Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1237
Title: การวิเคราะห์ประสิทธิผลและแนวทางการจ้างเหมาภาคเอกชนในงานบำรุงปกติงานทาง
Other Titles: Analysis of effectiveness and guideline for contracting out highway routine maintenance
Authors: ประพนธ์ ชินอุดมทรัพย์
Advisors: วิศณุ ทรัพย์สมพล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: กรมทางหลวง
ทางหลวง -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
ถนน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบความแตกต่างในด้านของ คุณภาพ เวลา และต้นทุนในการดำเนินงาน ระหว่าง่ภาครัฐดำเนินการเองและการจ้างเอกชนในงานบำรุงปกติงานทาง ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจ้างเอกชน และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจ้างสำหรับใช้ในงานบำรุงปกติ โดยศึกษาข้อมูลงานบำรุงปกติที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง และใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ภาครัฐและเอกชน เป็นวิธีการหลักในการเก็บข้อมูล การศึกษาแบ่งออกเป็นสามส่วน ส่วนแรกเป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลที่ได้รับ ระหว่างการดำเนินการเองและการจ้างเอกชนในด้านของ คุณภาพ เวลา และต้นทุน โดยการสอบถามความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจำนวน 50 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานของกรมทางหลวง ส่วนที่สองศึกษาปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการจ้างเอกชนรวมถึงข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการสอบถามความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจำนวน 50 ราย และผู้รับจ้างเอกชนจำนวน 31 ราย และส่วนสุดท้ายเป็นการพัฒนาแนวทางการปรับปรุงรูปแบบการจ้าง สำหรับใช้ในงานบำรุงปกติ โดยการสอบถามความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงจำนวน 64 ราย และผู้รับจ้างเอกชนจำนวน 53 ราย ผลการศึกษาพบว่า การจ้างเอกชนในงานบำรุงปกติจะให้คุณภาพที่ดีกว่า และช่วยประหยัดเวลาการปฏิบัติงานบำรุงรักษา ในส่วนของด้านต้นทุนนั้นเนื่องจากการดำเนินการเองและการจ้างเอกชน มีโครงสร้างของต้นทุนที่แตกต่างกัน จึงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่า การจ้างเอกชนสามารถประหยัดต้นทุนลงได้หรือไม่ โดยในการศึกษาได้เสนอแนวทางในการวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริงในการดำเนินการไว้ ในส่วนปัญหาอุปสรรคหลักที่พบในการจ้างเอกชนได้แก่ การที่งานบำรุงปกติเป็นเพียงการซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ ทำให้บางครั้งอาจหาผู้รับจ้างได้ยาก และระยะเวลาที่ผู้รับจ้างต้องรับประกันผลงานซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้ 2 ปีนั้น ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ในส่วนของแนวทางการพัฒนารูปแบบการจ้างสำหรับงานบำรุงปกตินั้น ได้ศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการคัดเลือกผู้รับจ้าง ด้านรูปแบบในการดำเนินงานบำรุงรักษา และด้านการประกันผลงาน สรุปประเด็นหลักได้ว่า ผู้ตอบส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการนำรูปแบบสัญญาจ้างระยะยาว มาใช้ในลักษณะของสัญญาราคาต่อหน่วย โดยมีระยะเวลาของสัญญาประมาณ 1 ปี และเห็นควรลดระยะเวลาประกันผลงานในงานบำรุงปกติให้เหลือ 1 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมความเสียหายจริง
Other Abstract: To evaluate the results from contracting out highway routine maintenance in terms of quality, time, and cost, and to address problems occurred during contracting out process. Moreover, guideline for improving roputine maintenance contract is recommended. the study used data from highway maintenance projects under the supervision of the Department of Highways (DOH). Questionnaire and interview are used as a major tool for collecting data from both public and private sectors who have experience in highway maintenance. This study is divided into three parts. The first part is the evaluation of the results from contracting out in terms of quality, time, and cost from the opinion of 50 senior engineers and maintenance data of the DOH. The second part is the assessment of problems in contracting out from the opinion of 50 senior engineers of the DOH and 31 routine maintenance contractors. The third part is the guideline for improving contracting out method which is suitable for the characteristic of routine maintenance. This guideline is based on the opinion of 64 senior engineers of the DOH and 53 maintenance contractors. The result of study shows that contracting out can enhance the quality of maintenance and reduce maintenance time. However, it cannot conclude that contracting out can reduce cost because the cost structure of maintenance by the DOH and contracting out are different. Nevertheless, this study presents the method for evaluating actual routine maintenance cost. Two main problems are found during the contracting out process. These are the difficult for the DOH to have a contractor in low-paid jobs and the warranty performance period (2 years) is not accord with the deterioration behavior. I n term of guideline for improving contract, this study addresses in procurement, maintenance, and warranty process. Most respondents agree with using unit price contract with logn term contract time (one year). In addition, most respondents also agree with reducting warranty period to one year according with the deterioration behavior of the road.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1237
ISBN: 9741708416
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Praphon.pdf13.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.