Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15231
Title: | คำเรียกประเภทผีของคนไทยในชุมชนวัดสวนแก้ว ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี : การศึกษาแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ |
Other Titles: | Terms for spirits of the Thais in Wat Suan Kaew community, Tambon Bang Len, Amphoe Bang Yai, Nonthaburi : an ethnosemantic study |
Authors: | มนสิการ เฮงสุวรรณ |
Advisors: | อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | ผี -- ไทย อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ ชุมชนวัดสวนแก้ว (นนทบุรี) |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ผลงานวิจัยในอดีตแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีวิถีชีวิตและพิธีกรรม ตั้งแต่เกิดจนตายเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่า “ผี” เป็นจำนวนมาก ผี จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ องค์ความรู้เกี่ยวกับผีในสังคมไทยมีมากพอสมควร แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับคำเรียกประเภทผี ซึ่งสะท้อนให้เห็นระบบของผีในความคิดของคนไทย วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบและจัดจำพวกคำเรียกประเภทผี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายของคำ ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาตามแนวอรรถ ศาสตร์ชาติพันธุ์ และตีความโลกทัศน์ของคนไทยเกี่ยวกับผีที่สะท้อนผ่านความหมายของคำเรียกประเภทผี ประชากรของงานวิจัยนี้คือชุมชนวัดสวนแก้ว ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา15 คน ซึ่งคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ผลการวิจัยพบคำเรียกประเภทผี 59 คำ ซึ่งแทนผีทั้งหมด 52 ประเภท ทั้งนี้เนื่องจากมีบางคำอ้างถึงผีประเภทเดียวกัน จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมาย สรุปได้ว่า คำเรียกประเภทผีทั้งหมดต่างกันใน 10 มิติคือ มิติ “ตัวตน”, “สภาพ”, “ดีร้าย”, “ลักษณะการตาย”, “ที่อยู่”, “หน้าที่”, “อายุ”, “อาหาร” , “เพศ” และ “ลักษณะพิเศษ” มิติเด่นที่ครอบคลุมทุกคำได้แก่ มิติ “ตัวตน”, “สภาพ” และ “ดีร้าย” เมื่อนำคำเรียกประเภทผีมาจัดจำพวกแบบชาวบ้านพบว่า คำเรียกประเภทผีแบ่งประเภทตามลำดับชั้นได้ 5 ลำดับคือ ลำดับจุดเริ่มต้นหนึ่งเดียว (unique beginner) ลำดับรูปแบบชีวิต (life form) ลำดับบอกหมวด (generic) ลำดับเฉพาะเจาะจง(specific) และลำดับลักษณะพิเศษ (varietal) โดย ลำดับจุดเริ่มต้นหนึ่งเดียว มีคำเรียกประเภทผีเพียงคำเดียว คือ ผี1 ลำดับรูปแบบชีวิต มีคำเรียกประเภทผี 2 คำ คือ ผี2 และ วิญญาณ ลำดับบอกหมวด มีคำเรียกประเภทผี 3 คำคือ ผี3 ผีสางเทวดา และ ผีห่าซาตาน/ภูตผีปีศาจ ลำดับเฉพาะเจาะจง มีคำเรียกประเภทผี 33 คำ คือ ผีห่า นางไม้ ผีเงือก ผีตายโหง เปรต ยมบาล ยมทูต ผีเร่ร่อน ปีศาจ แม่ย่านาง เทพารักษ์/รุกขเทวดา ปู่โสม เจ้าเขา เจ้าป่า แม่โพสพ แม่พระคงคา แม่พระธรณี เทวดา พระเสื้อเมือง เจ้าแม่ เจ้าพ่อ เจ้าที่/เจ้าที่เจ้าทาง พระภูมิ ผีบ้านผีเรือน แม่ซื้อ นางกวัก กุมารทอง รักยม ผีดูดเลือด กระสือ กระหัง ปอบ ลูกกรอก ลำดับลักษณะพิเศษ มีคำเรียกประเภทผี 13 คำ คือ เจ้าแม่ไทร เจ้าแม่มะขาม นางตานี นางตะเคียน ผีป่า ผีทะเล ผีน้ำ/ผีพราย/พรายน้ำ ผีตายทั้งกลม/ผีตายท้องกลม ภูต เทพธิดา/นางฟ้า เทพ ผีดิบ แดร็กคิวลา ผลการวิเคราะห์ระบบความหมายของคำเรียกประเภทผีของคนไทยทำให้เห็นว่าคนไทยนั้นมองสิ่งที่เหนืออำนาจการควบคุมของมนุษย์ทั่วไปเป็น ผี1 ทั้งสิ้น และยังยึดตัวตนของคนเป็นที่ตั้งเพื่อสร้างผีให้มีลักษณะรูปร่าง เพศ อายุเหมือนคน ต้องการอาหารและที่อยู่อาศัย อีกทั้งมีการกระทำความดี ความชั่ว ได้เช่นเดียวกันกับคนด้วย จากการวิเคราะห์ทัศนคติของคนไทยต่อผีซึ่งสะท้อนในความหมายของคำเรียกประเภทผี พบว่าผีมีการดำรงอยู่เช่น เดียวกับคน อยู่ใกล้ชิดมนุษย์ เป็นสิ่งที่น่ากลัว น่ารังเกียจ มีการเวียนว่ายตายเกิดตามบุญกรรม มีอำนาจ สามารถติดสินบนได้ และเป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม |
