Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12510
Title: การสังเคราะห์ลำดับกรดอะมิโนบางส่วนของฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด จากกุ้งก้ามกราม Macrobrachium rosenbergii เพื่อผลิตแอนติบอดีที่จำเพาะต่อฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
Other Titles: Synthesis of partial amino acid sequence of crustacean hyperglycemic hormone from Macrobrachium rosenbergii for antibody production against crustacean hyperglycemic hormone
Authors: นันทิกา ปานจันทร์
Advisors: อมร เพชรสม
ไพศาล สิทธิกรกุล
ธีรยุทธ วิไลวัลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
[email protected]
Subjects: กุ้งก้ามกราม
กรดอะมิโน
เปปไทด์
ฮอร์โมน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สังเคราะห์ลำดับกรดอะมิโนบางส่วนทางปลาย C ของฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดจากก้านตากุ้งก้ามกรามโดยวิธี solid phase peptide synthesis คือ เพปไทด์ YANAVQV-NH2 (T-) และ เพปไทด์ YANAVQTV-NH2 (T+) นำเพปไทด์เชื่อมกับโปรตีน BSA และใช้กระตุ้นให้หนูขาวสร้างแอนติบอดีต่อเพปไทด์ ตรวจหาไตเตอร์และคุณภาพของแอนติบอดีต่อเพปไทด์ทั้งสองโดยวิธี indirect immunoperoxidase ELISA และ dot-ELISA และใช้ซีรัมที่มีไตเตอร์สูงที่สุดตรวจหาฮอร์โมน ที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดในสารสกัดจากก้านตาที่แยกด้วยกระบวนการทาง RP-HPLC โดยวิธี dot-ELISA พบสารคล้ายเพปไทด์ T- และเพปไทด์ T+ ในแฟรคชันที่ 30 และ 38 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามจากการตรวจหาการออกฤทธิ์ ของฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด พบว่า แฟรคชันที่ 37-39 มีความสามารถในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดกุ้ง แต่แฟรคชันที่ 30 ไม่มีความสามารถในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดกุ้ง จากการใช้แอนติบอดีต่อเพปไทด์ทั้งสองเพื่อตรวจหาแหล่ง ที่พบฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดในก้านตาโดยวิธี immunocytochemistry พบว่า แอนติบอดีต่อเพปไทด์ T+ เท่านั้นที่มีการติดสีที่เซลส์ประสาทใน Medullu Terminalis Ganglionic X-Organ (MTGXO) จำนวน 24+-5 เซลล์ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางของเซลล์เท่ากับ 18+-3 ไมโครเมตร และที่เส้นใยประสาทที่ส่งไปยังต่อมไซนัส จากผลการทดลองครั้งนี้แสดงว่าเฉพาะแอนติบอดีต่อเพปไทด์ T+ เท่านั้นที่สามารถจับกับฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นลำดับกรดอะมิในของฮอร์โมนนี้น่าจะประกอบด้วยกรดอะมิโน 72 หน่วย โดยมีทรีโอนีนอยู่ในตำแหน่งที่ 71
Other Abstract: Heptapeptide (YANAVQV-NH2 = T-) and octapeptide (YANAVQTV-NH2 = T+), the putative C-terminal of crustacean hyperglycemic hormone (CHH) from the eyestalk of the giant freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii, were synthesized by solid phase peptide synthesis and conjugated to bovine serum albumin, then used to immunize swiss mice. The titer and quality of the anti-peptide antibodys were determined by indirect immunoperoxidase ELISA and dot-ELISA. The serum contain high titer of each antipeptide antibody was used to detect the presence of the natural CHH in the eyestalk extract after separated by one step RP-HPLC with Dot-ELISA. The immunoreactive substances were found in fraction 30 with anti T- antibody and in fraction 38 with anti T+ antibody. However, the CHH bioactivity was found in only fraction 37-39. Immunocytochemical localization using the anti T- antibody did not show any specific staining, but the anti T+ antibody revealed staining on a group of 24+-5 neurons with diameter 18+-3 um in Medulla Terminalis Ganglioic X-organ (MTGXO) and their processes leading to the sinus gland. These evidences show strong indication that the anti T+ antibody can bind to the natural CHH therefore this isoform of the CHH in M.rosenbergii consists of 72 residues and threonine is likely to be present at position 71.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12510
ISBN: 9743311149
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nanthika_Pa_front.pdf621.36 kBAdobe PDFView/Open
Nanthika_Pa_ch1.pdf989.53 kBAdobe PDFView/Open
Nanthika_Pa_ch2.pdf917.55 kBAdobe PDFView/Open
Nanthika_Pa_ch3.pdf986.44 kBAdobe PDFView/Open
Nanthika_Pa_ch4.pdf370.24 kBAdobe PDFView/Open
Nanthika_Pa_back.pdf564.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.