Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12565
Title: | การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของคนไทย กับกระบวนการทางสังคมประกิตของครอบครัวในปัจจุบัน ที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของคนไทย กับกระบวนการทางสังคมประกิตของครอบครัวในปัจจุบัน ที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ Study of pattern of relationships between contemporary behaviors of Thai people and socialization process of Thai families in relation to the development of the country |
Authors: | พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ธีระพร อุวรรณโณ เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ สุภาพรรณ โคตรจรัส คัคนางค์ มณีศรี พรรณระพี สุทธิวรรณ |
Email: | [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Subjects: | สังคมประกิต ครอบครัว -- ไทย พฤติกรรมมนุษย์ ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี ไทย -- ภาวะสังคม |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการการสังคมประกิตของครอบครัวกับพฤติกรรมคนไทยในภูมิภาคต่างๆ 2. เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการสังคมประกิตของครอบครัวกับพฤติกรรมทางสังคม พฤติกรรมทางการเมือง พฤติกรรมส่วนบุคคล พฤติกรรมต่อสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ 3. เพื่อสังเคราะห์รูปแบบกระบวนการสังคมประกิตของครอบครัวและนำเสนอรูปแบบของกระบวนการสังคมประกิตของครอบครัวที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปีที่ 6 คัดเลือกโดยการสุ่มหลายขั้นตอน จำนวน 2,535 คน จัดเข้าสู่รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูได้คือ แบบเอาใจใส่ แบบควบคุม แบบตามใจ 1,316 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้เครื่องมือที่พัฒนาโดยคณะผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิทางจิตวิทยา 6 คน จำนวน 7 ชุด แบบสำรวจการอบรมเลี้ยงดูพัฒนาตามทฤษฎีและผลการวิจัยของ Diana Baumrind การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของเซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อพฤติกรรมด้านต่างๆ ทุกพฤติกรรมทางบวกคือการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ และเป็นรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่ส่งผลต่อการพัฒนาประชากรที่ดีสำหรับการพัฒนาประเทศมากที่สุด |
Other Abstract: | The purposes of this study were 1. To study parenting styles of families in contemporary Thai society in different regions of Thailand. 2. To study relationships between parenting styles and Thai people’s behaviors. 3. To synthesize parents of parenting styles that lead to the development of the country. Participants were 2,535 students in Mathayomsueksa one and six from five different regions: Bangkok Metropolis, Central, Northern, Sounthern, and Northeastern regions. Only 1,316 subjects were recruited and arranged into 4 Baumrind parenting styles ; authoritative, authoritarian, permissive, and neglectful. Data were collected by 7 instruments developed by the research team members and 6 senior psychologists. Then data were analyzed by the two-way ANOVA and the post hoc multiple comparision procedure, the Scheffe test. The major findings are as follows: 1. There are significant differences in parenting styles in every behaviors. The authoritative parenting style contributes positively to all five behaviors : social, political, self-directed, environmental, and economical. 2. The authoritative parenting style is the best parenting style that leads to good citizenship for the development of the country. |
Description: | ความหมายของกระบวนการสังคมประกิตของครอบครัวไทย : การอบรมเลี้ยงดู -- แนวคิดทฤษฎีและการวิจัยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดู -- ความหมายของพฤติกรรมคนไทยและตัวกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ -- แนวคิดทฤษฎีและงานวิจจัยเกี่ยวกับผลของการอบรมเลี้ยงดู ที่มีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12565 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Psy - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Puntip_Behav.pdf | 31.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.