Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12352
Title: | โรงงานต้นแบบเผาขยะด้วยเตาเผาแบบฟลูอิไดเซชั่น : รายงานฉบับสมบูรณ์โครงงานวิจัย |
Other Titles: | Pilot scale of solid waste combustion in fluidization incinerator |
Authors: | สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | เตาเผาขยะ ขยะ การกำจัดขยะ ฟลูอิไดเซชัน |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันขยะได้สร้างปัญหาต่อทุกชุมชนและเมืองต่างๆ ในประเทศเนื่องจากประชาชนต่างมีความกลัวต่อกลิ่นและฝุ่นละอองที่ปลิวมาตามกระแสลมจะเป็นสิ่งทำลายสุขภาพและก่อให้เกิดโรคต่างๆ หน่วยงานของรัฐหลายฝ่ายได้พยายามพัฒนาแนวทางกำจัดขยะ อาทิ การฝังกลบ การนำกลับมาใช้ใหม่การทำปุ๋ย จนถึงระบบเผาทำลาย แต่ละกระบวนการก็ประสบปัญหาที่ประชาชนยังไม่ยอมรับ งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเตาเผาขยะแบบไร้กลิ่นไร้ควันด้วยเทคนิคฟลูอิไดเซซันขึ้นมาใช้ทำลายขยะ ขยะที่ใช้ในการทดลองเป็นขยะที่เกิดขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การป้อนขยะเข้าเตาเผาเป็นระบบป้อนต่อเนื่อง ขั้นต้นก่อนขยะจะป้อนเข้าเตาเผาของขยะถูกแยกเหล็กออกด้วยแม่เหล็ก แก้ว เซรามิก ถูกตีให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ ด้วยเครื่องย่อยแบบฆ้อนหมุนรอบตัวเอง เศษแก้ว เศษเซรามิก รวมทั้งทรายถูกแยกออกด้วยระบบสายพานที่แบบมีร่องขยะถูกป้อนเข้าเตาเผาด้วยระบบไฮโดรลิกอย่างอัตโนมัติด้วยอัตราการป้อน 100 ถึง 250 กิโลกรัมต่อชั่วโมงเตาเผาสร้างด้วยเหล็กกล้าหนา 5 มม. บุด้วยเส้นใยเซรามิกและอิฐทนไฟ เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 700 มม. สูง 3.10 เมตร เถ้าและแก๊สหลังการเผาไหม้ไหลออกทางด้านบนของเตาไปยังเครื่องกำจัดฝุ่น(ไซโคลน) ส่วนแก๊สเสียเสียเมื่อผ่านไซโคลนไปแล้วจะถูกจับด้วยน้ำและสารละลายในหอดูดกลืนแบบเปียก คุณภาพของแก๊สก่อนปล่อยสู่บรรยากาศได้ถูกตรวจวัด พบว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมทุกค่าของแก๊ส ปริมาณของแก๊สคาร์บอนมอนอกออกไซด์มีไม่เกิน 100 ส่วนในล้านส่วน ค่าดำเนินงานคิดเฉพาะไฟฟ้าและน้ำมันดีเซล ประมาณ 0.89 บาท ต่อการเผาขยะ 1 กิโลกรัม |
Other Abstract: | Cities and towns in Thailand are actually facing the problem overloading of solid waste. Different treatments are implemented such as landfill, recycle, decomposing and burning. People often protest against treatment methods chosen by government or metropolitans. They are afraid of smell and dust flowing in the win that may contaminate and infect their health. In this research work, we have developed fluidized bed incinerator to burn solid waste in condition of smokeless and smell-less. Garbage from Chulalongkorn University campus was feed continuously into this incinerator. lron and dry battery were separated by magnetic at the end of first bell conveyor and then glass, ceramic sand and brick were crashed by hammer mill and fell down to the bottom of bell separator. Remained solid waste was pushed into a hot sand bed by automatic hydraulic system with the rate 100 to 250 kg/hr. The incinerator was built of steel 5 mm in thickness lining with ceramic fiber and refractory brick with diameter 700 mm and total height 3.10 m. Flied ash and toxic gases from the combustion chamber were treated by cyclone and wet scrubber respectively. The quality of exhausted gases was detected and they were in the standard limit of the Ministry of Science Technology and Environment. The amount of CO did not exceed 100 ppm. The operation cost (electricity + fuel) was 0.89 Baht per kilogram of solid waste. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12352 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somsak_Da.pdf | 6.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.