Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14792
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์-
dc.contributor.authorภาวิณี เพ็งเพชร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-03-11T06:52:41Z-
dc.date.available2011-03-11T06:52:41Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14792-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตรวจหาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินในแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงโดยการเปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงในสองช่วงเวลาด้วยวิธีนำภาพมาลบกัน โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS และ QUICKBIRD ในพื้นที่ศึกษา จ.เชียงใหม่ จ.สงขลา และกรุงเทพฯและปริมณฑล และทำการปรับแก้เชิงคลื่นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมก่อนที่จะนำภาพมาลบกันเพื่อขจัดผลกระทบที่เกิดจากสภาพชั้นบรรยากาศและทิศทางของแสงที่จะมีผลกระทบต่อค่าความถูกต้องของการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินด้วยวิธี Histogram Matching วิธี Simple Regression วิธี Pseudo-invariant Feature Set วิธี Dark-Bright และวิธี No Change Set จากผลการประเมินความถูกต้องพบว่า ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ วิธีการปรับแก้เชิงคลื่นที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด คือ วิธี Simple Regression ในขณะที่วิธี Pseudo-invariant Feature Set จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับพื้นที่ จ.สงขลา ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล คือ วิธี Dark-Bright ซึ่งทั้ง 3 วิธีนี้มีค่าความถูกต้องทั้งหมด (Overall accuracy) อยู่ในช่วงร้อยละ 67.06 – 78.45 แสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีวิธีการปรับแก้เชิงคลื่นวิธีใดที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษหรือใช้ได้ดีในทุกพื้นที่ศึกษา และเมื่อพิจารณาค่าความถูกต้องของการจำแนกรายประเภทการเปลี่ยนแปลงของภาพผลต่างที่มีความถูกต้องสูงสุดแต่ละแบนด์เฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าได้นั้น พบว่า มีค่าความถูกต้องที่มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป นอกจากนี้เมื่อพิจารณาค่าความถูกต้องของภาพผลต่างที่สร้างจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่ไม่ผ่านการปรับแก้เชิงคลื่นยังพบว่าให้ผลลัพธ์ที่ดีด้วยเช่นกัน ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินในแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยตรวจหาสิ่งบุกรุกและการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินในเขตพื้นที่เดินสายส่งไฟฟ้าแรงสูงได้en
dc.description.abstractalternativeThe main objective of this research is to detect change along high voltage transmission line by image differencing of high resolution IKONOS and QUICKBIRD images in the study areas which located in Chiang Mai, Songkhla, Bangkok and the vicinity. Radiometric normalization was applied before image differencing procedure to eliminate the atmospheric effect and different illumination that will affect the accuracy of change detection in land cover by Histogram Matching, Simple Regression, Pseudo-invariant feature set, Dark- Bright and No Change set. The results reveal that the best method of radiometric normalization in Chiang Mai was Simple regression while in Songkhla was Pseudo-invariant Feature Set and in Bangkok and the vicinity was Dark-Bright. Overall accuracy of these 3 methods are in range of 67.06% – 78.45%, demonstrating that no method is superior to the others. The producer's accuracy of images differencing especially of changes that affect stability of transmission system, is over than 80%. However, overall accuracy of non-normalized images is also good. This research reveals that change detection along high voltage transmission line by high resolution imagery can be one of various methods to detect intrusion and land cover change.en
dc.format.extent6931975 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.363-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกลen
dc.subjectภาพถ่ายทางอากาศen
dc.subjectการสำรวจด้วยภาพถ่ายen
dc.subjectการสำรวจดินen
dc.titleการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินในแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูงen
dc.title.alternativeChange detection along high voltage trasmission line by high resolution imageryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.363-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phawinee_ph.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.