Other Abstract: | Previous studies show that Thai people’s ways of life and traditions from birth to death are related to ghosts. Most of the studies deal with the role of ghosts in Thai society, but there has been no study on ghost terms in Thai, which would reflect the ghost system in Thai thoughts. Thus, this thesis aims to analyze the system and categorization of terms for ghosts and spirits in Thai. Componential analysis, which is a method in the ethnosemantic approach, is adopted for the analysis. The study also aims at analyzing Thai worldview as reflected through the denotations and connotations of ghost terms in Thai. The population of this study is Wat Suan Kaew Community, Tambon Bang Len, Amphoe Bang Yai, Nonthaburi Province. Fifteen purposively selected informants were interviewed. The result of the analysis shows that there are 59 ghost terms representing 52 types of ghost. Some ghost types are represented by more than one term. The componential analysis of the terms reveals that there are ten dimensions of contrast, which distinguish one of the terms from others. They are: “form”, “appearance”, “good/evil”, “condition of death”, “dwelling”, “duty”, “age”, “food”, “gender”, and “specialty”. The outstanding dimensions which cover all the words are “form”, “appearance” and “good/evil”. The findings also show that all the ghost terms can be categorized into six hierarchical classes : unique beginner, life-form, generic, specific and varietal. There is only one unique beginner term – phii1 ‘ghost+spirit’. There are two life-form terms: phii2 ‘ghost’ and winyaan ‘spirit’. As for generic ghost terms, there are three terms: phii3 ‘man ghost’, phii-saaŋ-theewadaa ‘good spirit’, phii-hàa-saataan/ phûut-phii-piisàat ‘bad spirit’. Thirty three specific ghost terms were found e.g., naaŋ-máay ‘female tree spirit’, phii-pàa ‘forest demon’, phii-taay-hooŋ ‘spirit from violent death’, prèet ‘evil tall spirit’, etc. In the lowest hierarchy, thirteen terms were found e.g. câaw-mɛ̂ɛ-say ‘female banyan tree spirit’, câaw-mɛ̂ɛ-mákhaam ‘female tamarind tree spirit’, naaŋ-taanii ‘female banana tree spirit’, thêep-thídaa/ naaŋ-fáa ‘a female deity’, thêep ‘male deity’, phii-thálee ‘sea ghost’ etc. It should be noted that Thai people conceive ghosts as human. Indeed, most types of ghosts have a human shape and live closely to humans. Like humans, they are distinguished by their kindness or badness, sex, age, dwelling place, and the food they take. Furthermore, an analysis of Thai people’s attitude toward ghosts as reflected in the meanings of ghost terms shows that Thai people find ghosts very close to them – they have the same way of life as human, and live in places close to human places. They also find ghosts frightening, disgusting, accepting bribes, having misfortune as a result of karma but useful as a means of controlling society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15231 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1916 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1916 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Manasikarn_He.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.