Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15412
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย เอี่ยมอ่อง-
dc.contributor.advisorขจร ตีรณธนากุล-
dc.contributor.authorปวีณา สุสัณฐิตพงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-06-30T02:42:05Z-
dc.date.available2011-06-30T02:42:05Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15412-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายยังคงสูงอยู่ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการสะสมของ ของเสียโมเลกุลใหญ่ในร่างกายที่ไม่สามารถขจัดได้ด้วยการฟอกเลือดแบบปกติ การฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิล เตรชั่นซึ่งมีการเติมสารน้ำทั้งก่อนหรือหลังตัวกรอง เป็นการฟอกเลือดวิธีใหม่ที่เชื่อว่าสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ แต่ถึงแม้ว่าการเติมสารน้ำหลังตัวกรองจะมีประสิทธิภาพในการขจัดของเสียที่ดีกว่าการเติมสารน้ำก่อนเข้าตัวกรอง เนื่องจากเลือดจะไม่ถูกเจือจางด้วยสารน้ำ แต่ภาวะที่มีความเข้มข้นของเลือดที่มากขึ้นในระหว่างการฟอกเลือดยังเป็นข้อจำกัดที่สำคัญของการฟอกเลือดด้วยวิธีนี้ จึงมีการคิดค้นวิธีการฟอกเลือดวิธีใหม่ที่มีการเติมสารน้ำระหว่างตัวกรอง เพื่อลดข้อจำกัดของการเติมสารน้ำหลังตัวกรอง และได้ทำการศึกษานี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการขจัดสารเบต้าเบต้าทูไมโครโกลบูลินของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรอง และหลังตัวกรอง ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวน 12 รายซึ่งได้รับการฟอกเลือด 3 ครั้งต่อสัปดาห์จะได้รับการฟอกเลือดด้วยวิธีดังกล่าวทั้งสองวิธีโดยสุ่มเลือกว่าจะฟอกเลือดด้วยวิธีใดก่อนตามลำดับการสุ่ม การฟอกเลิอดทั้ง 2 วิธีจะใช้อัตราการไหลของเลือด 400-450 มิลลิลิตรต่อนาที และเติมสารน้ำในปริมาณที่มากที่สุดที่แต่ละวิธีจะเติมได้ โดยเติมสารน้ำ 300 มิลลิลิตรต่อนาทีระหว่างตัวกรอง และเติมสารน้ำ 120 มิลลิลิตรต่อนาทีหลังตัวกรอง ผลการศึกษาพบว่าการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำเติมสารน้ำหลังตัวกรอง มีค่าการขจัดของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยรวมเท่ากับ 156.5+-19.7 มิลลิลิตรต่อนาทีซึ่งไม่ต่างจากการเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรอง 143.6+-17.4 มิลลิลิตรต่อนาที ส่วนการขจัดยูเรียของการเติมสารน้ำกึ่งกลางระหว่างตัวกรอง ไม่ต่างจากการเติมสารน้ำหลังตัวกรอง (427.2+-73.5 / 409.2 +-39.3มิลลิลิตรต่อนาที) ค่าการขจัดของครีอะตรีนินและฟอสเฟตไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม (319.5+-41.6 / 324.4+-36.8 ,384.5+-10.7 / 413.4+-10.5 ) แต่ที่สำคัญพบว่าการสูญเสียโปรตีนในระหว่างที่ฟอกเลือดของการเติมสารน้ำหลังตัวกรองสูงกว่าการเติมสารน้ำระหว่างตัวกรองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.7+-1.7 เทียบกับ 3.1+-1.4 กรัม, p =0.04) กล่าวโดยสรุปการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองมีอัตราการขจัดของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินดีเทียบเท่ากับการเติมสารน้ำหลังตัวกรอง แต่มีการสูญเสียโปรตีนที่น้อยกว่า ดังนั้นการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองน่าจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดen
dc.description.abstractalternativeBackground: Large uremic toxins that could not be removed by current hemodialysis cause unsatisfied survival rate in ESRD patients. On-line hemodiafiltration (OL-HDF) with either pre or post-dilution reinfusion mode is a novel treatment that can improve survival. Indeed, post-dilution provide superior efficacy than pre-dilution, because it was not disturbed by high plasma dilution. However, hemoconcentration in the circuit is the major limitation of post-dilution technique. We invented mid-dilution OL-HDF that decreased limitation of hemoconcentration in post-dilution. This study was conducted to compare the efficacy among two OL-HDF modes. Method: In a prospective cross-over study, 12 stable ESRD patients were dialysed with two different infusion modes of OL-HDF in a random sequence. Blood flow rate was set at 400-450 mL/min, substitution flow rate was set at the upper limit of each mode (300, and 120 mL/min during mid-dilution, and post-dilution). Results: The large molecule removal represented by total plasma water [beta]2 microglobulin clearance in post-dilution was comparable with mid-dilution (156.5+-19.7 vs 143.6+-17.4 mL/min, NS),The urea clearance of mid-dilution HDF did not differ from post-dilution (427.2+-73.5 vs 409.2 +-39.3mL/min,NS). Creatinine clearance and phosphate clearance were did not differ between 2 modes. ( 319.5+-41.6 vs 324.4+-36.8 , 384.5+-10.7 vs 413.4+-10.5 ,NS). Interestingly, albumin loss in mid-dilution was significantly lower than post-dilution (4.7+-1.7 vs 3.1+-1.4 g, p =0.04). Conclusion: Mid-dilution OL-HDF appears to provide comparable high efficacy in large molecule removal with the post-dilution mode, but with a lesser albumin loss. Thus, the mid-dilution technique would offer a potential role in preventing or retarding dialysis-related long term complications in hemodialysis patients.en
dc.format.extent4545937 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisher-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยการให้สารน้ำทดแทนแบบเติมกึ่งกลางระหว่างตัวกรองและหลังตัวกรองen
dc.title.alternativeA comparison of efficacy between mid-dilution and post-dilution on-line hemodiafiltrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisor[email protected]-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paweena_Su.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.