Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13499
Title: การตรวจสอบสภาพอาคารด้านสถาปัตยกรรม ตามกฎหมายควบคุมอาคาร : กรณีศึกษา อาคารโรงพยาบาล
Other Titles: Building inspection of architectural aspects for building safety : case hospital
Authors: ธีระเดช ปลื้มใจ
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
อวยชัย วุฒิโฆสิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การป้องกันอัคคีภัย
โรงพยาบาล -- อัคคีภัยและการป้องกันอัคคีภัย
อาคารโรงพยาบาล
อาคาร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฉบับที่ 3 พ.ศ. 2543 กำหนดให้เจ้าของอาคารบางประเภทจัดให้มีผู้ตรวจสอบสภาพอาคารด้านวิศวกรรม และด้านสถาปัตยกรรม เพื่อทำการตรวจสอบสภาพอาคารที่จำเป็นต่อการป้องกันภยันตรายต่างๆ โดยรวมถึงการป้องกันอัคคีภัยและความปลอดภัยด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม อาคารโรงพยาบาล ถึงแม้จะไม่อยู่ในอาคารที่ต้องมีการตรวจสอบ แต่โรงพยาบาลในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นอาคารโรงพยาบาลจึงเข้าข่ายอาคารที่ต้องตรวจสอบ แต่ยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบที่ชัดเจน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเลือกเป็นกรณีศึกษา การวิจัยนี้ดำเนินการโดยศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้แก่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอัคคีภัย กฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขอบเขตงานด้านสถาปัตยกรรม หลักการตรวจความปลอดภัย ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานตรวจอาคารเพื่อการป้องกันและระงับอัคคีภัยและสุขอนามัย สิ่งแวดล้อมจากกรณีศึกษา อาคารโรงพยาบาลจำนวน 6 โรงพยาบาล รวมถึงข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อสรุปและเสนอแนะหลักเกณฑ์สำคัญในการตรวจสอบอาคารโรงพยาบาล และสร้างตัวอย่างแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลการตรวจตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้การรายงานผลการตรวจสอบจะเป็นการรายงานตามสภาพความเป็นจริงของอาคาร โดยไม่ประเมินเป็นระดับคะแนนความปลอดภัยของอาคาร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า อาคารโรงพยาบาลที่เป็นอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษนั้นต้องมีการตรวจสอบตามกฎหมายตรวจสอบอาคาร แต่อาคารโรงพยาบาลต้องมีการเน้นการตรวจสอบระบบประกอบอาคารซึ่งมีผลต่อสุขอนามัย สิ่งแวดล้อมในอาคาร ซึ่งในแต่ละพื้นที่ของอาคารโรงพยาบาลที่ประกอบไปด้วย ส่วนให้บริการด้านการแพทย์ ส่วนพื้นที่ทางสัญจรหลัก พื้นที่แกนบริการ พื้นที่พิเศษ พื้นที่ภายนอกอาคาร ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความต้องการการป้องกันและระงับอัคคีภัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของพื้นที่และประเภทของผู้ใช้อาคาร ดังนั้นการตรวจสอบสภาพอาคารต้องตรวจสอบทุกพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยจำแนกประเภทพื้นที่ได้ตามลักษณะการใช้พื้นที่ การตรวจสอบแต่ละพื้นที่ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญของความปลอดภัยจากอัคคีภัยและสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม โดยตรวจองค์ประกอบของอาคารเฉพาะที่เป็นงานด้านสถาปัตยกรรมสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการตรวจสอบคือ ความปลอดภัยในด้านสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยในการใช้อาคารทั้งจากบุคคลภายนอกและบุคลากรในโรงพยาบาล และแผนการอพยพเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย นอกจากนั้น ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่า การดำเนินการกิจการโรงพยาบาลส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอาคารหลังเดียว แต่มีหลายๆอาคารรวมใช้งานต่อเนื่องในพื้นที่เดียวกัน ดังนั้นการตรวจอาคารต้องมีการตรวจทุกหลังไม่ตรวจเฉพาะอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และการตรวจนั้นต้องคำนึงถึงระบบประกอบอาคารที่มีผลต่อสุขอนามัย สิ่งแวดล้อม รวมกับการตรวจเกี่ยวกับแผนการอพยพในกรณีที่เกิดเหตุที่ต้องมีการอพยพผู้ใช้ทุกประเภท
Other Abstract: According to Issue 3 of the 2000 Building Control Act, some building owners have to have their buildings inspected in terms of engineering and architecture to ensure safety against potential hazards including fire and to ensure hygienic and environmental safety. Although hospitals are not on the list of buildings to be inspected, at present, most of them have to be inspected according to the law because some are classified as tall buildings and some are classified as extra-large buildings. Up to now, there have not been any objective criteria for hospital inspection. As a result, hospitals are chosen as a case study in this research. The research was conducted by studying related principles and theories such as basic understanding about fire, related laws and standards, scope of architectural work, criteria of safety inspection, hygienic and environmental safety and compiling the actual safety inspection reports of 6 hospitals in the aspects of fire safety, hygienic and environmental safety. Interviews of authorities in this field were also included. After analyzing the data, conclusions and suggestions were made. A model form to record the information obtained from the inspection was proposed. The inspection report was in a descriptive format based on the factual evidence without carrying out an evaluation of building safety by using rating scales. It was found that hospitals have to be inspected according to the law but they would like to focus on building structures which affect building hygiene and environment. Each area of the hospital building covering the medical services area, main walkways, core services area, special area and exterior area require different inspection criteria depending on the nature of the area and the users. As a result, the hospital building inspection has to be carried out thoroughly both for the interior and the exterior areas of the building. Each area has to be inspected in the aspects of fire, hygiene and environment according to architectural inspection. Hygienic safety, environmental safety, building use by outsiders and hospital personnel and evacuation plans during fire should be the main concerns. It is noted that most hospital activities are not conducted in one building but in many buildings; as a result, the inspection has to be carried out in every building concerned. In addition, the inspection has to concentrate on the building structure affecting hygiene, environment and evacuation plans during fire.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13499
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1720
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1720
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Theeradech_pl.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.