะห์ได้เฉพาะตำแหน่งระหว่างสระเท่านั้น จำแนกพยัญชนะกักไม่ก้องไม่พ่นลมกับกักไม่ก้องพ่นลม แต่ไม่จำแนกพยัญชนะกักก้องกับกักไม่ก้อง ขณะที่ค่าความเข้มและค่าความถี่มูลฐานของพยางค์ไม่จำแนกพยัญชนะกัก ทั้งในผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารและผู้พูดปกติ จากผลการวิจัยดังกล่าวผู้วิจัยสรุปว่า ลักษณะทางกลสัทศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญในการจำแนกพยัญชนะกัก ได้แก่ ค่าระยะเวลาการสั่นของเสียงจากจุดระบายลมและค่าระยะเวลาการกักกั้นลม ผลการทดสอบการรับรู้แสดงว่า ผู้ฟังสามารถรับรู้ความแตกต่างของเสียงพยัญชนะกัก ในตำแหน่งระหว่างสระได้ดีกว่าต้นพยางค์อย่างชัดเจน กล่าวคือ ฟังสามารถรับรู้ความแตกต่างของเสียงพยัญชนะกักทั้ง 3 ประเภทในตำแหน่งระหว่างสระได้ แต่ในพยัญชนะกักต้นพยางค์ ผู้ฟังรับรู้เพียงความแตกต่างระหว่างเสียงพยัญชนะกักก้องกับกักไม่ก้องเท่า นั้น ผู้ฟังไม่สามารถรับรู้ความแตกต่างระหว่าง เสียงพยัญชนะกักไม่ก้องไม่พ่นลมกับกักไม่ก้องพ่นลมได้ ผู้วิจัยพบว่า ผลการทดสอบการรับรู้สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าระยะเวลาการสั่นของเส้น เสียง จากจุดระบายลมในผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหาร การศึกษาพยัญชนะกักภาษาไทยทั้งตำแหน่งต้นพยางค์และระหว่างสระของผู้พูดที่ ใช้หลอดลม-หลอดอาหารในงานวิจัยนี้ ครอบคลุมมากกว่างานวิจัยที่ผ่านมาของ Gandour et al. (1987) ซึ่งศึกษาเพียงพยัญชนะกักต้นพยางค์ของภาษาไทยในผู้ไร้กล่องเสียง งานวิจัยนี้พบว่า ผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารสามารถออกเสียงพยัญชนะกักระหว่างสระได้ดีกว่า ต้นพยางค์ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารต้องพยายามควบคุม P-E segment ซึ่งทำงานแทนเส้นเสียง ทำให้ผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารออกเสียงในจุดเริ่มเปล่งเสียงได้ไม่ดี แต่หลังจุดเริ่มเปล่งเสียงผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหารควบคุม P-E segment ได้ดีขึ้นจึงออกเสียงได้ดีen
dc.description.abstractalternativeTo study the acoustic characteristics of Thai initial and intervocalic stops in tracheoesophageal and normal speakers. It examines the hypothesis that the acoustic characteristics voice timing, closure duration, intensity and fundamental frequency discriminate voiced, voiceless unaspirated and voiceless aspirated stops for two groups of speakers. The research also has experiments for normal listeners to perceive initial and intervocalic stops spoke by tracheoesophageal speakers. It examines the hypothesis that listeners can detect differences between voiced and voiceless stops in initial and intervocalic position, but can not distinguish voiceless unaspirated and voiceless aspirated stops. The data were collected from words read by three tracheoesophageal and three normal speakers. The speakers are all male of the same age, education, domicile and size. The data includes initial stops of isolated words and intervocalic stops of bisyllabic words. For analyzing the data, the multi-speech program was used for voice timing, closure duration and intensity and the Praat program for fundamental frequency. For the perception test, tracheoesophageal words were recorded on compact disks. All 30 subjects listened through headphones in laboratory and chose answers from sets of responses printed on answer sheets. The research reveals that voice timing discriminate the three types of voicing in both initial and intervocalic stops in normal speakers. For tracheoesophageal speakers, voice timing distinguishes three types of stops, especially in intervocalic position. It discriminates initial voiced and voiceless stops, but can not discriminate initial voiceless unaspirated and voiceless aspirated stops. Closure duration in intervocalic position in tracheoesophageal speech and normal speech distinguishes voiceless unaspirated and voiceless aspirated stops, but does not distinguish voiced and voiceless stops. Both intensity and fundamental frequency of the syllable in these two groups of speakers do not discriminate three types of initial and intervocalic stops. This study concludes that the important acoustic characteristics for discriminating stops are voice timing and closure duration. The perception tests clearly reveal that the listeners detect differences between intervocalic stops for tracheoesophageal speech better than initial stops clearly. While the listeners can perceive three types of intervocalic stops, they can distinguish only initial voiced and voiceless stops only. They can not discriminate initial voiceless unaspirated and voiceless aspirated stops. The study of the ability of alarygeal speakers to produce Thai initial and intervocalic stops of tracheoesophageal speakers goes beyond the research of Gandour et al. (1987), which studied only Thai initial stops in esophageal speakers before tracheoesophageal speakers became available. The research reveals that intervocalic stops are better than initial stops in tracheoesophageal speakers. They have to control P-E segment instead of the vocal folds, so they are not good at the onset of speech. Later in utterance, they can control the P-E segment, so the rest of utterance is better.en
dc.format.extent7068141 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.410-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาไทย -- การออกเสียงen
dc.subjectภาษาไทย -- สัทศาสตร์en
dc.subjectกลสัทศาสตร์en
dc.titleการจำแนกความต่างระหว่างพยัญชนะกักก้อง กักไม่ก้องไม่พ่นลม และกักไม่ก้องพ่นลมของภาษาไทย ในผู้พูดที่ใช้หลอดลม-หลอดอาหาร : การวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์และการทดสอบการรับรู้en
dc.title.alternativeThe differentiation of Thai voiced, voiceless unaspirated, and voiceless aspirated stops in tracheoesophageal speech : acoustic analysis and perceptionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.410-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narinthorn.pdf6.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.