Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13256
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ | - |
dc.contributor.author | วราภณ วงศ์ถาวราวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | ธีระ วัชรปรีชานนท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-08-18T10:54:20Z | - |
dc.date.available | 2010-08-18T10:54:20Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13256 | - |
dc.description.abstract | โรคเบาหวานที่พบคณะตั้งครรภ์ มีความเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารก กลไกการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินออกมาได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ร่วมกับการที่ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลินมากขึ้นขณะตั้งครรภ์ การวินิจฉัยโรคเบาหวานที่พบขณะตั้งครรภ์ในปัจจุบัน อาศัยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังการทำ oral glucose tolerance test (OGTT) การศึกษานี้ ต้องการศึกษาว่าการประเมินภาวะดื้ออินซูลิน โดยการตรวจระดับน้ำตาลและระดับอินซูลินในเลือดในช่วงอดอาหารและคำนวณภาวะดื้ออินซูลิน และการตรวจระดับไขมันในเลือดสามารถใช้พยากรณ์ผลของการตั้งครรภ์ต่อมารดาและทารกได้หรือไม่ ทั้งในหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และหญิงตั้งครรภ์ปกติ หญิงตั้งครรภ์จำนวน 538 ราย ได้รับการทำ OGTT และตรวจพบเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จำนวน 172 ราย (32.0%) กลุ่มที่เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลที่ตั้งต้น 1, 2 และ 3 ชั่วโมง ระดับอินซูลิน การคำนวณภาวะดื้ออินซูลิน โดยวิธี HOMA1IR, HOMA2IR และ QUICKI สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นอย่างมีนัยสำคัญ การประเมินการทำงานของเบต้าเซลล์ของตับอ่อนโดยวิธี HOMA%B ระดับไตรกลีเซอไรด์และสัดส่วนไตรกลีเซอไรด์ต่อ HDL cholesterol สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นอย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบผลของการตั้งครรภ์ต่อมารดาและทารก พบว่ากลุ่มที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีอัตราผ่าคลอดทางหน้าท้อง และเกิด placental previa มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เป็นเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับภาวะแทรกซ้อนของทารก พบโอกาสเกิด hypoglycemia มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับภาวะ macrosomia พบมีมากกว่าแต่ยังไม่ถึงนัยสำคัญ (P=0.06) เมื่อนำภาวะดื้ออินซูลิน คำนวณโดยวิธี HOMA1IR มาแบ่งหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดตาม quartile พบว่า quartile ที่มีภาวะดื้ออินซูลินสูงที่สุด มีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และการเกิด preeclampsia มากกว่ากลุ่ม quartile ที่มีภาวะดื้ออินซูลินต่ำที่สุดอย่างมีนัยสำคัญและทารกที่เกิดจากมารดาที่มีค่า HOMA1IR ใน quartile ที่ดื้ออินซูลินสูงที่สุดมีความเสี่ยงของการเกิด macrosomnia มากกว่าทารกทีเกิดจากมารดาที่มีค่า HOMA1IR ใน quartile ต่ำกว่าด้วย เมื่อนำค่า HOMA1IR เฉพาะในหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาแบ่งเป็น quartile พบว่าความเสี่ยงของมารดาต่อการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และความเสี่ยงของการเกิด mild preeclampsia แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ พบว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่มีค่า HOMA1IR ใน quartile ที่ดื้ออินซูลินสูงที่สุด มีความเสี่ยงต่อการเกิด hypoglycemia มากกว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่มีค่า HOMAlIR ใน quartile ต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญด้วย การประเมินภาวะดื้ออินซูลิน คำนวณโดยวิธี HOMA1IR เป็นวิธีใหม่ที่สามารถใช้ในการพยากรณ์ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ต่อมารดาและทารกได้ เพิ่มเติมจากการจำแนกโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เพียงอย่างเดียว | en |
dc.description.abstractalternative | Gestational diabetes mellitus (GDM) is associated with adverse outcomes during pregnancy. The pathogenesis of GDM involves defect in insulin secretion and increase in insulin resistance. Nowadays, the diagnosis of GDM relies upon plasma glucose levels after performing an oral glucose tolerance test (OGTT). This study was aimed to examine insulin resistance and beta cell function, derived from fasting plasma glucose and insulin levels, and lipid levels in pregnant women and to investigate whether any of these parameters can be used to predict adverse maternal and fetal outcomes in those with and without GDM. Five hundred thirty eight pregnant women underwent OGTT and 172 (32.0%) of these were found to have GDM. Those with GDM had significantly higher levels of fasting plasma glucose, 1 hr-, 2hr-, and 3 hr- plasma glucose, fasting plasma insulin, and indices of insulin resistance calculated using HOMA1IR, HOMA2IR, and QUICKI compared to those without GDM. In addition, beta cell function assessed by HOMA%B, fasting triglyceride levels and the ratio of triglyceride/HDL cholesterol levels were also significantly higher in the GDM group. Women with GDM diagnosed by OGTT had significantly higher rate of cesarean section and placenta previa. Moreover, infant born from women with GDM had significantly higher rate of hypoglycemia. The risk of macrosomia was higher but didn’t reach statistical significance (P=0.06). When using HOMAlIR to classify all pregnant women into four quartiles, it was found that women in the highest quartile of HOMAlIR, which indicated highest insulin resistance, had significantly higher rates of cesarean section and mild preeclampsia than those in the lowest quartile. Infants born from the women in the highest quartile of HOMAlIR also had a higher rate of macrosomia. Similarly, when using HOMAlIR to classify only pregnant women with GDM, women in the highest quartile of HOMAlIR had significantly higher rates of cesarean section and mild preeclampsia than those in the lowest quartile. Infants born from women in the highest quartile of HOMAlIR also had a higher rate of hypoglycemia. In conclusion, assessment of insulin resistance using HOMAlIR is a novel tool in predicting adverse pregnancy outcomes in both mother and infant, in all pregnant women and in those with GDM. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2549 | en |
dc.format.extent | 3136493 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | สาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การดื้ออินสุลิน | en |
dc.subject | เบาหวานในสตรีมีครรภ์ | en |
dc.title | การประเมินภาวะดื้ออินซูลิน การทำงานของเบต้าเซลล์ของตับอ่อน และระดับไขมันในเลือด ในหญิงมีครรภ์ปกติและหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพื่อทำนายผลของการตั้งครรภ์ต่อมารดาและทารก : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Assessment of insulin resistance, beta cell function, and lipid levels in normal pregnant women and women with gestational diabetes mellitus to predict maternal and fetal outcomes | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | [email protected] | - |
dc.email.author | [email protected] | - |
dc.email.author | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weerapan_Insulin.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.