Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13252
Title: การผลิตบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Production of packaging from bagasse
Authors: วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
Email: [email protected]
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: บรรจุภัณฑ์
การบรรจุหีบห่อ
ชานอ้อย -- การนำกลับมาใช้ใหม่
ของเสียทางการเกษตร -- การนำกลับมาใช้ใหม่
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชานอ้อยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหลือใช้จากอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งจะใช้ประโยชน์เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้ ในงานวิจัยนี้ได้นำชานอ้อยมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ในงานวิจัยได้ให้ความสนใจกระบวนการผลิตใหม่ๆ ของการผลิตบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยซึ่งเส้นใยของชานอ้อยและพลาสติไซเซอร์มีคุณสมบัติที่ให้ความแข็งแรงและป้องกันน้ำได้ดี นอกจากคุณสมบัตินี้แล้วยังมีคุณสมบัติอื่นๆ อีกนั้นก็คือ สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติและยังสามารถป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจนได้ ซึ่งจะใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุผลไม้ จากการทดลองเพื่อหากระบวนการและอัตราส่วนที่ดีที่สุดเพื่อใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ซึ่งมีกระบวนการผลิตดังต่อไปนี้ น้ำ 60 กรัม ผสม PVA 10 กรัม ภายใต้อุณหภูมิ 100ํC ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 10 นาที นำชานอ้อยมาผสมกับพลาสติไซเซอร์ จากนั้นนำไปอบที่อุณหภูมิ130ํC ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 150 นาที จากนั้นนำบรรจุภัณฑ์มาเคลือบด้วย PVA แล้วนำไปอบอีกครั้ง คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของบรรจุภัณฑ์นี้สามารถยืดอายุมังคุดได้ 16 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับมังคุดในสภาวะปกติที่ใช้เวลา 8 วัน ดังนั้นจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้บรรจุภัณฑ์นี้ใส่ผลไม้เพื่อการส่งออก
Other Abstract: Bagasse is abundant waste product from manufacturing of sugar, bagasse could be useful source of biodegradable packaging. In this research paper we can produce of packaging from bagasse. We focused new process on product packaging from bagasse. Bagasse fiber and plasticizer have formed an excellent composition with a unique mechanical properties as strength, water resistant, biodegradable and can also protect oxygen penetration to the packaging composite material which can prolong shelf life of fruits. In the result, the best ratio to produce the packaging from bagasse were 60 g water, PVA10 g and heated to the temperature of 100ํC for 10 minutes. After that mixed with bagasse and poured to the mixture into the mold. The finished products were heated to the temperature of 130ํC for 150 minutes. Then surface coating the product with PVA and further heating the product in the oven again at the temperature of 130ํC for 150 minutes. The most important properties of this packaging could shelf life of mangosteen for 16 days as compared to mangosteen in normal condition of only 8 days therefore can use this packaging to pack fruits for export purpose.
Description: หัวหน้าโครงการ: ศิริกัลยา สุวจิตตานนท์ ; รองหัวหน้าโครงการ: ณัฐพร โทณานนฑ์ ; ผู้ร่วมวิจัย: ปรีชา แสงธีระปิติกุล ; ผู้ช่วยวิจัย: พงศ์วุฒิ วิทยาภินันท์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13252
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiwut_Bagasse.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.