Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12950
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรศักดิ์ ศิริไพบูลย์สินธ์-
dc.contributor.authorฉัตรฆฤณ พิชัยกมลฉัตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialนนทบุรี-
dc.date.accessioned2010-06-22T01:32:24Z-
dc.date.available2010-06-22T01:32:24Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12950-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพและวิเคราะห์กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนนทบุรี ที่มีผลต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ตามแนวเหตุผลในการสร้างดัชนีชี้วัด และนำมาวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคการถ่วงน้ำหนัก จะสามารถประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวได้ วิธีดำเนินการวิจัย เริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนนทบุรี ขอความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวทั่วไป ถึงความต้องการที่จะเดินทางไปเยี่ยมชมยังแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนนทบุรีจากแบบสอบถาม เพื่อคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมเลือกไปท่องเที่ยวมากที่สุด จากนั้นผู้วิจัยได้สร้างเกณฑ์ดัชนีชี้วัดด้านการท่องเที่ยว และขอความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว ในการประเมินค่าน้ำหนักของดัชนีชี้วัดด้านการท่องเที่ยวทั้ง 8 ตัว เพื่อนำมาเป็นค่ามาตรฐาน ในการถ่วงน้ำหนักกับการออกภาคสนาม จากนั้นประเมินค่าคะแนนปัจจัยย่อยทั้ง 46 ตัว โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยในการหาค่าระดับเพื่อการประเมินศักยภาพและการวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนนทบุรี ผลการวิเคราะห์ค่าระดับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนนทบุรี พบว่า กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง มีค่าระดับอยู่ระหว่าง 58.75-51.04 จำนวน 9 แห่ง กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพปานกลาง มีค่าระดับอยู่ระหว่าง 51.03–43.32 จำนวน 6 แห่ง และกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพต่ำ มีค่าระดับอยู่ระหว่าง 43.31–35.60 จำนวน 5 แห่ง จากการคัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวมาทำการประเมินทั้งหมด 20 แห่ง เมื่อประเมินศักยภาพและวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวแล้วนั้น พบว่า กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงจะมีความปลอดภัยสูง เข้าถึงได้อย่างสะดวก มีจุดบกพร่องด้านการท่องเที่ยวเล็กน้อย กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพปานกลาง มีความสำคัญและคุณค่าไม่มากนัก มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวในระดับปานกลาง กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพต่ำ เข้าถึงลำบาก ความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ต่ำen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the research is to evaluate and analyze the potential of tourist attractions in Changwat Nonthaburi which will help to develop the tourism in the area. The research is used indexes in company with weighted average technique to assess the potential of tourist attractions. The study starts with gathering the primary information by using the questionnaires to seek for the most popular places for tourists. In order to discover the most popular places, the researcher has set up 8 indexes criteria for measuring potential of attraction spots according to the recommendation from expertise together with visiting to the actual places to assess the entire 46 sub factors index in Nontaburi area. Consequently, nine places out of twenty places have high potential of attraction spot’s index which is between 58.75–51.04. While, six places have medium potential index, between 51.03–43.32. Five places have lowest potential index, between 43.31–35.06. The highest potential places are having the most security, easiest to access and least flaws to serve the visitors. The medium potential spots have less valuable, not adequate service provided to tourists. The least potential places are hard to access, not having full serviced to tourists.en
dc.format.extent4882299 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.637-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการท่องเที่ยวen
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- นนทบุรีen
dc.titleการประเมินศักยภาพและการวิเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดนนทบุรีen
dc.title.alternativeEvaluation and analysis of the potential of tourist attractions in Changwat Nonthaburien
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภูมิศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.637-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatkharin_pi.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.