Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14345
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเสียหายแบบร่องล้อกับคุณสมบัติทางวิศวกรรม ของแอสฟัลต์คอนกรีตและคุณลักษณะอื่นของผิวทางแบบยืดหยุ่นในประเทศไทย
Other Titles: Relationship between rutting and engineering properties of asphalt concrete and other characteristics of flexible pavements in Thailand
Authors: จีระศักดิ์ วิศรุตมัย
Advisors: จิตติชัย รุจนกนกนาฏ
ธันวิน สวัสดิศาสนต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผิวทาง
ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปีพ.ศ. 2549 และ 2550 สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง กรมทางหลวงได้สำรวจความเสียหายและประเมินสภาพผิวทางของถนนลาดยางในประเทศไทยทั้งสิ้น 273 แห่งและพบความเสียหายหลายประการ เช่น รอยแตกร้าว ฟิล์มยางที่ผิวทาง การแยกตัวของส่วนผสม โดยความเสียหายที่พบมากที่สุดคือ ความเสียหายแบบร่องล้อ นอกจากนี้ยังได้ประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างทางด้วยเครื่อง Falling Weight Deflectometer (FWD) และเจาะเก็บก้อนตัวอย่างแอสฟัลต์คอนกรีต 948 ก้อนจากถนนลาดยาง 61 แห่ง โดยการศึกษานี้ได้ทำการสุ่มตัวอย่างถนนลาดยางด้วยวิธีการทางสถิติเหลือ 38 แห่งจากถนนลาดยาง 61 แห่ง เพื่อนำก้อนตัวอย่างแอสฟัลต์คอนกรีตจำนวน 337 ก้อน มาทดสอบคุณสมบัติทางวิศวกรรม ได้แก่ การทดสอบหาความถ่วงจำเพาะ การทดสอบมาร์แชลล์ การทดสอบหาค่าโมดูลัสคืนตัวโดยวิธีแรงดึงทางอ้อม การทดสอบค่าความต้านทานกับต่อการยุบตัวถาวร และการทดสอบหาปริมาณยางแอสฟัลต์ จากผลการทดสอบหาค่าความต้านทานกับต่อการยุบตัวถาวรแสดงให้เห็นว่าค่าการยุบตัวถาวรของชั้นแอสฟัลต์คอนกรีตที่เกิดจากน้ำหนักกระทำของปริมาณจราจรมีค่าน้อยกว่าการยุบตัวของชั้นแอสฟัลต์คอนกรีตจริงในสนามมาก ดังนั้นความเสียหายแบบร่องล้อน่าจะมีปัจจัยอื่นๆเกี่ยวข้องเช่น การเคลื่อนตัวด้านข้างของชั้นแอสฟัลต์คอนกรีตและ/หรือการยุบตัวในชั้นพื้นทาง ผลจากการวิเคราะห์ทางสถิติของข้อมูล ความเสียหายแบบร่องล้อ คุณสมบัติทางวิศวกรรม ข้อมูลชั้นโครงสร้างทาง และประวัติสายทาง พบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายแบบร่องล้อได้แก่ ปริมาณรถบรรทุก อายุผิวทาง ค่าโมดูลัสคืนตัวที่ 50 องศาเซลเซียส และค่ายุบตัวเฉลี่ยต่อรอบจากการทดสอบ Dynamic Creep Test ซึ่งผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการทดสอบ Dynamic Creep Test เป็นการทดสอบที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบหรือพยากรณ์คุณสมบัติด้านไปใช้ในการหาความต้านทานการเปลี่ยนรูปร่างถาวรหรือการเกิดร่องล้อของวัสดุแอสฟัลต์คอนกรีตในการใช้งานจริง
Other Abstract: During 2006 and 2007, Bureau of Road Research and Development, Department of Highways, Thailand conducted pavement condition survey of 273 flexible pavements in Thailand. The observed pavement distresses included cracking, bleeding, segregation, but rutting were the most common failure mode among all observations. Further, the structural evaluation of these pavements were conducted using Falling Weight Deflectometer (FWD) and 948 asphalt concrete (AC) samples were cored from 61 highways. In this study, 38 out of 61 pavements were randomly and statistically selected. Brought 337 AC samples from these pavements subjected to laboratory tests including Bulk Specific Gravity Test, Marshall Test, Indirect Tensile Resilient Modulus Test, Dynamic Creep Test, and Asphalt Binder extraction. Result of the dynamic creep test indicated that the forecasted permanent deformation of the AC layer in the field due to traffic load were much less than the actual measured rut depth. Hence the mechanism of rutting in the field must involve other factors such as movement lateral deformation of AC material (flow) and/or permanent deformation in base layer. Result of the statistically analysis of the relationship between rutting, engineering properties, road inventory and pavement maintenance. Revealed that factors relating to rutting are truck volumes, design life, resilient modulus at 50 degree celsius and average permanent microstrain per cycle of the dynamic creep test. Finally, results of this study also showed that Dynamic Creep Test is a suitable test method to evaluate the permanent deformation or rut resistance of AC material in the field.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14345
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.643
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.643
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jeerasak_wi.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.