Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12785
Title: ผลของการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมพยาบาลประจำการ ด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยต่อคุณภาพบริการพยาบาลผ่าตัด
Other Titles: The effect of using staff nurse training program regarding patient advocacy on perioperative nursing quality
Authors: ศรีสุรางค์ แสงแก้ว
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: บริการการพยาบาล
บริการการพยาบาล -- การควบคุมคุณภาพ
การพยาบาลศัลยศาสตร์
สิทธิผู้ป่วย
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบคุณภาพบริการพยาบาลผ่าตัดด้านความพึงพอใจ ของผู้ป่วยต่อการบริการพยาบาลและด้านพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมพยาบาลประจำการ ด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดจาก ห้องผ่าตัดออร์โธปิดิกส์จำนวนทั้งหมด 90 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ และจัดกลุ่มด้วยวิธีจับคู่ และพยาบาลประจำการผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกอบรมพยาบาลประจำการด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย แบบสอบถามความถึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการพยาบาล และแบบวัดพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสอบถามพฤติกรรมตามการรายงานของตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการหาค่าความเที่ยงแล้ว ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพบริการพยาบาลผ่าตัดด้านความพึงพอใจของผู้ป่วย ต่อการบริการพยาบาลหลังการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมพยาบาลประจำการ ด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คุณภาพบริการพยาบาลผ่าตัดด้านพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย หลังการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมพยาบาลประจำการ สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To compare the perioperative nursing quality regarding patient satisfaction with nursing care and nursing behaviors related to patient advocacy before and after receiving the staff nurse training program regarding patient advocacy. Research subject composed of 90 orthopedic patients which were selected by the setted criteria and equally by divided into 3 groups by matched pair technique, and 20 perioperative nurses from the orthopedic operating room, Police General Hospital. Research instruments developed by the researcher, were the staff nurse training program regarding patient advocacy, a patient satisfaction of nursing service questionnaire and a tool designed to measure staff nurses' nursing behaviors regarding patient advocacy. The latter tool divided into 2 parts which were an observation checklist and a self reported questionnaire which were tested for their content validity and internal reliability. The major findings of the study included: 1. The quality of perioperative nursing concerning patients' satisfaction with nursing care after using staff nurse training program regarding patient advocacy was significantly higher than that before using this training program, at the .05 level. 2. The quality of perioperative nursing behaviors related to patients advocacy after using the staff nurse training program was significantly higher than that before using this training program, at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12785
ISBN: 9743348115
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisurang_Sa_front.pdf325.07 kBAdobe PDFView/Open
Srisurang_Sa_ch1.pdf495.64 kBAdobe PDFView/Open
Srisurang_Sa_ch2.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Srisurang_Sa_ch3.pdf682.77 kBAdobe PDFView/Open
Srisurang_Sa_ch4.pdf482.09 kBAdobe PDFView/Open
Srisurang_Sa_ch5.pdf441.74 kBAdobe PDFView/Open
Srisurang_Sa_back.pdf497.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.