Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13840
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | ไพศาล วิมลรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2010-11-10T08:09:16Z | - |
dc.date.available | 2010-11-10T08:09:16Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13840 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาถึงความสำคัญของกองทุนหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจครัวเรือนของสมาชิกกกองทุนฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่นๆ ของสมาชิกกองทุนฯ วัตถุประสงค์ของการกู้เงิน ศึกษาถึงรายได้รายจ่าย หนี้สินและเงินออม โดยเปรียบเทียบก่อนหลังการเป็นสมาชิกกองทุนฯ รวมถึงผลกระทบของนโยบายนี้ต่อการพัฒนาชนบทของไทย การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาโดยการสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 578 คน โดยสุ่มเลือกจังหวัดจากแต่ละภาคๆละ 1จังหวัดและสุ่มเลือกอำเภอในจังหวัดนั้น จังหวัดละ 1 อำเภอ และสุ่มเลือกตำบลในอำเภอนั้น อำเภอละ 1 ตำบล และสุ่มเลือกหมู่บ้านในตำบลนั้น ตำบลละ 1 หมู่บ้าน และสุ่มเลือกประชาชนที่เป็นสมาชิกกองทุนในหมู่บ้านนั้นๆ ให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งภาคเหนือ ได้แก่ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคกลาง ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ภาคใต้ ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์มีข้อคำถามแบ่งเป็น 4 ตอน ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของประชากร ข้อมูลเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกกองทุนฯ ข้อมูลเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจในครัวเรือน และข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อประโยชน์ของกองทุนฯ รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ มีการกู้เงินจากแหล่งอื่นๆ อีก 31.4% วัตถุประสงค์ในการกู้เงิน เพื่อประกอบกิจกรรมในการทำธุรกิจหรือกิจการส่วนตัว รวมถึงการจัดหาเครื่องมือในการผลิต 63.8% ส่วนใหญ่สมาชิกมีรายได้จากการประกอบอาชีพตามปกติ 56.7% มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่ลงทุนจากการกู้เงินกองทุนหมู่บ้าน 46.6% มีรายจ่ายส่วนใหญ่เพื่อการอุปโภคบริโภค 88.3% สรุปในภาพรวมพบว่ามีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย 48.6% ภายหลังการเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ยังคงมีการเสียดอกเบี้ยเงินกู้เท่าเดิม 84% เสียดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง 11.2% มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น 46.4% และลดลง 30.2% มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 49.8% และมีเงินออมเพิ่มขึ้น 26.2% โดยสรุปสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ เห็นว่า มีความเป็นอยู่ดีขึ้นเล็กน้อย 59.1% และกองทุนมีประโยชน์ต่อชุมชน 72.9% เนื่องจากการศึกษาวิจัยนี้เป็นการประเมินผลเปรียบเทียบ โดยตัวของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ เอง ประกอบกับเป็นการศึกษาในรายละเอียดถึงรายได้ รายจ่าย หนี้สิน และการออมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ซึ่งตามวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนไทยมักใช้จ่ายโดยไม่มีแผน และไม่มีการบันทึกรายการรับจ่ายไว้ อีกทั้งไม่มั่นใจว่าจะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภาษีอากร จึงอาจได้คำตอบไม่ตรงกับความจริงบางข้อ ดังนั้น ข้อเสนอแนะในการวิจัย จึงควรมีการศึกษาวิจัยในลักษณะนี้ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยอาจใช้บัญชีครัวเรือน เป็นข้อมูลประกอบการศึกษา แต่ทั้งนี้ต้องมีเวลาในการศึกษามากขึ้น ข้อเสนอแนะด้านนโยบายควรมีกระบวนการติดตามตรวจสอบ การใช้เงินกู้ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การกู้ยืม นอกจากนี้รัฐบาลต้องเร่งรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ (หรืออาจเป็นบุคคลทั่วไป) ให้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตในวิถีแห่งความพอเพียง เพราะผลการ ศึกษามีแนวโน้มให้เห็นว่าถึงแม้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีเงินออมมากขึ้น แต่ก็จะมีรายจ่ายและหนี้สินเพิ่มมากขึ้นในอัตราของรายได้และเงินออมที่เพิ่มมากขึ้น น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายและหนี้สิน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภคที่สูงกว่าการผลิต ดังนั้น นโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ หากปราศจากการควบคุมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์แล้ว ก็จะไปกระตุ้น การบริโภค ส่งเสริมให้คนใช้จ่ายเกินตัว ความพยายามในการแก้ปัญหาความยากจนก็จะยังคงไม่ประสบความสำเร็จต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | To study the importance of village fund and the household economy of its member. The objectives of the research are studying the members' loans getting from other sources, purposes of the loans, income & expense, debts and savings by means of comparing before and after being member. And the research also studies impact of the village fund policy to rural development in Thailand. This descriptive research collects quantitative data from 578 samples. The sampling steps are random selecting one province in each region, random selecting one district in each province, random selecting one sub-district in each district, and random selecting villagers who are the fund members in each sub-district. The sub-district for sampling in the north region is Maesook in Jaehome district (Lampang province) - in the north-east region is Huaipho in Muang district (Kalasin province) - in the central region is Banpuk in Muang district (Chonburi province) - in the south region is Nakayard in Kuankanoon district (Phatthalung province). Interviewing form for collecting data is composed of 4 parts, i.e. general data of the samples, membership of the fund, household economy data and their opinions about advantages of the fund. All data are analyzed quantitatively. The research finds that 31.4% of the fund members also borrow money from other sources. Most members (63.8%) borrow money for investing in a business and providing working tools. Their income is derived from ordinary jobs (56.7 percentage) and from jobs invested with loan from the fund (46.6%).Their expense is mostly on consumption (88.3%). In conclusion, the research finds that 48.6% of members have less income than expense. After becoming a member of the fund, 84% of them pay the same interest while 11.2% pay less and 46.4% of the member get increasing loan burden while 30.2% get reducing. Their expenditure increases 49.8% and savings increases 26.2%. Briefly, 59.1% of the members assume that their living becomes a little better and 72.9% of the members accept that the fund is useful to the village. The issues of studying (income, expenditure, debts and savings) make the samples worry about taxes, therefore some of their answers may not be true. Suggestions for the further research are studying in the scope of all areas throughout the country, collecting data from household accounts and using more time to study. Suggestions for the policy level are formulating procedure of following up and checking the loans utilization with their objectives. Besides, the Government has to campaign and inform the fund members and other people about sufficiency economy way of life because the research finds that although the members get more income and more savings, they also tend to spend and get into debts increasingly. The ratios of increasing income and savings are less than the ratios of increasing expenditure and debts. Especially, expense for consumption is bigger than expense for production. The village fund without controlling the loans utilization according to their objectives may promote consumption, spending money extravagantly and getting into debts. Endeavor to decrease the poverty problem will continue to be unfulfilled. | en |
dc.format.extent | 4622872 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1752 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง | en |
dc.subject | การพัฒนาชนบท -- ไทย | en |
dc.subject | ไทย -- ภาวะชนบท | en |
dc.title | ผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านต่อการพัฒนาชนบทไทย | en |
dc.title.alternative | The impact of Village Fund on Thai rural development | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1752 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paisan_Wi.pdf | 4.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.