Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14819
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์-
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ สังขมรรทร-
dc.contributor.otherจุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคใต้)-
dc.date.accessioned2011-03-15T02:20:35Z-
dc.date.available2011-03-15T02:20:35Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14819-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ เพศ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการเจ็บป่วย การรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การรับรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของครอบครัวต่อการเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้เกี่ยวกับการบริการสุขภาพ การเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขปัญหา การเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ กับการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยสูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังที่มารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประจำจังหวัด เขตภาคใต้ตอนบน จำนวน 140 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การรับรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของครอบครัวต่อการเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้เกี่ยวกับการบริการสุขภาพ การเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขปัญหา การเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ และแบบสอบถามการปรับตัวต่อการเจ็บป่วย ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .84, .69, .87, .85, .91, .74 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ([chi-square]) สถิติ Biserial และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอกโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x-bar =1.91) 2. อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 (r = .214) 3. เพศ ระยะเวลาในการเจ็บป่วย การรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอก 4. ระดับการศึกษา การรับรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาของครอบครัวต่อการเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้เกี่ยวกับการบริการสุขภาพ การเผชิญปัญหาแบบมุ่งแก้ไขปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (C= .344, r = .527, .280, .384, .240 ตามลำดับ)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were to study the adjustment to illness of chronically ill elderly patients and the relationships between age, sex education, length of illness, perception of illness, perception of family reaction to illness, social support, perception of health service, problem- focused coping, emotional – focused coping and adjustment to illness of chronically elderly patients at out patient department. Subject consisted of 140 chronically ill elderly patients at out patient department in Provincial hospital, Upper Part of Southern Region and was selected by multi-stage random sampling technique. Research instruments were demographic questionnaires, perception of illness, perception of family reaction to illness, social support, perception of health service and problem-focused coping, emotional – focused coping and adjustment questionnaires which were tested for content validity and reliability. The reliability were .84, .69, 87, .85, .91, .74 and .91 respectively. Data were analyzed using statistic methods, including mean, percentage, standard deviation, Biserial correlation, Chi-square and Pearson’s correlation. Major findings were as follows: 1. Adjustment to illness of chronically ill elderly patients at out patient department was at moderate level. ([x-bar]=1.91) 2. Age was significantly negative correlated with adjustment to illness of chronically ill elderly patients at level of .05 (r =.214) 3. Sex, length of illness, perception of illness and emotional – focused coping were not correlated with adjustment to illness of chronically ill elderly patients at out patient department. 4. Education, perception of family reaction to illness, social support, perception of health service, problem – focused coping were significantly positive correlated with adjustment to illness of chronically ill elderly patients at out patient department at level of .05 (C=.344, r= .527, .280, .384, .240 respectively.en
dc.format.extent3064273 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.658-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.subjectผู้ป่วยโรคเรื้อรังen
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอก ภาคใต้ตอนบนen
dc.title.alternativeSelected factors related to adjustment to illness of chronically ill eldery patients, out patient department, upper part of southern regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisor[email protected]-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.658-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_Su.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.