Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15487
Title: | ความหลากหลายของยีนเอ็นเอสพี-2 ของไวรัสพีอาร์อาร์เอสในประเทศไทย |
Other Titles: | Variation of NSP-2 gene of PRRSV in Thailand |
Authors: | รุ่งธรรม เกษโกวิท |
Advisors: | รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช อลงกร อมรศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] [email protected] |
Subjects: | สุกร -- โรคเกิดจากไวรัส โรคพีอาร์อาร์เอส |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ไวรัสพีอาร์อาร์เอสเป็นไวรัสที่ก่อปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรทั่วโลก ไวรัสพีอาร์อาร์เอสเป็นไวรัสที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงมาก โดยเฉพาะในส่วนของเอ็นเอสพี 2 ซึ่งถือเป็นโปรตีนที่มีความหลากหลายสูงของไวรัส และสามารถพบการขาดหายไปของกรดอะมิโนบนเอ็นเอสพี 2 ได้ในไวรัสหลายไอโซเลท การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแรกที่แสดงถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเอ็นเอสพี 2 ของไวรัสพีอาร์อาร์เอสสายพันธุ์อเมริกาเหนือในประเทศไทย โดยศึกษาเอ็นเอสพี 2 ในช่วงกรดอะมิโนที่ 296-735 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการขาดหายไปของกรดอะมิโนในไวรัสพีอาร์อาร์เอสทั่วไป ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้มาจากตัวอย่างไวรัส 4 ตัวอย่างและตัวอย่างไวรัสที่ได้จากเนื้อเยื่อ 6 ตัวอย่าง (รวมทั้งสิ้น 10 ตัวอย่าง) โดยตัวอย่างทั้งหมดได้มาจากสุกรจากฟาร์มในจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางของประเทศไทยซึ่งเป็นภาคที่มีความหนาแน่นของประชากรสุกรสูง ผลการศึกษาพบว่า จากตัวอย่างที่ศึกษา 10 ตัวอย่าง พบไวรัสที่มีการขาดหายไปของกรดอะมิโนบนเอ็นเอสพี 2 จำนวน 9 ตัวอย่าง โดยมีตำแหน่งที่เกิดการขาดหายไปของกรดอะมิโนที่แตกต่างกันไป และบางตัวอย่างมีตำแหน่งที่เกิดการขาดหายไปของกรดอะมิโนคล้ายคลึงกับ MN184 (สหรัฐอเมริกา) ซึ่งเป็นไอโซเลทที่มีความรุนแรงในการก่อโรคสูง แต่จากการศึกษาด้านไฟโลเจเนติคพบว่า เอ็นเอสพี 2 ของไวรัสในประเทศไทยนั้นมีความสัมพันธ์กับเอ็นเอสพี 2 ของ MN184 หรือของไวรัสจากประเทศอื่นๆ ค่อนข้างน้อย ไวรัสที่มีการขาดหายไปของกรดอะมิโนบริเวณเอ็นเอสพี 2 ที่พบในประเทศไทยมีแนวโน้มว่าเกิดจากการวิวัฒนาการของไวรัสที่เคยได้รับมาจากต่างประเทศในอดีต แต่มิได้เกิดจากการนำเข้าไวรัสจากต่างประเทศในปัจจุบัน ทั้งนี้เอ็นเอสพี 2 มีความหลากหลายสูงมาก จึงอาจมิใช่ตัวแทนที่ดีในการศึกษาถึงต้นกำเนิดของไวรัส มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ยีนที่มีความอนุรักษ์มากกว่า ในการศึกษาเพื่อระบุถึงต้นกำเนิดของไวรัสพีอาร์อาร์เอสในประเทศไทยเหล่านี้ต่อไป. |
Other Abstract: | Porcine reproductive and respiratory syndrome virus (PRRSV) is a pathogen causing economic losses in swine industrial worldwide. PRRSV has a high degree of genetic variability, especially at the nsp2 which is the most variable PRRSV protein. Several PRRSV isolates show amino acid deletions in the nsp2 protein. This is the first study determining genetic variation of the nsp2 of the North American genotype of Thai PRRSV. Genetic variation of nsp2 was determined at the amino acid position of 296-735 of nsp2 covering many deleted positions those isolates. Four Thai-PRRSV viral isolates (North American genotype) and 4 viruses from tissue samples were used (n = 10) in this study. All samples were from farms in the central region of Thailand, which has a high density swine population. The results showed that 9 out of 10 samples showed truncated nsp2 having different positions of deletion. Some of the truncated virus found in this study contained deleted amino acid positions similar to those of MN184 (USA) which is a highly pathogenic isolate, but the phylogenetic analysis showed that there were no strong phylogenetic relationships between nsp2 of Thai PRRSV and nsp2 of MN184 or of any other viruses in other countries. These truncated viruses found in Thailand might evolve from the introduced virus in the past, but not from the recent introduction based on the phylogenetic analysis. However, nsp2 may not be a good nucleotide region for genetic variation determination. Using conserved genes is suggested for further study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15487 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.709 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.709 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Roongtham_ke.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.