Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14179
Title: การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการพัฒนาครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ
Other Titles: A development of the causal model of the teacher development under the office of basic education commission: an analysis using multilevel structural equation model
Authors: เอมอร อังกาพย์
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected], [email protected]
Subjects: ครู
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โมเดลพหุระดับ (สถิติ)
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของการพัฒนาครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน 720 คน และผู้บริหาร 321 คน จาก 321 โรงเรียน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการสุ่มโรงเรียนด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นและวิธีการสุ่มอย่างง่าย ขั้นตอนที่สองเป็นการสุ่มครูผู้สอนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่แบบสอบถามครูผู้สอบและแบบสอบถามผู้บริหาร การวิเคราะห์ข้อมูลในสถิติบรรยายและการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันด้วยโปรแกรม SPSS 13.0 for Windows การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับด้วยโปรแกรม Mplus 2.13 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) ตัวแปรทำนายระดับบุคคลได้แก่ ภูมิหลังของบุคคล แรงจูงใจ และความต้องการพัฒนา (2) ตัวแปรทำนายระดับโรงเรียนได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านองค์การ (3) ตัวแปรตาม คือ การพัฒนาครูได้แก่ การพัฒนาครูด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) การพัฒนาครูทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาครูด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ด้านกระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน (2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับของการพัฒนาครูมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( ไค-สแควร์ = 132.077, df = 84, p = 0.0054, ไค-สแควร์/df = 1.572, CFI = 0.993, TLI = 0.989, RMSEA = 0.025, SRMR[subscript W] = 0.022, SRMR[subscript B] = 0.040) พบว่า ปัจจัยระดับบุคคล ที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ปัจจัยแรงจูงใจซึ่งประกอบด้วยแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจภายนอก ส่วนปัจจัยระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อการพัฒนาครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ปัจจัยด้านสังคมซึ่งได้แก่ กิจกรรมความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนกับหน่วยงานภายนอกและการนิเทศครู ทั้งนี้ชุดของตัวแปรทำนายระดับบุคคลและระดับโรงเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนในการพัฒนาครูได้ร้อยละ 18.6 และ 2.3 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were to develop and validate the causal model of the teacher development under the office of basic education commission. The samples were two stage randomly, and consisted of 720 teacher 321 admission 321 schools. The instruments were questionnaires. Statistical analyses were made based on descriptive statistic. Pearson's product moment correlation using SPSS version 13.0 for Windows. The confirmatory factor analysis, the multilevel confirmatory factor analysis and the multilevel structural equation model analysis were performed using Mplus version 2.13. The variables consisted of teacher level variables: individuals background, motivation and development needs; school level variables: physical, social and organization: and dependent variables were teacher development a curriculum, educational process, material development, learning a measurement and classroom research. The major research findings were: (1) the teacher development were in moderate level; (2) the proposed multilevel structural equation model of the teacher development fit quite well with the empirical data set (chi-square = 132.077. df = 84, p = 0.054, chi-square/df = 1.572, CFI =0.993, TLI = 0.989, RMSEA = 0.025, SRMR[subscript W] = 0.022, SRMR[subscript B] = 0.040). The statistical analysis showed further that, the individual-level variables. Only motivation significantly affected the perceptions of the teacher development. Whereas for the school-level variables, only social significantly affected the perceptions of the teacher development. The predictor variables at the individual and school level accounted for the variance of the teacher development of about 18.60% and 2.30%.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14179
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.661
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.661
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aimaon.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.