Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13915
Title: | การผลิตแก๊สชีวภาพจากกากของแข็งที่ได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม |
Other Titles: | Biogas production from industrial oil-palm solid wastes |
Authors: | ทักษดนย์ วุฒิคุณ |
Advisors: | นภา ศิวรังสรรค์ นิพนธ์ พิสุทธิ์ไพศาล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ก๊าซชีวภาพ -- การผลิต อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตแก๊สชีวภาพโดยใช้กากของเสียที่ได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบ โดยใช้ เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้จากกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากระบบยูเอเอสบีเป็นหัวเชื้อ การทดลองทำในขวดหมักขนาด 100 มิลลิลิตร และ 2 ลิตร การทดลองในขวดขนาด 100 มิลลิลิตรได้ทำการแปรผันค่าของความเข้มข้นกากปาล์มเป็น 0%, 5%, 10% และ 15% ค่า pH ที่ 5.8 และ pH 7.0 และอุณหภูมิที่ 37degress celsius และ 55degress celsius ผลการ ทดลองพบว่าการหมักในภาวะที่มีการเติมการปาล์มที่ความเข้มข้นกากปาล์ม 5% อุณหภูมิ 37degress Celsius pH 5.8 และ 7.0 เกิดปริมาตรแก๊สมีเทน และแก๊สไฮโดรเจนในปริมาณที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับการทดลองกรณีอื่นๆ โดยที่ pH 5.8 มีอัตราการผลิตแก๊สมีเทนเท่ากับ 0.46 ml/gTVS/วัน โดยปริมาณแก๊สมีเทนที่เกิดขึ้นทั้งหมดเท่ากับ246.79+-7.27 ไมโครโมล หรือ 81.78+-2.41 มิลลิลิตร และมีอัตราการผลิตแก๊สไฮโดรเจนเท่ากับ 0.32 ml/gTVS/วัน โดยเกิด แก๊สไฮโดรเจนจำนวน 57.79+-4.16 ไมโครโมล หรือ 19.15+-1.38 มิลลิลิตร และที่ pH 7.0 มีอัตราการผลิตแก๊สมีเทน เท่ากับ 0.06 ml/gTVS/วัน โดยเกิดแก๊สมีเทนจำนวน 320.08+-6.31 ไมโครโมล หรือ 1.06.07+-2.09 มิลลิลิตร และมีอัตราการผลิตแก๊สไฮโดรเจนเท่ากับ 0.26ml/gTVS/วัน โดยเกิดแก๊สไฮโดรเจนจำนวน 47.35+-1.32 ไมโครโมล หรือ 15.69+-0.44 มิลลิลิตร ซึ่งปริมาณแก๊สมีเทน และไฮโดรเจนที่ผลิตได้แปรผกผันกันปริมาณความเข้มข้นของ กากปาล์มทุกภาวะของการทดลอง สำหรับการผลิตแก๊สชีวภาพในขวดแก้วขนาด 2 ลิตร ได้เลือกใช้ภาวะที่มีการเติม กากปาล์ม pH และ อุณหภูมิที่ให้ผลผลิตก๊าซชีวภาพสูงสุดในการหมักในขวดซีรั่มขนาด 100 มิลลิลิตร จากการทดลองพบว่า ที่ pH 5.8 อุณหภูมิ 37degrees celsius มีอัตราการผลิตแก๊สมีเทนเท่ากับ 8.33 x 10 [superscript-4] ml/gTVS/วัน โดยเกิดแก๊สมีเทนจำนวน 3.86 ไมโครโมล หรือ 1.28 มิลลิลิตร และมีอัตราการผลิต แก๊สไฮโดรเจนเท่ากับ 0.06 ml/gTVS/วัน โดยเกิดแสไฮโดรเจนจำนวน 255.44 ไมโครโมล หรือ 84.65 มิลลิลิตร และ ที่ pH 7.0 อุณหภูมิ 37degrees celsius มีอัตราการผลิตแก๊สมีเทนเท่ากับ 3.15x10[superscript-3] ml/gTVS/วัน โดยเกิดแก๊สมีเทนจำนนวน 16.30 ไมโครโมล หรือ 5.40 มิลลิลิตร และมีอัตราการผลิตแก๊สไฮโดรเจนเท่ากับ 0.06 ml/gTVS/วัน โดยเกิดแก๊สไฮโดรเจนจำนวน 305.59 ไมโครโมล หรือ 101.26 มิลลิลิตร เมื่อทำการเปรียบเทียบผล การทดลองในขวดซีรั่มขนาด 100 มิลลิลิตร และขวดแก้วขนาด 2 ลิตร พบว่าการหมักในขวดซีรั่มขนาด 100 มิลลิลิตร มีประสิทธิภาพมากกว่าการหมักในขวดแก้วขนาด 2 ลิตร |
Other Abstract: | This research was the study on biogas production from oil-palm solid waste leftover in the pallm-oil extraction industry. The experiment was conducted into two reactor types, 100-mL serum bottle and 2-L glass bottle, using UASB granules as inoculum. Initial study was focused on the biogas production in 100-mL serum bottle in the different experimental conditions including varied oil-palm solid waste concentrations of 0%, 5%, 10% and 15%; pHs of 5.8 and 7.0; and temperatures of 37degrees celsius and 55 degrees celsius. The results showed experiments with oil-palm concentration of 5%; pH 5.8 and 7.0; and 37degrees celsius yielded the highest methane and hydrogen volume. At pH 5.8, methane production rate was 0.46ml/gTVS/day, and the total accumulated mole and volume were 246.79+-7.27 umoles and 81.78+-2.41 ml, respectively, whereas the hydrogen production rate was 0.32 ml/gTVS/day, and the total accumulated mole and volume were 57.79+-4.16 umoles, and 19.15+-1.38 ml. At pH 7.0, the methane production rate was 0.60 ml/gTVS/day, and the total accumulated mole and volume were 320.08+-6.31 umoles and 106.07+-2.09 ml, whereas the hydrogen production rate was 0.26 ml/gTVS/day, and the total accumulated mole and volume were 47.35+-1.32 umoles or 15.69+-0.44 ml. The methane and hydrogen yields inversely proportions to the oil-palm concentrations for all experimental conditions. The experiment conditions with oil-palm concentration of 5%; pH 5.8 and 7.0; and 37degrees celsius were chosen to set up in 2-L bottle. At pH 5.8, the methane production rate was 8.33 x 10[superscript-4] ml/gTVS/day, and the total accumulated mole and volume were 3.86 umoles, and 1.28 ml, respectively, whereas the hydrogen production rate was 0.06 ml/gTVS/day, and the total accumulated mole and volume were 255.44 umoles or 84.65 ml, respectively. At pH 7.0, methane production rate was 3.15 x 10[superscript-3] ml/gTVS/day, and the total accumulated mole and volume were 16.30 umol or 5.40 ml, whereas the hydrogen production rate was 0.06 ml/gTVS/day, and the total accumulated mole and volume were 30.5.59 umoles or 101.26 ml. At the same experimental conditions, higher methane and hydrogen production rate in 100-mL reactor compared with 2-L reactor. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13915 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1338 |
ISBN: | 9741420331 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1338 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tuksadon.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.