Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13119
Title: | การแสวงหาข่าวสารในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและระดับความรู้สึกมั่นคงในอาชีพของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทย |
Other Titles: | Information seeking during the economic crisis and job security of employees in the Thai and the foreign commercial banks |
Authors: | จิราภรณ์ ถิรปัญญาเลิศ |
Advisors: | อัญชลี ลีสวรรค์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความมั่นคงในการทำงาน ธนาคารพาณิชย์ พนักงานธนาคาร การสื่อสารในองค์การ การเปิดรับข่าวสาร |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบรูปแบบการสื่อสารในองค์การของธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทย 2) ศึกษาความพึงพอใจในการสื่อสารของพนักงานธนาคารที่สังกัดประเภทธนาคาร (ธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทย) ลักษณะทางประชากร สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน 3) ศึกษาการแสวงหาข่าวสารเกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของพนักงานธนาคารที่สังกัดประเภทธนาคาร (ธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทย) ลักษณะทางประชากร สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน 4) ศึกษาระดับความรู้สึกมั่นคงในอาชีพของพนักงานธนาคารที่สังกัดประเภทธนาคาร (ธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทย) ลักษณะทางประชากร สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน 5) เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารในองค์การของธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทยกับความพึงพอใจในการสื่อสารของพนักงานธนาคารทั้งสองประเภท 6) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสารเกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทยกับความพึงพอใจในการสื่อสารของพนักงานธนาคารทั้งสองประเภท 7) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาข่าวสารเกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทยกับระดับความรู้สึกมั่นคงในอาชีพของพนักงานธนาคารทั้งสองประเภท กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น 409 คน ประกอบไปด้วยพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย 204 คน และธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ 205 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t-test และ One Way ANOVA และหาค่าสหสัมพันธ์โดยใช้ Pearson's Product Moment Correlation และทำการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยว่า 1) รูปแบบการสื่อสารในองค์การของธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทยโดยภาพรวมแตกต่างกันโดยที่ธนาคารพาณิชย์ไทยมีรูปแบบการสื่อสารในองค์การดีกว่าธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทย 2) ประเภทธนาคารที่สังกัด เพศตำแหน่งและรายได้ของพนักงานธนาคารที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความพึงพอใจในการสื่อสารแตกต่างกันแต่อายุ การศึกษาและระยะเวลาในการทำงานของพนักงานธนาคารที่แตกต่างกันไม่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการสื่อสารต่างกัน 3) เพศ อายุ การศึกษา รายได้และตำแหน่งงานของพนักงานธนาคารที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดการแสวงหาข่าว สารเกี่ยวกับภาวะวิกฤตแตกต่างกัน แต่ประเภทธนาคารที่สังกัดและระยะเวลาในการทำงานของพนักงานธนาคารที่แตกต่างกันไม่ทำให้เกิดการแสวงหาข่าวสารทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน สำหรับเพศ อายุ การศึกษา รายได้และตำแหน่งงานของพนักงานธนาคารที่แตกต่างกันจะทำให้พนักงานมีการเลือกใช้สื่อแตกต่างกัน ประเภทธนาคารที่สังกัดและระยะเวลาในการทำงานของพนักงานธนาคารที่แตกต่างกันไม่ทำให้พนักงานมีการเลือกใช้สื่อแตกต่างกัน 4) การศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน ตำแหน่ง และรายได้ของพนักงานธนาคารที่แตกต่างกันทำให้พนักงานธนาคารมีความรู้สึกมั่นคงในอาชีพแตกต่างกัน แต่ประเภทธนาคารที่สังกัด เพศ และอายุของพนักงานธนาคารที่แตกต่างกันไม่ทำให้ระดับความรู้สึกมั่นคงในอาชีพแตกต่างกัน 5) รูปแบบการสื่อสารในองค์การของธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชยต่างชาติในไทยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการสื่อสารของพนักงานทั้งสองประเภท 6) การแสวงหาข่าวสารเกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจใจการสื่อสาร 7) การแสวงหาข่าวเกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างชาติในไทยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความรู้สึกมั่นคงในอาชีพ |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) a comparison of organizational communication patterns of the Thai and the foreign commercial banks. 2) an investigation of communication satisfaction of bank employees by bank types (the Thai and the foreign commercial banks), demographic characteristics and socioeconomic status. 3)an investigation of information seeking during the economic crisis of bank employees by bank types (the Thai and the foreign commercial banks), demographic characteristics and socioeconomic status. 4) an investigation of job security of bank employees by bank types (the Thai and the foreign commercial banks), demographic characteristics and socioeconomic status. 5) an investigation of the correlation between the organizational communication patterns and communication satisfaction of employees in the Thai and the foreign commercial banks. 6) an investigation of the correlation between information seeking during the economic crisis and communication satisfaction of employees in the Thai and the foreign commercial banks. 7) an investigation of the correlation between information seeking during the economic crisis and job security of employees in the Thai and the foreign commercial banks. This study utilized a survey research. A sample size of 409 bank employees was employed : 204 were from the Thai and 205 from the foreign commercial banks. The percentage, mean, t-test, one way ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient were used to analyze the data. Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) Programme was undertaken for data processing. The results of the research found: 1) There was a significant difference between the Thai and the foreign commercial banks' organizational communication patterns : those of the Thai commercial banks were more effective than the foreign commercial banks. 2) The differences of bank types, gender, work position and income of banks employees except age, education and work experience affected their communication satisfaction. 3) The differences of gender, age, education, income and work position except bank types and work experience affected their information seeking. The differences of gender, age, education, income and work position except bank types and work experience affected their media exposure. 4) The differences of education, work experience, work position and income except bank types, gender and age affected their job security. 5) There was a positively correlation between the organizational communication patterns and communication satisfaction of the employees in both bank types. 6) Information seeking during the economics crisis was positively correlated with communication satisfaction of employees in the Thai and the foreign commercial banks. 7) Information seeking during the economics crisis was positively correlated with job security of employees in the Thai and the foreign commercial banks |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13119 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.359 |
ISBN: | 9743348883 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.359 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jiraporn_Th.pdf | 12.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.