Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12416
Title: ผลของเทคนิคช่วยจำต่อการระลึกถึงภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์
Other Titles: The effect of mnemonic device on recall of television commercial
Authors: บุหงา ชัยสุวรรณ
Advisors: พนา ทองมีอาคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: โฆษณา
การระลึก (จิตวิทยา)
ความจำ
ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ เครื่องช่วยจำ (Mnemonic Devices) โดยเลือกเฉพาะในส่วนของภาพที่ไม่คาดคิดมาก่อนต่อการสร้างการระลึกถึงชิ้นงานและตราสินค้าของภาพยนตร์โฆษณา โดยอาศัยแนวคิดเรื่อง เครื่องช่วยจำ (Mnemonic Devices) ของ Higbee (1977) Francis (1981) และ Robert (1997) และทฤษฎี Flashbulb Memories ของ Brown และ Kulik (1977) มีสมมติฐาน ดังนี้ 1. โฆษณาทดลองที่ใช้ภาพ Mnemonic Devices จะทำให้ผู้เข้ารับการวิจัยเกิดการระลึกถึง ชิ้นงานโฆษณา ได้มากกว่าโฆษณาที่ตัดภาพ Mnemonic Devices ออกแล้ว ทั้งในการวัดระดับการระลึกเสรีและการระลึกตามตัวแนะ 2. โฆษณาทดลองที่ใช้ภาพ Mnemonic Devices จะทำให้ผู้เข้ารับการวิจัยเกิดการระลึกถึง ภาพของโฆษณา ได้มากกว่าโฆษณาที่ตัดภาพ Mnemonic Devices ออกแล้ว ทั้งในการวัดระดับการระลึกเสรีและการระลึกตามตัวแนะ 3. โฆษณาทดลองที่ใช้ภาพ Mnemonic Devices จะทำให้ผู้เข้ารับการวิจัยระลึกถึง ตรายี่ห้อสินค้าของโฆษณา ได้มากกว่าโฆษณาที่ตัดภาพ Mnemonic Devices ออกแล้ว ทั้งในการวัดระดับการระลึกเสรีและการระลึกตามตัวแนะ การศึกษากระทำโดยการทดลองกับผู้เข้ารับการทดลอง 40 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้ชมโฆษณาที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่ามีการใช้ภาพที่ไม่คาดคิดมาก่อน และกลุ่มผู้ที่ได้ชมโฆษณาเรื่องเดียวกันแต่ตัดภาพที่ไม่คาดคิดมาก่อนออก แล้วจัดให้ผู้เข้ารับการทดลองตอบแบบทดสอบเพื่อวัดความจำทั้งในส่วนการระลึกเสรีและการระลึกตามตัวแนะ การวิเคราะห์ผลการวิจัยทางสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างสัดส่วน (Chi-square) และสถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ย (t-test) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ กระนั้นก็ตามการวิจัยครั้งนี้มีผลให้เกิดการเรียนรู้ในแง่ของทฤษฎีเกี่ยวกับ Mnemonic Devices และยังไม่ควรสรุปว่า Mnemonic Devices ไม่มีผลต่อผลการระลึกถึงภาพยนตร์โฆษณาเสียเลยทีเดียว เนื่องจากยังมีข้อจำกัด คือ ภาพที่ไม่คาดคิดก่อนนั้นอาจมีระดับของความไม่คาดคิดมาก่อนไม่มากเพียงพอ ในการสร้างความแตกต่าง หรือทำให้เกิด Flashbulb Memories ได้ ปัญหาการสื่อสารต่างวัฒนธรรม ปัญหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มเป้าหมายของภาพยนตร์โฆษณาและกลุ่มตัวอย่าง และการวิจัยครั้งนี้ที่จัดให้ผู้เข้ารับการทดลองชมโฆษณาเพียงครั้งเดียว ในขณะที่ในชีวิตจริง ผู้ชมมักได้รับชมโฆษณาชิ้นนั้นๆ มากกว่า 1 ครั้ง ตลอดจนจำนวนกลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้ อาจจะไม่มากเพียงพอที่จะทำให้ยืนยันผลได้อย่างมั่นใจ ซึ่งควรมีการปรับปรุงข้อจำกัดนี้ในการวิจัยในอนาคต
Other Abstract: The purpose of this experimental research is to study the effect of Mnemonic Devices, in terms of unexpected visual, on advertising and brand recall. This study is based on the concepts of Mnemonic Devices as proposed by Higbee (1997), Francis (1981), and Robert (1997) and the Flashbulb Memories theory of Brown and Kulik (1977). The hypotheses are : 1. Television commercial with Mnemonic Devices will facilitate the recall of television commercial better than television commercial without Mnemonic Devices in terms of both free recall and cued recall. 2. Television commercial with Mnemonic Devices will facilitate the recall of scene in television commercial better than television commercial without Mnemonic Devices in terms of both free recall and cued recall. 3. Television commercial with Mnemonic Devices will facilitate the recall of the brand better than television commercial without Mnemonic Devices in terms of both free recall and cued recall. The study is conducted on a sample of 40 subjects which are randomly assignment into 2 experimental groups, a group exposing to examined television commercial (TVC) with unexpected visual as Mnemonic Devices, and another group exposing to the same TVC without unexpected visual. Each group then is arranged to answer the prepared questionnaires to measure their memories in terms of both free recall and cued recall. According to the Chi-squares and t-test statistical analysis, no significant differences are found. Nevertheless, this experimental research contribute better understanding to the theory of Mnemonic Devices. It should not be concluded that the Mnemonic Devices have no effect on TVC. The unexpected visual may not have sufficient unexpected level to such an extent that it can create differences or flashbulb memories. Inter cultural communication and differences among target TVC and groups are also undeniable problems. Moreover, subjects are arranged to expose to the target TVC just once while in reality they have seen them more than once. Furthermore, a number of subjects in each cell may be not large enough to generate the power of test needed to yield a significant differences. The study suggested that all of these limitations be improved in future research.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12416
ISBN: 9746383221
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bu-nga_Ch_front.pdf579.78 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_Ch_ch1.pdf548.27 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_Ch_ch2.pdf848.05 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_Ch_ch3.pdf441.08 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_Ch_ch4.pdf837.32 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_Ch_ch5.pdf717.04 kBAdobe PDFView/Open
Bu-nga_Ch_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.