Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12298
Title: | การรื้อถอนอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้แรงงานคนเป็นหลักในประเทศไทย: ปัญหาและแนวทางปฏิบัติ |
Other Titles: | Labor-based demolition of reinforced concrete buildings in Thailand : problems and practical guidelines |
Authors: | มหาดไทย ชัยเกษม |
Advisors: | นพดล จอกแก้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก -- ไทย การทำลายอาคาร แรงงาน -- ไทย |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การรื้อถอนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานก่อสร้างเนื่องจากความต้องการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิม ก่อนการก่อสร้างใหม่หรือสิ่งปลูกสร้างเดิมเกิดการเสื่อมสภาพ ซึ่งการรื้อถอนในประเทศไทยยังคงใช้ แรงงานคน เป็นหลักเนื่องจากเครื่องจักรขนาดใหญ่ไม่สามารถทำงานในที่สูงหรือบริเวณที่มีพื้นที่ การทำงานจำกัดได้ ซึ่งปัญหาที่พบคือปัญหาในเรื่องความปลอดภัยในการรื้อถอน และการรื้อถอนยังไม่มี แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้เกิดอันตรายจากการทำงาน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อนำเสนอแนวทางการรื้อถอนอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้แรงงานคนเป็นหลักในประเทศไทย รวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำการรื้อถอน โดยทำการศึกษาวิธีการรื้อถอนองค์ประกอบของอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก 9 ประเภทได้แก่ พื้น คาน เสา บันได ผนังภายใน ผนังภายนอก ฝ้าเพดาน โครงหลังคา และวัสดุมุงหลังคา ซึ่งทำให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการรื้อถอนและวิธีการรื้อถอนองค์อาคาร ที่แตกต่าง กันรวมถึงปัจจัยที่มีต่อการตัดสินใจเลือกวิธีการรื้อถอน ซึ่งการวิจัยนี้ได้ทำการตรวจสอบวิธีรื้อถอนโดย จัดทำแบบสอบถามไปยังผู้ปฎิบัติงานด้านการรื้อถอน และนำผลมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของวิธีการรื้อถอน สำหรับองค์อาคารแต่ละประเภท จากนั้นตรวจสอบลำดับ ความสำคัญของวิธีการรื้อถอนและความเสี่ยงในการเกิดอันตรายโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรม โครงสร้างเพื่อให้เกิดความถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ เลือกวิธีการรื้อถอนมี 8 ปัจจัย อันได้แก่ ความรุนแรงของการเกิดอันตรายจากการรื้อถอน ความสอดคล้อง กับหลักวิศวกรรม ผลกระทบต่อสิ่งรอบข้าง ความสะดวกในการรื้อถอน โอกาสในการเกิดอันตรายจาก การรื้อถอน ค่าใช้จ่ายในการป้องกันอันตราย เวลาที่ใช้ในการรื้อถอน จำนวนคนงานตามลำดับ และได้ทราบ วิธีการรื้อถอนองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทั้ง 9 องค์ประกอบ ทั้งในมุมมองของผู้ปฏิบัติงานและ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรม ซึ่งผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการรื้อถอนอาคารคอนกรีต เสริมเหล็กโดยใช้แรงงานคนเป็นหลักและสามารถประยุกต์ใช้กับการรื้อถอนโครงสร้างอื่นได้ |
Other Abstract: | Demolition is an important part of construction projects. Because the building must be demolished or needs to be re-built. In Thailand, labor is the main resource for demolition because machine-based demolition cannot be used in high buildings and narrow areas. The problems of laborbased demolition of reinforced concrete building are the lack of theoretical knowledge for demolition and safety, which can be hazardous for working processes. The purpose of this research is to study the guidelines of reinforced concrete buildings demolition by labor, including problems of labor-based demolition process. The 9 building components were selected to study, e.g., slabs, beams, columns, staircases, interior walls, ceiling, roof structures, and roofing materials. Construction-site observation and interview were applied to study the demolition methods, problems of demolition and factors related to the selection of demolition methods. Analytical Hierarchy Process (AHP) was applied to investigate the appropriated demolition methods. Then, the methods and risks of demolition were validated by the experts in structural engineering. The results of this research present 8 factors related to the selection of demolition methods, e.g., dangerous of demolition process, engineering knowledge, side-effects, convenience of demolition processess, tendency of accidents from demolition processess, cost of protection for demolition, duration of demolition, and number of workers. Furthermore, this research also presents the demolition methods of 9 components of reinforced concrete building from both of the workers and the experts' perspectives. The results of this study can be applied as guidelines for building demolition using labor and can be applied for other types of building-component demolition. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12298 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
mahadthai.pdf | 3.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.