Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14498
Title: ความสัมพันธ์ของการทำงานของไตในผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตกับจำนวนเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือด
Other Titles: Correlation of renal allograft function and endothelial progenitor cell number
Authors: ณัฐวุฒิ โตวนำชัย
Advisors: เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ไต -- การปลูกถ่าย
ไต -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปลูกถ่ายไตเป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แต่ผลของการปลูกถ่ายไตในระยะยาวยังเป็นปัญหาที่สำคัญของการรักษา ภายหลังการปลูกถ่ายการทำงานของไตจะค่อยๆ ลดลงและมีอายุการทำงานเฉลี่ยประมาณ 10 ปี พยาธิสภาพของไตมีการทำงานเสื่อมจะมีการหนาตัวของผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของหลอดเลือดชั้นในด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ภาวะการทำงานของไตล่าช้าหลังปลูกถ่าย, ภาวะปฏิเสธไต, ภาวะเบาหวาน หรือภาวะเป็นพิษต่อไตเนื่องมาจากผลของยากดภูมิคุ้มกัน ร่างกายมีกลไกในการซ่อมแซมหลอดเลือดโดยอาศัยเซลล์บุผนังหลอดเลือดจากบริเวณข้างเคียง และเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดจากในกระแสเลือดซึ่งเป็นเซลล์ที่ถูกปล่อยออกจากไขกระดูก ทำหน้าที่ซ่อมแซมหลอดเลือดที่ได้รับบาดเจ็บและป้องกันการหนาตัวของผังหลอดเลือด จึงนำไปสู่สมมติฐานที่ว่า จำนวนเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดในกระแสเลือด มีความสัมพันธ์กับการทำงานของไตของผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไต การศึกษานี้เป็นการศึกษาผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไต 38 ราย เพื่อศึกษาจำนวนเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดด้วยวิธีโฟลไซโตเมตทรีและเพาะเลี้ยงเซลล์ วิธีโฟลไซโตรเมตทรีทำโดยแยกเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วยการปั่นหมุนเหวี่ยงกับน้ำยาไฟคอล นับเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดซึ่งให้ผลลบกับ CD3, CD19 และ CD33 (CD3,CD19 และ CD33 เป็นคุณสมบัติของเม็ดเลือดขาว) และให้ผลบวกกับ CD133 และ vascular endothelial growth factor receptor-2 (VEGFR-2) ด้วยโฟลไซโตเมตทรี การเพาะเลี้ยงอาศัยการย้อมเซลล์ที่เพาะเลี้ยงด้วย acetylated low-density lipoprotein (acLDL) และ ulex europaeus agglutinin-1 (UEA-1) นับจำนวนเซลล์ที่ให้ผลบวกทั้ง 2 ด้วยกล้องจุลทรรศน์แล้วหาค่าเฉลี่ยจำนวนเซลล์ต่อลานกำลังขยายสูง ผลการศึกษาพบว่า จำนวนเซลล์ตั;อ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดจากวิธีโฟลไซโตรเมตทรี มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการทำงานของไต (R=0.398; p=0.013) และความเข้มข้นของเลือด (R=0.41; p=0.01) ผู้ป่วยที่การทำงานของไตคงที่มีเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดมากกว่า (2836+-1459 เซลล์ต่อลบ.มม.) ผู้ป่วยที่การทำงานของไตลดลง (1439+-1029 เซลล์ต่อลบ.มม.) อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.003) จำนวนเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดด้วยวิธีการเพาะเลี้ยง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับหน้าที่การทำงานของไตเช่นเดียวกัน (R=0.7; p=0.016) จำนวนเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการทำงานของไตที่ปลูกถ่าย การศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาแบบไปข้างหน้าเพื่อศึกษาผลของเซลล์ตัวอ่อนเริ่มต้นของผนังหลอดเลือดต่อหน้าที่การทำงานของไต
Other Abstract: Background: Renal transplantation is a standard and the most effective treatment for end stage renal disease (ESRD) patients. However, long-term allograft function remains the problem, with the average time of allograft function is about 10 years. Rationally, The allograft survival depends on the balance between the detrimental factors namely; rejection episodes, calcineurin inhibitor toxicity, various comorbidity conditions such as high blood pressure. Dyslipidemia and renal function restoration function such as the regenerative process by endothelial progenitor cells (EPCs). The vessels which lining by endothelial cells are the culprit for deterioration of renal allograft function as seen in renal allograft histopathology which show vasculopathy as a common feature of chronic allograft nephropathy (CAN). EPCs are derived from bone marrow stem cells and behave as a reparative cell to restore endothelial function. We hypothesize that EPCs number correlate to renal allograft function and can predict the deterioration rate of allograft. Methods: We analyzed EPC number in peripheral blood of 38 renal transplant recipients by using VEGFR-2, CD133 phenotype staining marker. The peripheral blood mononuclear cell was separate from ACD blood by Ficoll density-gradient centrifugation. The dump channel namely; T cell by CD3 marker, B cell by CD19 marker and myeloid cell by CD33 marker were excluded by monoclonal antibody to CD3, CD19 and CD33, The isotype of same lgG was used to exclude the non-speciffic binding by gating technique. EPC by cell culture assay was also analyzed by cell culture assay was also analyzed by cell culture method using acetylated low-density lipoprotein (acLDL) and ulex europaeus agglutinin-1 (UEA-1) immunofluorescence stain and count by microscope. Renal functions were measured by abbreviated MDRD formula Results: EPC number, by flow cytometry have correlation with allograft function (R = 0.398; p = 0.013) and hematocrit (R = 0.41; p = 0.01). EPC numbers in patients with stable or non-detrimental allograft function were higher than patients with decline allograft function (2836+-1459 cells /ml vs. 1439+-1029 cells /ml; p = 0.003). EPC numbers, by cell culture (n=11), also had correlation with allograft function (R = 0.7; p = 0.016). Conclusion: EPC numbers determine the fate of renal allograft function. Increasing EPC number may be a new strategy to improve long term renal allograft function.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14498
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1430
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1430
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natavudh.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.