Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14018
Title: | ผู้หญิงอินเดียกับการศึกษาสมัยใหม่ อะไรคืออุปสรรค |
Other Titles: | Indian woman and modern education : what is the obstacle? |
Authors: | บรรจบ บรรณรุจิ |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Subjects: | สตรี -- อินเดีย สตรี -- การศึกษา -- อินเดีย |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Citation: | วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 32,2(ก.ค.-ธ.ค. 2546),182-230 |
Abstract: | การศึกษาสมัยใหม่พัฒนาผู้หญิงอินเดียได้อย่างแท้จริงในทุกด้านรวมทั้งพัฒนาให้เกิดจิตสำนึกทางการเมืองการปกครองจนเกิดการรวมตัวทำงานร่วมกับผู้ชายเมื่อมีการเคลื่อนไหวเพื่อให้อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษที่ปกครองอินเดียมายาวนาน เราอาจคิดไม่ถึงว่าผู้หญิงอินเดียในยุคเรียกร้องเอกราชจะทำอะไรได้บ้าง แต่จากหลักฐานที่พบ ผู้หญิงทำงานได้ไม่ต่างจากผู้ชายไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การกล้าเผชิญกับความยากลำบากซึ่งบางครั้งต้องเสี่ยงชีวิต การเป็นสายลับ ผู้หญิงเหล่านี้ล้วนเป็นผลิตผลของการศึกษาสมัยใหม่ทั้งสิ้น หลังจากได้รับเอกราชแล้ว รัฐบาลอินเดียก็ยังส่งเสริมการศึกษาสมัยใหม่ในทุกระดับและมีผู้หญิงอินเดียที่ได้รับการศึกษาสมัยใหม่จำนวนมากขึ้นแต่เป็นด้วยอินเดียเป็นประเทศใหญ่มีประชากรมากและมีความสลับซับซ้อนด้านศาสนาวัฒนธรรมและกฎระเบียบทางสังคมอยู่มากเข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำให้การพัฒนาที่ดูเหมือนก้าวหน้ากับไม่ค่อยราบรื่นนัก อุปสรรคสำคัญก็คือ ปัญหาความยากจนทำให้เด็กหญิงอินเดียที่ลงทะเบียนเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาต้องลาออกกลางคันกันมากเพื่อช่วยทำงานหารายได้จุนเจือครอบครัวด้วยการทำงานที่บ้าน ออกหางาน หรือยอมแต่งงานกับชายที่มีฐานะพอจะมีเงินจ่ายให้ครอบครัวได้ตามความประสงค์ของบิดามารดา และปัญหาความเชื่อทางศาสนาที่เน้นให้ครอบครัวฮินดูมีลูกชายไว้สืบสกุลและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเวลาที่บิดามารดาถึงแก่กรรมลง จึงทำให้เกิดการแต่งงานวัยเด็กขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะได้ลูกชายดังประสงค์ ปัญหาดังกล่าวคืออุปสรรคสำคัญขัดขวางผู้หญิงอินเดียให้หันหลังให้การศึกษาสมัยใหม่ที่มีกำหนดระยะเวลาและขั้นตอนของการจบการศึกษาไว้ชัดเจน จนมองไม่ออกว่าจะหาทางแก้ไขได้อย่างไรในช่วงทศวรรษนี้และอาจยืดเยื้อต่อไปในอีกหลายทศวรรษหน้า |
Other Abstract: | The modern education process introduced by Western missionaries gave Indian women the skills and sense of politics needed for them to work alongside male activists in political gatherings for their homeland’s liberation from long-term British rule. Their involvement went well, beyond all expectations: they unhesitatingly expressed opinions, bravely faced dangers and proudly risked their lives for their cause, all truly being products of the modern education system. Since independence, India has continued to promote modern education at all levels. As a result, the numbers of literate Indian women produced by the system has increased. All seemed to be in progress. However, progress has been held back by the large size of India’s population and her complex plurality of religions, cultures, and social norms. These have created two main problems for Indian women: poverty and child marriage. The former forces them to leave secondary schools early to seek work to provide income for their farmily, and perhaps even to marry an old but rich man pre-arranged by their parents who want some payments. The latter results from the fear of having no male descendant to maintain a lineage and perform a religious ceremony at parental death. Child marriage is believed to answer this demand. These two problems have been main obstacles to Indian women in the time and term-bound modern education system. A way to break through this obstacle remains unseen in this decade and will probably remain so for more decades to come. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14018 |
ISSN: | 0125-4820 |
Type: | Article |
Appears in Collections: | Arts - Journal Articles |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Banjob_Indian.pdf | 3.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.