Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13598
Title: | การรับรู้และการตีความความหมายของเด็กประถมวัยเกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศในรายการโทรทัศน์ |
Other Titles: | Children's percepption and interpretation of sexual expression in television programs |
Authors: | อาศยา ศิริเอาทารย์ |
Advisors: | กิตติ กันภัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การรับรู้ในเด็ก รายการโทรทัศน์ จิตวิทยาทางเพศ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการรับรู้และการตีความความหมายของเด็กประถมวัย เกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศในรายการโทรทัศน์ รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้และการตีความความหมายของเด็กประถมวัย เกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศในรายการโทรทัศน์ ด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม โดยอาศัยทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการทางเพศของเด็ก แนวคิดเกี่ยวกับจิตวิทยาการรับสาร และแนวคิดเกี่ยวกับเพศ ผลการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กประถมวัยเพศ ชาย และเพศหญิง ในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ชั้นปีที่ 5 และชั้นปีที่ 6 ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ และโรงเรียนเลิศพัฒนาศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งเพศชายและเพศหญิงมีการเลือกเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ในช่วงเวลาเย็น เฉลี่ยวันละ 3-4 ชั่วโมง ซึ่งรายการที่มีการเปิดรับชมมากที่สุด ได้แก่ ละคร และการ์ตูน และกิจกรรมที่ทำเป็นประจำในขณะเปิดรับชมสื่อโทรทัศน์คือ การรับประทานอาหาร จึงทำให้พ่อ-แม่หรือผู้ปกครองมีโอกาสให้คำแนะนำแก่เด็กหากพบว่า มีภาพพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศที่ไม่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้และการตีความความหมายของเด็กประถมวัย เกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศในรายการโทรทัศน์คือ เพศ อายุ และประเภทของโรงเรียน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเด็กประถมวัยมีการรับรู้และการตีความความหมายเกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศในมิติของ “เพศสรีระ” ได้เหมือนกันหมด แต่จะมีความแตกต่างในเชิงลึกเมื่อมีภาพการแสดงออกทางเพศในมิติของ “เพศสภาพ” และ “เพศวิถี” โดยในเพศชายจะมีการให้คุณค่าความเป็นเพศชายไว้เหนือเพศหญิง และในเด็กประถมวัยที่อยู่ในสังคมที่มีแต่เพศเดียวกัน มักจะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับเพศสภาพ และเพศวิถีของตนเองแน่นแฟ้นขึ้น ในขณะเดียวกันก็อาจจะไม่สามารถเข้าใจถึง เพศสภาพและเพศวิถีของเพศตรงข้ามได้อย่างแน่ชัดโดยสรุปคือ เด็กประถมวัยมีการรับรู้และการตีความความหมายเกี่ยวกับการแสดงออกทางเพศ ไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยเด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ และซึมซับเกี่ยวกับสถานภาพและบทบาทของแต่ละเพศจากสิ่งที่อยู่รอบตัว ทั้งพ่อ-แม่ ครู เพื่อน และสื่อ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็กมากกว่าสื่ออื่นๆ และเปรียบเป็นสังคมเสมือนให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองให้มีความชัดเจนมากขึ้น |
Other Abstract: | To analyze the children’s perception and interpretation of sexual expression in television programs together with the analysis of the factors affecting the children’s perception and interpretation of sexual expression in television programs. The process of the study comprises of the collection of the data through questionnaire and the focus group interview. This research is conducted based on the theory of psychosexual development in children, psychology of perception and the concept of sexuality in society. The target groups of this research are both girls and boys of the 4th, 5th and the 6th year primary school from three institutes namely, Assumption Thonburi School, Khemasiri Memorial School and Lerdpattana School. The results showed that both girls and boys watch television most intensively in the evening for the average of 3-4 hours each day. Most popular television programs are soap drama and cartoon. Television is often watched during meal time where parents are able to advise their children if inappropriate sexual expression is exhibited.The results also showed that gender, age and type of school influence the perception and interpretation of sexual expression on television. It can be clearly seen that all of the children are able to perceive and interpret the sexual expression in the “biological dimension”. However, there are the differences for the sexual expression in the dimension of gender and sexuality. The boys value the masculinity over the femininity. Moreover, children who were in the one-gender-society were usually learned better about their own gender and sexuality but they might not clearly understand the gender and sexuality of the opposite sex. In conclusion, there were no differences between children and adult on the perception and interpretation of sexual expression through media. Children could learn and absorb gender roles and status from the surroundings including their parents, teachers, friends and media especially TV media, which was the closest connection to children. Furthermore, TV media could act as virtual society for children to learn to create their evident sexual identities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13598 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.456 |
ISBN: | 9741426666 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.456 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Asaya_Si.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.