Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13993
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเพศและปัจจัยด้านเพศสัมพันธ์กับความเครียด ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในเขตกกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Relationships between gender and sexually related factors with stress of university students in Bangkok metropolitan area |
Authors: | ณัฏฐนุชิต ญาณพิพัฒน์พงศ์ |
Advisors: | เพ็ญพักตร์ อุทิศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ความเครียด (จิตวิทยา) ความเครียดในวัยรุ่น เพศ เพศสัมพันธ์ วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเพศและปัจจัยด้านเพศสัมพันธ์ กับความเครียดของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ศึกษาในปีการศึกษา 2547 จากตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง จำนวน 221 คน เป็นนักศึกษาชาย 101 คน และนักศึกษาหญิง 120 คน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบ เฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ชุด ประกอบด้วยปัจจัยเพศ ปัจจัยด้าน เพศสัมพันธ์ (ความรู้ด้านเพศ ทัศนคติด้านเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ) และความเครียด เครื่องมือวิจัยของปัจจัยด้านเพศสัมพันธ์ผ่านการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ แบบวัดความรู้เรื่องเพศมีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR-20) เท่ากับ 0.71 และ แบบสอบถามทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้วิธีแอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญพบว่า 1. นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานคร มีความเครียดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ คิดเป็น 42.5% 2. ความสัมพันธ์ของปัจจัยระหว่างตัวแปรที่ศึกษาในกลุ่มนักศึกษาที่มีประสบการณ์เพศสัมพันธ์ มีดังนี้ 2.1 ปัจจัยเพศมีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2=4.141, p < .05) 2.2 ความรู้ด้านเพศและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเกี่ยวกับความถี่ในการใช้ถุงยางอนามัย มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.203, -.222 ตามลำดับ p < .05) 2.3 พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศเกี่ยวกับวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ และการมีประสบการณ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 =8.727 และ 4.134 ตามลำดับ p < .05) 2.4 การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า ความรู้ด้านเพศ การใช้ยาคุมกำเนิด และการมีประสบการณ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ สามารถร่วมกันพยากรณ์ความเครียดของนักศึกษาได้ 16.4% (R2 =.164, F = 5.948, p < .05) |
Other Abstract: | To study relationships between gender and sexually related factors with stress of university students in Bangkok metropolitan area. Subjects were 221 undergraduate students in academic year 2004 from 3 universities in Bangkok; 101 males and 120 females. The subjects were selected by purposive sampling technique. Data were collected by means of three set of self-administered questionnaires : sex factor, sexually related factors (sex knowledge, sexual attitudes and sexual risk behavior) and stress self analysis test. Research instruments of sexually related factors were tested for content validity. Reliability of the sex knowledge scale had Kuder-Richardson (KR-20) value of .71 and the sexual attitudes measurement had Cronbach, s alpha value of .93. Statistical techniques used to analyse the data include percentage, mean, standard deviation, Chi-square test, Pearson product moment correlation and Multiple regression analysis. Major research findings were as follows. 1. 42% of the undergraduate students in Bangkok had higher-than-normal level of stress. 2. Relationships between selected factors in the students who had sexual experiences were: 2.1 Gender was correlated with stress (X2 =4.141, p < .05). 2.2 Sex knowledge and sexual risk behavior regarding frequency of condom use were negatively correlated with stress (r = -.203, -.222 respectively, p < 0.05). 2.3 Sexual risk behavior regarding the use of contraception methods and experience in pregnancy were correlated with stress (X2 =8.727 and 4.134, respectively, p < .05). 2.4 Multiple regression analysis revealed that sex knowledge, contraceptive drugs and experience in pregnancy were all together accounted for 16.4% of the variance in predicting stress (R2 =.164, F = 5.948, p<0.05). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เพศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13993 |
ISBN: | 9741736983 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nathanuchit_Ya.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.