Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14028
Title: | ความสัมพันธ์ของการเสพสุรากับอาชญากรรม : รายงานวิจัย |
Other Titles: | The relationship between alcohol and crime |
Authors: | สุมนทิพย์ จิตสว่าง |
Email: | [email protected] |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Subjects: | ปัญหาสังคม อาชญากรรม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สุรา -- แง่สังคม สุรา ความรุนแรง |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | รายงานวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ของการเสพสุรากับอาชญากรรม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเสพสุรากับการประกอบอาชญากรรมที่เป็นความผิดต่อชีวิตและร่างกายว่าการเสพสุราเป็นปัจจัยหลักหรือปัจจัยรองในการประกอบอาชญากรรม เพื่อศึกษาถึงปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่มีส่วนสัมพันธ์กับการประกอบอาชญากรรมของผู้ที่เสพสุราในประเภทคดีความผิดต่อชีวิตและร่างกาย และเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเสพสุรา โดยในการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากผู้ต้องขังที่ต้องโทษในคดีความผิดต่อชีวิตและร่างกายที่ต้องโทษจำคุกในเรือนจำและทัณฑสถานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 แห่ง จำนวน 880 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคว์สแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ t-test ผลการศึกษาพบว่า การเสพสุรามีความสัมพันธ์กับอาชญากรรม โดยเป็นปัจจัยหลักในการประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับความผิดต่อชีวิตและร่างกายของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี เนื่องจากการเสพสุรานำไปสู่การประกอบอาชญากรรมโดยตรง โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบอาชญากรรมจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งมีการเสพสุราก่อนการกระทำผิด จนกระทั่งทำให้เกิดปัญหาในการควบคุมสติหรือการยับยั้งชั่งใจในการกระทำผิด การเสพสุราเพื่อย้อมใจทำให้มีความใจกล้าในการกระทำผิด ไม่มีความเกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับ เมื่อประสบกับโอกาสหรือสถานการณ์ที่มีส่วนกระตุ้นจึงเกิดการประกอบอาชญากรรม โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชญากรรมภายหลังจากที่เสพสุราประเภทเบียร์ไทย รองลงไป คือ เหล้าขาว ปริมาณตั้งแต่ 1 ขวดขึ้นไป เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมง และมีการประกอบอาชญากรรมโดยใช้อาวุธ คือ มีด ดาบ ของมีคม และปืน ในสถานที่ที่กำลังเสพสุราหรือไม่ห่างไกลจากสถานที่ในการเสพสุรา ทำให้ผู้เสียหายส่วนใหญ่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บสาหัส ความสัมพันธ์ของการเสพสุราและการประกอบอาชญากรรม เป็นความสัมพันธ์ที่มีความสลับซับซ้อนขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนสัมพันธ์กับการประกอบอาชญากรรม โดยผู้ที่มีปัจจัยพื้นฐานทางสังคมที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจนทำให้มีบุคลิกภาพอ่อนแอง่ายต่อการถูกกระตุ้น เมื่อเสพสุราและถูกกระตุ้นจากปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยรองก็จะถูกผลักดันไปสู่การกระทำผิด หรือนำไปสู่การประกอบอาชญากรรมได้ง่าย ในขณะเดียวกันการเสพสุรายังทำให้ผู้เสพมีโอกาสในการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม จากผลการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05ปรากฏว่า ยอมรับสมมติฐานในประเด็นที่ว่า ผู้ประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับความผิดต่อชีวิตและร่างกายมีการเสพสุราเป็นประจำสม่ำเสมอมากกว่าการเสพสุรานาน ๆ ครั้ง มีการเสพสุราก่อนการกระทำผิดมากกว่าไม่ได้เสพสุราก่อนกระทำผิด มีการเสพสุราราคาถูกมากกว่าสุราราคาแพง มีความง่ายหรือสะดวกในการซื้อสุราเพื่อเสพมากกว่าความไม่สะดวกในการซื้อสุราเพื่อเสพ แต่ปฏิเสธสมมติฐานในประเด็นที่ว่า ผู้ประกอบอาชญากรรมเกี่ยวกับความผิดต่อชีวิตและร่างกายถูกตีตราจากสังคมว่าเป็นคนขี้เหล้าหรือเป็นคนไม่ดีมากกว่าการไม่ถูกสังคมตีตรา การวิจัยได้เสนอแนะให้มีการประชาสัมพันธ์ให้คนในสังคมไทยได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเสพสุรา การควบคุมการผลิตและจำหน่ายสุรา การควบคุมการขายสุราในช่วงเทศกาลต่าง ๆ การควบคุมการโฆษณาหรือสื่อที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอเกี่ยวกับการเสพสุรา การสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว การเลือกคบเพื่อน การใช้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเสพสุรา ตลอดจนการเลิกดื่มสุราหรือเกี่ยวข้องกับสุราให้น้อยที่สุด การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างการเสพสุรากับอาชญากรรม โดยการกำหนดบทลงโทษที่มีความรุนแรงขึ้นสำหรับผู้ประกอบอาชญากรรมที่มีการเสพสุราก่อนกระทำผิด การบำบัดผู้เสพสุราอย่างจริงจัง และการประชาสัมพันธ์ให้คนในสังคมได้รับทราบถึงโทษจากการเกี่ยวข้องกับสุรา |
Other Abstract: | The study on “The Relationship between Alcohol and Crime” aims to study whether the relationship between alcohol and crime related to an offense against life and body is the main factor or secondary factors. It also aims to explore other factors causing the person who drink alcohol to commit crime and to find the possible solutions to alcohol and crime problems. The research based on quantity and quality research by collecting data from 880 offenders who committed an offense against life and body in Bangkok and its surrounding Provinces prisons. The statistics for data analysis using Percentage , Standard Deviation , Chi-Square , Correlation and t-test. The Research has found that alcohol is the main factor to push people to commit crime. Alcohol was often consumed by offenders and victims prior to the offense being committed. The majority of sample drank beer or white alcohol before committing crime within 5 hours after drinking . Some offenders committed crime while he was under the influence of alcohol . The majority weapons are knife , sword , sharp thing and gun. The majority victims were dead and severely wounded. However, the relationship between alcohol and crime is more complex because they have other factors that influence on crime such as economy , friend , family and victim involvement. The research also accepts assumption at 0.05 significant about the offenders against life and body frequently drank , drank before committing crime, drank low price alcohol and had convenience for buying alcohol . The research reject the assumption about the offenders were labeled as drunken people. The research suggestion are that of informing public about harm of alcohol, controlling on produce and sell alcohol , controlling alcohol advertisement on media , promoting young people to associate with good friend and stop drinking , taking community involvement , creating love in family, developing policy in relation to alcohol-related violence and developing the treatment of drunken person . |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14028 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pol - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sumonthip.pdf | 4.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.