Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13501
Title: | การจัดการเรียนการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : กรณีศึกษารายวิชาปฏิบัติการออกแบบ รหัส 2501117 |
Other Titles: | Interactive learning via Internet : a case study of Studio in Design (2501117) |
Authors: | สุวภัทร ศรีกัสสป |
Advisors: | ปรีชญา สิทธิพันธุ์ ธิดาสิริ ภัทรากาญจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | การเรียนการสอนผ่านเว็บ การออกแบบ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ยุคปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์และยุคสารสนเทศไร้พรมแดนเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในภาคธุรกิจและในภาคการศึกษา และเริ่มเข้ามาสู่สถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษา การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้มีประโยชน์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น การผสมผสานระหว่างการสอนแบบออนไลน์และการสอนแบบเดิมที่เรียนในห้องเรียนจริง จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการสอนในห้องเรียนจริงเพียงอย่างเดียว การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน สามารถใช้เพื่อการทบทวนบทเรียน (Tutor) เป็นเครื่องมือ (Tool applications) และใช้เป็นเครื่องฝึกฝน ซึ่งมีการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนกลับเข้าไปได้ทันที เป็นการช่วยเสริมแรงและเพิ่มประสิทธิภาพการสอนการรับรู้ของผู้เรียน เป็นระบบการเรียนการสอนที่มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active learning) เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนเป็นผู้คิดตัดสินใจ โดยสร้างความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุมการเรียนทุกรูปแบบ ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมการเรียนการสอนภาคทฤษฎีมีความสำคัญ และจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนการสอนและการสื่อให้ผู้เรียนรับรู้เข้าใจในเนื้อหานั้นๆ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในภาคปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด การบรรยายด้วยสื่อต่างๆ ภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากปัจจัยด้านความแตกต่างในการเรียนรู้ ระยะเวลาการเรียนการสอน ขาดทักษะในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศส่งผลให้ไม่เข้าใจในบทเรียน การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะเป็นสื่อจำลองสถานการณ์ การจัดการเรียนการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเน้นการพัฒนาให้เป็นสื่อเสริมเพิ่มเติมหรือเป็นเว็บสนับสนุนรายวิชา สำหรับรายวิชาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยให้มีการโต้ตอบระหว่าง ผู้เรียนกับบทเรียน และผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่งพิจารณาเลือกรายวิชาปฏิบัติการออกแบบเบื้องต้น ผลของการวิจัยการจัดการเรียนการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนี้ จะช่วยส่งเสริมกระตุ้นการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงและเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกทั้งยังสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นต่อไป |
Other Abstract: | Since we are living in an era of globalization and information technology across borders, the Internet plays an important role in business and education. It has been introduced to educational institutions in Thailand especially at the tertiary level. This information technology helps reduce expenditure and increase the effectiveness of teaching. The combination of on-line teaching and traditional teaching can be more effective than solely traditional teaching. The computer is a medium of teaching through the Internet. The computer can be a tutor, tool application and a means for educational drill. It can give the students instant feedback and can effectively reinforce the students’ learning. Online teaching is active learning focusing on the students. The students accumulate new knowledge and understanding by themselves and can relate the learning process to every aspect of real life. In architecture, teaching theories is important and depends on the teaching process and communicative means so that the architecture students can thoroughly understand those theories. As a result, the students can really put the theories into practice. Only in-class lectures with other teaching aids may not be enough due to the students’ styles of learning, the length of teaching and the lack of means to search for needed information while studying in class. The computer can create a simulation for students and interactive teaching and learning through the internet can be a supplementary teaching aid. As for the subjects in the Faculty of Architecture which consist of both theory and practice, the students have to interact with the lessons and the instructors. This research chose Studio in Design 1 as a case study. It was found that this kind of teaching and learning stimulated the students’ interest; as a result, they could understand the lessons clearly and quickly. They could learn better through this interactive learning. In addition, interactive teaching and learning can be applied with other subjects. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13501 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1722 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1722 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwapat_sr.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.